Faculty of Arts อาจารย์-บุคลากร
นิสิตปัจจุบัน
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
ศิษย์เก่า
 
Home | Download |
about us

 

 

 

 

 

หน้าแรก วิรัชกิจ  สัมมนา/ประชุมวิชาการนานาชาติ

สัมมนา/ประชุมวิชาการนานาชาติ

Reaching the World 2013: International Conference on Creative Writing & Translation and Literary Festival

คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A. Write Award) กรุงเทพมหานคร Asia Pacific Writers & Translators (AP Writers) และ Chula Global Network จัดการประชุมนานาชาตินักเขียนและนักแปล "Reaching the World 2013" เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 35 ปีรางวัลซีไรต์ และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครได้รับคัดเลือกเป็น UNESCO World Book Capital 2013 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา และรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ เป็นเลขาธิการการจัดการประชุมนานาชาติและเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ

งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียนและนักแปลจากภูมิภาคเอเชียและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านวรรณกรรม เป็นเวทีเสวนาทางวิชาการสำหรับนักวิชาการและนักวิจัย รวมทั้งส่งเสริมให้นักเขียนเอเชียก้าวสู่ตลาดหนังสือของโลก มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 230 คน เป็นนักเขียน นักแปล นักวิชาการ และผู้พิมพ์จำหน่ายต่างชาติ จำนวน 160 คน จากกว่า 20 ประเทศ และกวี นักเขียน นักวิชาการ และผู้พิมพ์จำหน่ายชาวไทย อีกกว่า 70 คน

"Reaching the World 2013" ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือ การสัมมนาทางวิชาการของนักเขียนและนักแปลวรรณกรรมระดับนานาชาติ จัด ณ ห้อง 301 อาคารมหาจักรีสิรินธร ระหว่างวันพฤหัสดีที่ 3 ถึงวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2556 ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฯพณฯ James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ฯพณฯ Anil Wadhwa เอกอัครราชทูตอินเดีย ฯพณฯ Chua Siew San เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ Mr. Michael J. Honnold ทูตวัฒนธรรม สถานทูตอเมริกัน Mr. Steve Bates รองผู้อำนวยการ British Council และ Ms. Bernice Chawby ผู้แทนเอกอัครราชทูต สถานทูตเนเธอร์แลนด์ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและปราศรัยเกี่ยวกับความสำคัญของงานวรรณกรรมกับกระแสโลกาภิวัฒน์ จากนั้น เอกอัครราชทูตทุกท่าน ทูตวัฒนธรรม ผู้แทนสถานทูต และรองผู้อำนวยการ ได้กล่าวสั้นๆ ในฐานะผู้ร่วมสนับสนุนการประชุมนานาชาติด้วยการส่งนักเขียน และ/หรือนักวิชาการเข้าร่วมเป็นวิทยากร หรือสนับสนุนงบประมาณในการจัดงาน สาระสำคัญของการสัมมนาทั้งสามวันเกี่ยวข้องกับคุณค่าและความหมายของการประพันธ์งานวรรณกรรม การมอบรางวัลทางวรรณกรรม รวมทั้งการแปลงานวรรณกรรมอย่างมีคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้นักเขียนเอเชียเป็นที่รู้จักในเวทีโลกและก้าวสู่ตลาดหนังสือของโลก

ส่วนที่สองคือ Author Showcase Readings เป็นการอ่านบทกวีและงานประพันธ์โดยกวีและนักเขียนที่ได้รับรางวัล จัด 5 ครั้ง ณ โรงแรม Mandarin Oriental หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร WTF Cafe and Bar, Hemingway's Drinking & Dining และ Overground Bar & Cafe ในการอ่านบทกวี มีกวีชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง รวมทั้งกวีซีไรต์ ร่วมอ่านและแสดงลีลาประกอบการอ่าน

ส่วนที่สามคือ Creative Writing Workshops ในวันเสาร์ที่ 5 และวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2556 ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำหรับนักเขียนและผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียน ได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติกับนักเขียนนานาชาติระดับมือรางวัล

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังได้เป็นเจ้าภาพจัด Conference Dinner ณ ห้อง Grand Ballroom โรงแรม Mandarin Oriental โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธาน อธิการบดีจุฬาฯ ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ฯพณฯ Anil Wadhwa เอกอัครราชทูตอินเดีย ฯพณฯ Chua Siew San เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ฯพณฯ James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย Mr. Steve Bates รองผู้อำนวยการ British Council และ Ms. Bernice Chawby ตัวแทนเอกอัครราชทูต สถานทูตเนเธอร์แลนด์ เป็นแขกผู้มีเกียรติ รวมทั้งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอมร กิจเชวงกุล และผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้ร่วมงานด้วย ในงานมีการอ่านบทกวีโดยกวีรางวัลชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้แก่ ซะการีย์ยา อมตยา กวีไทย, Michael M. Coroza กวีฟิลิปปินส์, H. L. Hix กวีอเมริกัน, และ Rukmini Bhaya Nair กวีอินเดีย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่องความสำคัญของวรรณกรรมในประชาคมอาเซียน ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ นักวิชาการ กวี นักเขียน นักแปล อาจารย์ นิสิตนักศึกษา และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร รวมประมาณ 300 คน

ในวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2556 เป็น Literary Festival จัดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าร่วมและชมนิทรรศการ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีการอภิปรายโดยนักเขียนและนักวิชาการ การอ่านบทประพันธ์โดยนักเขียนและกวีไทย/นานาชาติ การแสดงนิทรรศการหนังสือ คุณปราณี สัตยประกอบ ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพเอื้อเฟื้อสถานที่ของกรุงเทพมหานคร จัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม


การประชุมนานาชาติ "Critical Connections: Forum on Cultural Studies in Transnational Asia and Beyond"

ฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชีย (ARC) เครือข่ายจุฬานานาชาติ (CGN) และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม (MACM) ได้จัดการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับวัฒนธรรมในหัวข้อ "Critical Connections: Forum on Cultural Studies in Transnational Asia and Beyond" เมื่อวันศุกร์ที่ 16 มีนาคม 2555 ระหว่างเวลา 8.30-17.30 น. ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ และ Professor Dr.Chua Beng Huat เป็น Keynote Speakers ในการประชุมนี้มีผู้เสนอบทความจาก 10 ประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และอเมริกา

การประชุมนานาชาตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้วิจัยและนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้วิจัย คณาจารย์ และนักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษาในสถาบันการศึกษาขั้นสูงได้ร่วมพบปะ แลกเปลี่ยนทรรศนะ และประสบการณ์ และเสนอแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาทางวัฒนธรรมแก่รัฐบาลของตนและผู้เกี่ยวข้องต่อไป และเพื่อบูรณาการวิธีแก้ปัญหาทางวัฒนธรรมและการจัดการปัญหาวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคเอเชียอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้คณะอักษรศาสตร์เป็นแหล่งรวมความรู้และเป็นผู้นำทางด้านวัฒนธรรมของชาติ และเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตร BALAC ของคณะอักษรศาสตร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย


การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ "ภารตสมัย: วรรณกรรมอินเดียที่ประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษ"

ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาฯ สถาบันเอเชียศึกษาแห่งจุฬาฯ สำนักงานเครือข่ายจุฬาฯ นานาชาติ และสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย ได้จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติหัวข้อ "ภารตสมัย: วรรณกรรมอินเดียที่ประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษ" เมื่อระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอินเดียจากมุมมองทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนเผยแพร่วรรณกรรมอินเดียร่วมสมัยที่ประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษให้ผู้อ่านชาวไทย และเสริมสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์ในระดับนานาชาติ

วิทยากรรับเชิญในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ประกอบไปด้วย Amitav Ghosh นักเขียนระดับรางวัล Prix Médicis étranger รางวัล Sahitya Akademi รางวัล Arthur C. Clarke และรางวัล Dan David Prize Jahnavi Barua นักเขียนเจ้าของผลงานได้รับคัดเลือกเข้าพิจารณารางวัล Man Asian Literary Prize และรางวัล Frank O'Connor International Short Story Award และ Vikas Swarup นักเขียนเจ้าของผลงานนวนิยายเรื่อง Q & A ซึ่งดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ระดับรางวัลออสการ์เรื่อง Slumdog Millionaire ผู้ร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ประกอบด้วย นักวิชาการ นักเขียน นักแปลและบรรณาธิการชาวไทยและต่างประเทศ การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมครั้งประวัติการณ์ ด้วยเป็นการประชุมวิชาการหัวข้อวรรณกรรมอินเดียที่ประพันธ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกในประเทศไทย



Reaching the World 2012

คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A. Write Award) กรุงเทพมหานคร และ Asia Pacific Writers & Translators (AP Writers) จัดการประชุมนานาชาตินักเขียนและนักแปล "Reaching the World" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลซีไรต์และเป็นงานแรกของกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับคัดเลือกจาก UNESCO ให้เป็น "World Book Capital 2013" โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา และรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ เป็นเลขาธิการการจัดประชุม

งานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียนและนักแปลจากภูมิภาคเอเชียและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านวรรณกรรม เป็นเวทีเสวนาทางวิชาการสำหรับนักวิชาการและนักวิจัย รวมทั้งส่งเสริมให้นักเขียนเอเชียก้าวสู่ตลาดหนังสือของโลก มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 200 คน เป็นนักเขียน นักแปล นักวิชาการ และผู้พิมพ์จำหน่ายต่างชาติ จำนวน 150 คน จากกว่า 20 ประเทศ และกวี นักเขียน นักวิชาการ และผู้พิมพ์จำหน่ายชาวไทย อีกกว่า 50 คน

"Reaching the World cdec" ประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนแรกคือ การสัมมนาทางวิชาการของนักเขียนและนักแปลวรรณกรรมระดับนานาชาติ จัด ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร ระหว่างวันจันทร์ที 5 ถึงวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฯพณฯ James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และปราศรัยเกี่ยวกับความสำคัญของงานวรรณกรรมกับกระแสโลกาภิวัฒน์ สาระสำคัญของการสัมมนาทั้งสองวันเกี่ยวข้องกับคุณค่าและความหมายของการประพันธ์งานวรรณกรรม การมอบรางวัลทางวรรณกรรม รวมทั้ง การแปลงานวรรณกรรมอย่างมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมให้นักเขียนเอเชียเป็นที่รู้จักในเวทีโลกและก้าวสู่ตลาดหนังสือของโลก

ส่วนที่สองคือ Author Showcase Readings เป็นการอ่านบทกวีและงานประพันธ์โดยกวีและนักเขียนที่ได้รับรางวัล จัด 4 ครั้ง คร้ังแรก วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 18.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในการอ่านบทกวี มีกวีชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียง รวมทั้งกวีซีไรต์ ร่วมอ่านและแสดงลีลาประกอบการอ่าน และมีวงประสานเสียงของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีรองศาสตราจารย์จารุณี หงส์จารุ เป็นผู้ควบคุมวงร้องเพลงประกอบการอ่านบทกวี หลังการอ่านบทกวี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพจัดเลียง Welcoming dinner ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง ความสำคัญของงานวรรณกรรมในบริบทของสังคมร่วมสมัย

ส่วนที่สามคือ Creative Writing Workshops ในวันพุธที่ 7 และวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้อง 814 และ 815 อาคารมหาจักรีสิรินธร สำหรับนักเขียนและผู้ที่ต้องการเป็นนักเขียน ได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติกับนักเขียนนานาชาติระดับมือรางวัล

"Reaching the World" จบลงด้วยงานพระราชทานรางวัลซีไรต์ แก่นักเขียนจาก 8 ประเทศ ผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2012 และงาน Gala Dinner ณ ห้อง แกรนด์ บอลรูม โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ในวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555





การประชุมนานาชาตินักเขียนและนักแปล "Reaching the World"
คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A. Write Award) กรุงเทพมหานคร และ Asia Pacific Writers & Translators (AP Writers) จัดการประชุมนานาชาติ นักเขียนและนักแปล "Reaching the World" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลซีไรต์และเป็นงานแรกของกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับคัดเลือกจาก UNESCO ให้เป็น "World Book Capital 2013"

"Reaching the World 2012" ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ การสัมมนานักเขียนและนักแปล จาก 20 ประเทศ จัด ณ ห้อง 303 และ 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร ระหว่างวันจันทร์ที 5 ถึงวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555 ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และฯพณฯ James Wise เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

ส่วนที่สองคือ Author Showcase Readings เป็นการอ่านบทกวีและงานประพันธ์โดยกวีและนักเขียนที่ได้รับรางวัล จัด 4 ครั้ง ครั้งแรก วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา 18.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตามด้วย Welcoming dinner ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยง ครั้งที่ 2, 3 และ 4 จัด ณ Sasa International House

ส่วนที่สามคือ Creative Writing Workshops ในวันพุธที่ 7 และวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้อง 814 และ 815 อาคารมหาจักรีสิรินธร


ประชุมนานาชาติ “Archaeology of Buddhism” (March - April 2010)
คณะอักษรศาสตร์ร่วมกับสถานทูตอินเดียจัดการประชุมนานาชาติ “Archaeology of Buddhism”  ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2553 ณ ห้องประชุม Dipak-E. Jain Hall ศศนิเวศน์ ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิชาการ และนักโบราณคดีจาก มหาวิทยาลัยศิลปากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมศิลปากร สยามสมาคม พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่างประเทศ ผู้เสนอบทความมีอาทิเช่น Dr. Gautam Sengupta ผู้อำนวยการของ Archaeological Survey of India Prof. A. Jamkhedkar ผู้อำนวยการของ K.J. Soncaiya Center for South & South East Asian Studies, Mumbai ร.อ. บุญฤทธิ์ ชัยสุวรรณ Prof. Dr. Himanshu Prabha Ray ดร. เชษฐ์ ติงสัญชลี  และ นพ. บัญชา พงศ์พานิช เป็นต้น

การประชุมนานาชาตินี้นับเป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างประเทศไทย และประเทศอินเดียในด้านโบราณคดีและโบราณสถานของพุทธศาสนาในทั้งสองประเทศ

     

The Phantasm in Southern Thailand: Historical Writings on Patani and the Islamic World (December 2009)
The Department of History in collaboration with the Regional Studies Program, School of Liberal Arts, Walailuk University, held an international conference, funded by the Thailand Research Fund and the National Discovery Museum Institute, on “The Phantasm in Southern Thailand: Historical
Writings on Patani and the Islamic World” on December 11 – 12, 2009 in the Maha Chulalongkorn Building. The conference turned out to be a big success, with over 200 local and international participants from Malaysia, Indonesia, Brunei, Singapore, Australia, the U.K. and the U.S. The
audience ranged from scholars, local politicians, diplomats, private development organization officers, and the local and international press to the interested public. Several sessions
generated so much interest that some participants were willing to stand in the overcrowded venue, and some were sitting in front of the stage and along the aisle.

Melayu in Thailand (August 2009)
The Malay Section, Department of Eastern Languages, held a national conference on “Melayu in Thailand” on August 20, 2009 in Room 105, Maha Chulalongkorn Building. The main objectives of the conference were to provide deeper and more intensive knowledge of the Malay language and
culture in Thailand, to foster better understanding between Malay Thais and other ethnic groups in Thailand and to create a collaborative network of academics and researchers in the field of Malay Studies. This conference, which was the first of its kind in Thailand, proved to be a success with over 170 participants comprising scholars, students, government officials, NGO workers as well as descendants of ethnic Malaya throughout the country