Faculty of Arts อาจารย์-บุคลากร
นิสิตปัจจุบัน
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
ศิษย์เก่า
 
Home | Download |
about us

 

 

 

 

 

หน้าแรก วิรัชกิจ  ความร่วมมือ

ความร่วมมือ

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Hiroshima ประเทศญี่ปุ่น

Professor Dr. Hirashi Kuwayama ผู้แทนจาก Graduate School of Education และ Ms. Kanako Taida ผู้แทนจาก International Exchange Group มหาวิทยาลัย Hiroshima ประเทศญี่ปุ่น ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ณ ห้อง 814 อาคารมหาจักรีสิรินธร รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้ให้การต้อนรับ

วัตถุประสงค์ของการมาเยือน เพื่อเสนอให้คณะอักษรศาสตร์ จัดโครงการ Study Abroad ให้นักศึกษาปี 1 ของมหาวิทยาลัย Hiroshima เพื่อให้นักศึกษาญี่ปุ่น ได้มีโอกาสมาเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยและสังคมไทย ในการประชุมได้หารือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการจัดโครงการ ซึ่งจะจัดครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ.2559


ความร่วมมือไตรภาคีศิลปการละคร ไทย-ฮ่องกง-สิงคโปร์

ระหว่างวันที่ 20-23 สิงหาคม 2558 ไทย-ฮ่องกง-สิงคโปร์ ได้มีการหารือเพื่อจัดตั้งโครงการความร่วมมือไตรภาคีศิลปการละครอย่างเป็นทางการ โดย Prof. Dr. Ceri Sherlock, Chair of School of Drama ตัวแทนจาก The Hong Kong Academy for Performing Arts เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับ Dr. Amanda Morris, Dean of Faculty of Performing Arts และ Mr. Adam Marple ตัวแทนจาก LaSalle College of Arts ประเทศสิงคโปร์ ได้เข้าพบผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ เพื่อสานต่อเรื่องการสร้างเครือข่ายด้านศิลปการละครของสามสถาบัน โดยมีอาจารย์ดังกมล ณ ป้อมเพชร หัวหน้าภาควิชาศิลปการละคร รองศาสตราจารย์พรรัตน์ ดำรุง และรองศาสตราจารย์จารุณี หงส์จารุ เป็นตัวแทนจากภาควิชาศิลปการละคร ร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย

The Hong Kong Academy for Performing Arts เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน LaSalle College of Arts ประเทศสิงคโปร์ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีแผนงานที่จะผลิตผลงานสร้างสรรค์ร่วมกัน คือละครเรื่อง A Midsummer Night’s Dream ของ William Shakespeare โดยนิสิตนักศึกษาจากทั้ง 3 มหาวิทยาลัย ละครจะจัดแสดงที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในช่วงครึ่งเดือนแรกของมิถุนายน ปี 2559 และในขณะนี้ กำลังหารือเรื่องการร่าง MOU ระหว่างทั้งสามสถาบันด้วย


ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Fukui และการทำ MOU และ Agreement on Academic Exchange

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้ต้อนรับ Prof. Dr. Hideo Teraoka รองอธิการบดี และ Prof. Dr. Koji Kobata ผู้อำนวยการ International Center มหาวิทยาลัย Fukui ประเทศญี่ปุ่น การมาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เพื่อเจรจาความคืบหน้าเรื่องความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ Faculty of Global and Community Studies มหาวิทยาลัย Fukui ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ ได้พารองอธิการบดีและ Prof. Dr. Kobata ชมอาคารมหาจักรีสิรินธร อาคารมหาวชิราวุธ และอาคารมหาจุฬาลงกรณ์

สองสัปดาห์หลังการมาเยือน Faculty of Global and Community Studies ได้เห็นชอบร่างสัญญาที่คณะอักษรศาสตร์เสนอ และได้ส่ง MOU และ Agreement on Academic Exchange มาให้คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ลงนามคู่กับ Prof. Dr. Hideo Teraoka รองอธิการบดี และคณบดี Faculty of Global and Community Studies มหาวิทยาลัย Fukui


ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกวางสี Guangxi University ประเทศจีน

สืบเนื่องจากการที่รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้เดินทางร่วมกับตัวแทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเยือนและเจรจาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในมณฑลกุ้ยหลิน และมณฑลหนานหนิง

มหาวิทยาลัยกวางสี ในมณฑลหนานหนิงได้เชิญนิสิตอักษรศาสตร์ จำนวน 20 คน ไปร่วมกิจกรรม “2015 Guangxi University’ s Experiencing Chinese Camp for Students from ASEAN Countries” ร่วมกับนักศึกษาจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวม 150 คน ระหว่างวันที่ 20-26 กรกฎาคม 2558 โดยมหาวิทยาลัยกวางสี จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของที่พัก อาหาร การเรียนในชั้นเรียน การทัศนศึกษาด้านวัฒนธรรม และการเดินทางภายในประเทศ นิสิตอักษรศาสตร์รับผิดชอบค่าโดยสารเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-หนานหนิง

เนื่องจากมหาวิทยาลัยกวางสี ส่งจดหมายเชิญมาในเวลากระชั้นชิด และ Chinese Camp จัดระหว่างช่วงปิดภาคเรียน จำนวนนิสิตอักษรศาสตร์ที่สมัครไป Chinese Camp ไม่ครบ 20 คน ฝ่ายวิรัชกิจ จึงได้ให้โอกาสนิสิตคณะอื่นๆ ในจุฬาฯ มาร่วมในโครงการฯ ด้วย นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้รับความรู้และประสบการณ์ และได้มีโอกาสสร้างเครือข่ายกับนักศึกษาจีนและนักศึกษาจากประเทศอาเซียน

มหาวิทยาลัยกวางสี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีประวัติยาวนาน มีทั้งการเรียนการสอนและการทำวิจัย ก่อตั้งเมื่อปีคศ.1928 ปัจจุบันมีวิชามากกว่า 9 สาขาวิชา ได้แก่ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ กฏหมาย ภาษา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ การจัดการ และการศึกษา

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นมหาวิทยาลัยที่กระทรวงศึกษาธิการจีนและเขตปกครองกวางสี ร่วมมือสร้างขึ้น ได้ตั้งชื่อว่า “โครงการ 211” มีพื้นที่ทั้งหมด 307.19 ตารางกิโลเมตร มีวิทยาลัย 20 แห่ง ปริญญาตรี 85 คณะ ปริญญาโท 143 สาขาวิชา และปริญญาเอก 10 สาขาวิชา

ปัจจุบัน มีจำนวนนักศึกษาปริญญาตรี 19,879 คน ปริญญาโท 4,145 คน ปริญญาเอก 181 คน นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาต่างชาติ 281 คน และนักศึกษาทั่วไป 28,000 คน


ความร่วมมือกับ University of Coimbra

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558 Prof. Joaquim Ramos de Carvalho, Vice President for Foreign Affairs และ Prof. José Pedro Paiva, Dean, Faculty of Arts and Humanities มหาวิทยาลัย University of Coimbra ประเทศโปรตุเกส ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษาสเปน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ อาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ และอาจารย์ ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ ได้ต้อนรับและประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ และการทำวิจัย

ในเบื้องต้นสรุปได้ว่า นักศึกษาจาก University of Coimbra สามารถมาเป็นนิสิตแลกเปลี่ยนในหลักสูตร BALAC ส่วนนิสิตอักษรศาสตร์ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ สามารถไปเรียนภาษาโปรตุเกสในภาคฤดูร้อน และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ โดยมหาวิทยาลัย University of Coimbra จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหารและค่าที่พักให้แก่นิสิตอักษรศาสตร์

ในขณะนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย University of Coimbra มี Memorandum of Understanding (MOU) รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ จึงเสนอให้ทำ Student Exchange Agreement ระหว่างมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย


ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Sophia ประเทศญี่ปุ่น ผ่านโครงการ AIMS

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2557 คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ จิราสมบัติ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก รองศาสตราจารย์จารุณี หงส์จารุ อาจารย์ผู้สอนวิชา Music and Culture ของ BALAC และอาจารย์ ดร. Lowell Skar อาจารย์ประจำหลักสูตร BALAC ได้ต้อนรับคณะผู้แทนจาก Sophia University กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย Prof. Dr. Tak Watanabe จาก Faculty of Liberal Arts, Assoc. Prof. Dr. Davisi Boontharm, Center for Global Discovery, Faculty of Foreign Studies และ Ms. Hanna Tajima, Office of Global Education and Collaboration

วัตถุประสงค์ของการมาเยือน เพื่อเจรจาเรื่องนักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างคณะอักษรศาสตร์ และมหาวิทยาลัย Sophia ในภาคการศึกษานี้ มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Sophia มาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนที่หลักสูตร BALAC จำนวน 5 คน โดยมหาวิทยาลัย Sophia ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้นักศึกษาของตน ในภาคการศึกษาหน้า คณะอักษรศาสตร์จะส่งนิสิตจาก BALAC ไปเรียนที่ มหาวิทยาลัย Sophia จำนวน 5 คน เช่นกัน ตามข้อตกลงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัย Sophia นิสิตจุฬาฯ ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนเรียน แต่ต้องรับผิดชอบค่าตั๋วเครื่องบินและค่าที่พักของตนเอง เนื่องจาก ค่าครองชีพในกรุงโตเกียวสูงมาก คณะอักษรฯ จึงเจรจาขอให้มหาวิทยาลัย Sophia จ่ายค่าที่พักให้นิสิตอักษรศาสตร์ด้วย ผลการเจรจาเป็นที่น่าพอใจ มหาวิทยาลัย Sophia ยินดีจะจ่ายค่าที่พักให้นิสิต BALAC พร้อมทั้งจ่ายค่าเครื่องบินโดยสารไปกลับ กรุงเทพ-โตเกียว ให้แก่นิสิตอักษรศาสตร์ที่ไปแลกเปลี่ยนด้วย คณบดีได้เลี้ยงขอบคุณคณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัย Sophia ณ ภัตตาคาร Jade Garden โรงแรมมณเฑียร


ความร่วมมือกับ Miami University

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 คณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ และรองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ ได้ต้อนรับ Prof. Dr. Susan Morgan, Distinguished Professor of English และ Prof. Dr. Eric Goodman, Director of Low-Residency MFA และ Professor of English จาก Miami University ประเทศสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์การมาเยือนเพื่อทำสัญญาความร่วมมือระหว่าง Miami University กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร BALAC เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างนิสิตของหลักสูตร BALAC กับนักศึกษาของ Miami University

ในการมาเยือนครั้งนี้ คณาจารย์ทั้งสองได้นำ Memorandum of Understanding (MOU) ซึ่งอธิการบดีของ Miami University ได้ลงนามแล้ว มาเสนอให้อธิการบดีของจุฬาฯ ลงนาม ฝ่ายวิรัชกิจได้ส่ง MOU ไปยังสำนักบริหารงานวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ เพื่อขอให้อธิการบดีจุฬาฯ พิจารณาลงนามใน MOU ต่อไป


ความร่วมมือกับ Nottingham Trent University (NTU) ประเทศสหราชอาณาจักร

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 Prof. Dr. Murray Pratt คณบดี School of Arts and Humanities มหาวิทยาลัย Nottingham Trent University ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทอแสง เชาว์ชุติ อาจารย์ ดร. Lowell Skar และอาจารย์ ดร. Simon Turner ได้ให้การต้อนรับ

วัตถุประสงค์การมาเยือน เพื่อหารือความร่วมมือในการสร้างหลักสูตร dual degree ระหว่างคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กับ School of Arts and Humanities มหาวิทยาลัย Nottingham Trent University โดยมีข้อเสนอให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนทั้ง 2 มหาวิทยาลัย โดยนิสิตอักษรศาสตร์เรียนปีที่ 1 ที่จุฬาฯ ปีที่ 2 ที่ NTU ปีที่ 3 ที่ NTU หรือมหาวิทยาลัยคู่สัญญาของ NTU ในยุโรปที่สอนภาษาต่างๆ ที่นิสิตเลือกเรียน และเรียนปีที่ 4 ที่จุฬาฯ คณบดีได้พิจารณาเรื่องนี้และสรุปว่าการทำ dual degree ต้องปรึกษาและได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม คณะอักษรศาสตร์ก็สามารถมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนได้ในลักษณะอื่นๆ


ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Ritsumeikan ประเทศญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2557 Prof. Dr. Yusuke Toyoda รองคณบดี College of Policy Science และดร.ปิยดา ชลวร จาก Ritsumeikan University ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อเจรจาความร่วมมือในโครงการ AIMS ของประเทศญี่ปุ่น รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทอแสง เชาว์ชุติ อาจารย์ ดร.อัษฎายุทธ ชูศรี และอาจารย์ ดร. Lowell Skar ได้ร่วมกันให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 815 อาคารมหาจักรีสิรินธร

วัตถุประสงค์ในการมาเยือน เพื่อหารือความร่วมมือในประเด็นเรื่องจำนวนนิสิตที่จะแลกเปลี่ยน ช่วงเวลาการแลกเปลี่ยน รายวิชาที่จะสามารถโอนหน่วยกิตได้ กิจกรรมเสริมในหลักสูตร Prof. Dr. Yusuke Toyoda จะนำข้อสรุปที่ได้ในการประชุม ไปนำเสนอมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา การแลกเปลี่ยนนิสิตจะเริ่มต้นในภาคปลาย ปีการศึกษา 2557


ความร่วมมือระหว่าง Hiroshima University กับคณะอักษรศาสตร์

สืบเนื่องจากที่คณะอักษรศาสตร์ ได้ส่งนิสิตจำนวน 10 คน ไปแลกเปลี่ยนที่มหาวิทยาลัย Hiroshima ภายใต้โครงการ AIMS-HU ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 และนิสิตจำนวน 7 คน จาก Hiroshima University มาเรียนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2557 ที่หลักสูตร BALAC Prof. Dr. Taiji Hotta รองอธิการบดีฝ่ายวิรัชกิจ Ms. Saori Nakaie หัวหน้าฝ่าย International Exchange Group และ Ms. Tomoko Sasaki ผู้ประสานงานโครงการ AIMS-HU ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อติดตามผลการมาเรียนและร่วมกิจกรรมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากมหาวิทยาลัย Hiroshima และขอคำปรึกษาเรื่องวิชาต่างๆ ที่นิสิตญี่ปุ่นลงทะเบียนเรียน รวมทั้งกิจกรรมในและนอกหลักสูตร ที่คณะอักษรศาสตร์จัดให้นิสิตแลกเปลี่ยน

นอกจากนี้ ยังได้หารือรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกงาน (internship) ของทั้งนิสิตอักษรศาสตร์ และนิสิต Hiroshima ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AIMS-HU ด้วย


การทำ Student Exchange Agreement กับ California State University, San Bernadino

รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ รองประธานหลักสูตร BALAC อาจารย์ Dr. Lowell Skar และอาจารย์ Albert Bosch อาจารย์ประจำหลักสูตร BALAC ได้ให้การต้อนรับ Dr.Jack Paduntin รองคณบดี College of Extended Learning และ Executive Director ของ International Extension Programs เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2557 ณ ห้องประชุมสำนักคณบดี

จุดประสงค์ของการมาเยือน เพื่อหารือเรื่องการทำ Student Exchange Agreement ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ California State University, San Bernardino เนื่องจากจุฬาฯ มีสัญญาแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยดังกล่าว แต่ยังไม่มี Student Exchange Agreement จึงทำให้ไม่สามารถมีการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่าง 2 มหาวิทยาลัยได้


โครงการ AIMS ระหว่างคณะอักษรศาสตร์กับมหาวิทยาลัย Sophia

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2557 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิรัชกิจและรักษาการผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ และรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ได้ให้การต้อนรับ Prof. Dr. Tak Watanabe จาก Faculty of Liberal Arts และ Mr. Ei Nakayama ซึ่งเป็น International liaison officer มหาวิทยาลัย Sophia ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 3

จุดประสงค์ของการมาเยือน เพื่อเจรจารายละเอียดของโครงการ AIMS ระหว่างจุฬาฯ และ Sophia University มหาวิทยาลัย Sophia จะส่งนักศึกษา 5 คน มาเรียนที่หลักสูตร BALAC เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม 2557 และนิสิต BALAC 5 คน จะไปเรียนที่มหาวิทยาลัย Sophia เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2558

โครงการ AIMS นี้มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2562 สำหรับนิสิตแลกเปลี่ยนจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย Sophia จะจัดหาที่พักให้นิสิตอักษรศาสตร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


คณะผู้แทนจาก Waseda University ประเทศญี่ปุ่น เยือนคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 9.00 น. Prof. Dr. Norimasa Morita, Dean, School of International Liberal Studies Prof. Dr. Min Shu หัวหน้าโครงการ AIMS และ Mr. Hitoshi Nagamura ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร จาก Waseda University ประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาประชุมกับรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ รองผู้อำนวยการหลักสูตร BALAC ณ ห้อง 814 อาคารมหาจักรีสิรินธร

วัตถุประสงค์ของการมาเยือน เพื่อเจรจาตกลงในรายละเอียดของความร่วมมือกันระหว่างคณะอักษรศาสตร์ และ Waseda University ในโครงการ AIMS ดังนี้ กำหนดให้นิสิตแลกเปลี่ยน มีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75 มีความสามารถภาษาอังกฤษเทียบเท่ากับ TOEFL 550 โอนย้ายหน่วยกิตประมาณ 16-21 หน่วยกิต จำนวนนิสิตแลกเปลี่ยนไม่เกิน 5 คน ต่อภาคการศึกษา นิสิตอักษรศาสตร์ไปแลกเปลี่ยนระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม และนักศึกษา Waseda มาแลกเปลี่ยนระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 กำหนดปิดรับสมัคร 31 พฤษภาคม และ 31 มกราคม นิสิตแลกเปลี่ยนจ่ายค่าเครื่องบินเอง ส่วนที่พัก นิสิตจุฬาฯ จ่ายเงินค่าหอพักของ Waseda เป็นจำนวนเงินเท่ากับอัตราของหอพัก I-House ของจุฬาฯ คณะอักษรฯ จะดูแลจองหอพักที่ I-House ให้นักศึกษา Waseda โดยมหาวิทยาลัย Waseda เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

หลังจากนั้น รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจได้นำคณะจาก Waseda University และคณาจารย์ผู้สอนหลักสูตร BALAC ที่มีส่วนร่วมในโครงการ AIMS ไปรับประทานอาหารกลางวัน ณ บ้านขนิษฐา



MOU ระหว่างคณะอักษรศาสตร์ และ Faculty of Humanities มหาวิทยาลัย Leiden

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ และนางสาววราพร พวงจันทร์หอม ผู้จัดการหลักสูตร BALAC ได้ให้การต้อนรับ Ms. Ruth Davison ผู้อำนวยการนโยบายต่างประเทศ Faculty of Humanities มหาวิทยาลัย Leiden ประเทศเนเธอร์แลนด์

วัตถุประสงค์ของการมาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อหารือเรื่องความร่วมมือทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย

ผลการหารือได้ข้อสรุปคือ คณะอักษรศาสตร์จะทำสัญญา Memorandum of Understanding และ Student Exchange Agreement กับ Faculty of Humanities มหาวิทยาลัย Leiden สัญญาจะเริ่มเดือน กุมภาพันธ์ 2557 และมีกำหนดเวลา 5 ปี จำนวนนิสิตแลกเปลี่ยนปีละ 2-4 คน


นิสิต BALAC 9 คน ไปแลกเปลี่ยนที่ Hiroshima University

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนเต็ม กฤษดาธานนท์ รองประธานหลักสูตร BALAC ได้ให้การต้อนรับ Prof. Dr. Taiji Hotta, Vice-President of International Affairs, Prof. Dr. Makoto Katsube, Dean of Graduate School of Letters and Dean of Faculty of Letters และคณะ จากมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้อง 814 อาคารมหาจักรีสิรินธร

วัตถุประสงค์ในการมาเยือน เพื่อเจรจาความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์และมหาวิทยาลัย Hiroshima และร่างสัญญาความร่วมมือ AIMS-HU Program โดยจะมีการแลกเปลี่ยนระหว่างนิสิตอักษรศาสตร์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย Hiroshima ทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 นิสิต BALAC 9 คน ได้รับคัดเลือกให้เป็นนิสิตแลกเปลี่ยนไปศึกษาที่มหาวิทยาลัย Hiroshima เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม 2557 และนักศึกษามหาวิทยาลัย Hiroshima มาศึกษาที่หลักสูตร BALAC เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม 2557 ความร่วมมือนี้ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ยกเว้นค่าเล่าเรียน และสนับสนุนค่าที่พักให้กับนิสิต BALAC ด้วย



มูลนิธิ Khyentse มอบรางวัลทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2556 เวลา 10.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ณ ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์ อาคารมหาวชิราวุธ Dr. Peter Skilling ผู้ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนมูลนิธิ Khyentse ประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัลทุนการศึกษา จำนวน 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้แก่นายณัชพล ศิริสวัสดิ์ นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ผู้ผ่านการคัดเลือก คณะกรรมการคัดเลือก ได้แก่ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.สิริวรรณ จุฬากรณ์ และอาจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว

มูลนิธิ Khyentse ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.2001 โดยท่าน Dzongsar Khyentse Rinpoche เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาและการเรียนพุทธศาสนศึกษา โดยมีกิจกรรม อาทิ สนับสนุนการจัดการข้อมูลพระไตรปิฎกภาษาทิเบตในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนการศึกษาพุทธศาสนศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับนานาชาติ มูลนิธิได้มอบเงินทุนสนับสนุนให้แก่คณะอักษรศาสตร์เป็นเงิน 3,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยให้คณะอักษรศาสตร์ตั้งหลักเกณฑ์ ดำเนินการคัดเลือกและจัดพิธีมอบทุนการศึกษาแก่นิสิตผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ มูลนิธิ Khyentse จะให้ทุนนี้แก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ปีละ 1 ทุน ทุนละ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ (เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 จนถึงปีการศึกษา 2556) ภายหลังจาก 3 ปี มูลนิธิและฝ่ายวิรัชกิจจะหารือเพื่อตกลงความร่วมมือในระยะยาวต่อไป

การมอบทุนครั้งนี้เป็นปีสุดท้ายของทุน และในขณะนี้ คณะกรรมการบริหารทุนกำลังพิจารณาต่อการมอบทุนให้นิสิตคณะอักษรศาสตร์ต่อไปอีก 3 ปี


ความร่วมมือกับ สถานทูตเปรูประจำประเทศไทย และ Runa Run - Peruvian Thai Association
ศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันตก และฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับสถานทูตเปรูประจำประเทศไทย และ Runa Run - Peruvian Thai Association จัดเทศกาลภาพยนตร์เปรู "Living Peru" ระหว่างวันที่15-22 มิถุนายน 2556 สำหรับคณาจารย์ นิสิตอักษรศาสตร์ และผู้สนใจทั่วไป โดยมีพิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์เปรู เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2556 เวลา 18.00 น. ณ สรรพศาสตร์สโมสร อาคารมหาจักรีสิรินธร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ ฯพณฯ Emilio Irribarren อุปทูตเปรูประจำประเทศไทย ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิด คณบดีคณะอักษรศาสตร์ได้กล่าวต้อนรับ และอุปทูตได้กล่าวเปิดงาน คณบดีได้มอบของที่ระลึกแด่อุปทูต สถานทูตได้จัดงานเลี้ยงรับรองด้วยอาหารและเครื่องดื่มประจำชาติของเปรู ต่อจากนั้นเป็นการฉายภาพยนตร์ซึ่งสื่อถึงวัฒนธรรมของประเทศเปรู นอกจากอุปทูตและเลขานุการตรีจากสถานทูตเปรูแล้ว ยังมีเลขานุการเอกจากสถานทูตเม็กซิโก และเลขานุการเอกจากสถานทูตชิลี มาร่วมในพิธีเปิดงาน "Living Peru" ด้วย

พิธีเปิดและการฉายภาพยนตร์ ได้รับความสนใจจากคณาจารย์และนิสิตเป็นจำนวนมาก งานนี้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตประเทศลาตินอเมริกากับคณะอักษรศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา ซึ่งมีอาจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ




ความร่วมมือกับ Maria Curie-Sklodowska University in Lublin ประเทศโปแลนด์
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2556 เวลา 10.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ให้การต้อนรับ Prof. Dr. Ryszard Dębicki รองอธิการบดีมหาวิทยาลัย Maria Curie-Sklodowska University in Lublin ประเทศโปแลนด์ พร้อมด้วยภริยา และรองศาสตราจารย์ ดร.ก้องกิติ พูสวัสดิ์ Editor-in-Chief ของ International Journal of Innovation and Learning มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อพบปะหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัย Maria Curie-Sklodowska University in Lublin ณ ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งได้รับการตกแต่งใหม่ อาคารมหาวชิราวุธ

คณบดีและรองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้นำอาคันตุกะชมอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และได้พาเข้าพบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย ผู้ช่วยอธิการบดีและรักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิรัชกิจและเครือข่ายนานาชาติ ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 เพื่อหารือเรื่องรายละเอียดการทำสัญญาความร่วมมือให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย คณะผู้บริหารจุฬาฯ ได้จัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่อาคันตุกะที่ครัวดอกไม้ขาว



ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ให้การต้อนรับนายไมเคิล เจ ฮอนโนลด์ ผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรม และคุณกัญชลี จิตต์แจ้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2556 เวลา 9.00 น. ณ ห้องสำนักคณบดี

วัตถุประสงค์การมาเยือน เพื่อขอความร่วมมือเรื่องสถานที่ในการจัดกิจกรรม Battery Dance Company กับคณะอักษรศาสตร์ โดยงานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ชั้น 6 อาคารมหาจักรีสิรินธร ตั้งแต่เวลา 19.00 น. นอกจากนี้ คณบดีและรองคณบดีได้หารือเรื่องการเชิญเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกามาเยือนคณะอักษรศาสตร์ ซึ่งฝ่ายวิรัชกิจและผู้ช่วยทูตฝ่ายวัฒนธรรม จะประชุมหารือกันเพื่อจัดกิจกรรมให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ได้พบปะและทำกิจกรรมร่วมกับนิสิตอักษรศาสตร์


การลงนามในสัญญาความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปน
ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฯพณฯ Maria del Carmen Moreno Raymundo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปน ประจำประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศและการพัฒนาของประเทศสเปน (AECID) รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจคณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา เพ็ชรรักษ์ และอาจารย์เลารา กัสโตร ซานเชส คณาจารย์สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ และ Mr. Antonio Casado Rigalt ผู้ช่วยทูตด้านการศึกษาและวัฒนธรรม เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2556 เวลา 11.30 น. ณ ห้องรับรองชั้น 2 อาคารจามจุรี 4

ก่อนการลงนาม รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์และสถานทูตสเปนในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เอกอัครราชทูตสเปนยินดีที่จะให้ความร่วมมือและเพิ่มความช่วยเหลือ ทั้งทางด้านวิชาการและวัฒนธรรม อธิการบดีจุฬาฯ แสดงความขอบคุณและเสนอแนวทางใหม่ๆ เกี่ยวกับความร่วมมือของทั้งสองสถาบัน


ความร่วมมือกับ Maria Curie – Sklodowska University in Lublin ประเทศโปแลนด์
เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 14.30 น. ณ ห้อง 501/5 อาคารมหาจักรีสิรินธร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ต้อนรับ Prof. Artur Popek, คณบดี Faculty of Art และ Prof. Dr. Zbigniew Pastuszak, คณบดี Faculty of Economics มหาวิทยาลัย Maria Curie - Sklodowska University in Lublin ประเทศโปแลนด์ ซึ่งได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์เพื่อหารือเรื่องความร่วมมือด้านวิชาการและกิจกรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในการนี้ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์พิเศษภาควิชาภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยคณาจารย์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ และ Dr. Tomasz Gerlach ที่ปรึกษาอันดับ 1 สถานทูตโปแลนด์ประจำประเทศไทย ได้เข้าร่วมให้การต้อนรับและหารือกับคณะอาคันตุกะด้วย


พิธีลงนามสัญญา MOU มหาวิทยาลัย Jain Vishva Bharati ประเทศอินเดีย
คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัย Jain Vishva Bharati จำนวน 7 คน ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อพบปะหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่าง 2 มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ได้ตกลงร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Jain Vishva Bharati ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และนิสิต กับ Prof. Dr. Samani Charitra Prajna ตำแหน่ง Vice-Chancellor โดยมี Asst. Prof. Dr. Samani Aagam Pragya เป็นผู้ลงนามแทน

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ และรองศาสตราจารย์ ดร.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา ได้ให้การต้อนรับ ร่วมหารือ และเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามสัญญา MOU เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องโถงกลาง อาคารมหาวชิราวุธ

ทั้งนี้ สัญญาดังกล่าวมีอายุ 5 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ถึงเดือนมกราคม 2561


มูลนิธิ Khyentse มอบรางวัลทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2555 เวลา 11.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ม.ร.ว.กองกาญจน์ ตะเวทีกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติการแทนคณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ณ สรรพศาสตร์สโมสร อาคารมหาจักรีสิรินธร Dr. Peter Skilling และ Dr.Saerji ผู้ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนมูลนิธิ Khyentse ประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัลทุนการศึกษาให้แก่นางสาววกุล มิตรพระพันธ์ นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ผู้ผ่านการคัดเลือก คณะกรรมการคัดเลือก ได้แก่ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.สิริวรรณ จุฬากรณ์ และอาจารย์ ดร.ชาญวิทย์ ทัดแก้ว

มูลนิธิ Khyentse ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.2001 โดยท่าน Dzongsar Khyentse Rinpoche เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่พุทธศาสนาและการเรียนพุทธศาสนศึกษา โดยมีกิจกรรม อาทิ สนับสนุนการจัดการข้อมูลพระไตรปิฎกภาษาทิเบตในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนการศึกษาพุทธศาสนศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับนานาชาติ มูลนิธิได้มอบเงินทุนสนับสนุนให้แก่คณะอักษรศาสตร์เป็นเงิน 3,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยให้คณะอักษรศาสตร์ตั้งหลักเกณฑ์ ดำเนินการคัดเลือกและจัดพิธีมอบทุนการศึกษาแก่นิสิตผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการ มูลนิธิ Khyentse จะให้ทุนนี้แก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ปีละ 1 ทุน ทุนละ 1,000 เหรียญสหรัฐฯ (เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 จนถึงปีการศึกษา 2556) ภายหลังจาก 3 ปี มูลนิธิและฝ่ายวิรัชกิจจะหารือเพื่อตกลงความร่วมมือในระยะยาวต่อไป

อนึ่ง มูลนิธิ Khyentse มอบทุนการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น University of California, Berkeley, University of Pennsylvania, University of Sydney, University of Hamburg และ Peking University


มูลนิธิ Khyentse มอบรางวัลทุนการศึกษาแก่นิสิตคณะอักษรศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษามูลนิธิ Khyentse ณ สรรพศาสตร์สโมสร อาคารมหาจักรีสิรินธร Dr. Peter Skilling ผู้ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนมูลนิธิ Khyentse ประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัลทุนการศึกษาให้แก่นางสาวสรารัตน์ นะวะโต นิสิตระดับปริญญาโท ผู้ผ่านการคัดเลือก


สัญญาความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์กับ University of Hamburg
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับ Faculty of Humanities and Culture Sciences, University of Hamburg ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อแลกเปลี่ยนนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยทั้งสอง รวมทั้งร่วมมือกันทำโครงการวิชาการและโครงการวัฒนธรรม


สัญญาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเฉิงตู (January 2011)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดี ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับ Proferssor Huang Ming คณบดี School of Foreign Languages & Cultures มหาวิทยาลัยเฉิงตู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2554 ณ ห้อง Jade Garden โรงแรม มณเฑียร

สัญญาความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ School of Foreign Languages & Cultures มหาวิทยาลัยเฉิงตู เป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยน นิสิตและอาจารย์ มหาวิทยาลัยเฉิงตูจะเริ่มส่งนิสิตแลกเปลี่ยน ชั้นปีที่ 4 เอกภาษาไทย จำนวน 20 คน มาเรียนวิชาต่างๆ ในคณะอักษรศาสตร์ ประมาณ 3-4 วิชา จำนวน 12-15 หน่วยกิต ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนมีนาคม 2555 ในเรื่องการสอนและการทำวิจัย อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จะได้รับเชิญไปสอนหรือทำ วิจัยที่มหาวิทยาลัยเฉิงตู โดย
มหาวิทยาลัยเฉิงตูจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวกในเรื่องอื่นๆ


สัญญาความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์กับ School of Arts and Humanities มหาวิทยาลัย Nottingham Trent (August 2010)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีได้เซ็นสัญญาความร่วมมือทางด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนนิสิตกับ Professor Dr. Nigel Hastings ตำแหน่ง Pro Vice-Chancellor ของมหาวิทยาลัย Nottingham Trent สัญญามีอายุ 3 ปี เริ่มตั้งแต่ สิงหาคม 2553 ถึง กรกฎาคม 2556 และในขณะนี้มีนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย Nottingham Trent แสดงความสนใจจะมาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนในคณะอักษรศาสตร์ ในปีการศึกษา 2554

 

Another New Partnership with Waseda (December 2009)
คณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยวาเซดะได้มาเยือน คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพบปะหารือเกี่ยวกับ ความร่วมมือทางด้านวิชาการ และลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวาเซดะ กับคณะอักษรศาสตร์
    ในโอกาสนี้ได้ร่วมลงนามความร่วมมือกับหลักสูตร อักษรศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษา
และวัฒนธรรม(หลักสูตรนานาชาติ) BALAC มี ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รศ.สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ผศ.ดร.วรวุฒิ จิราสมบัติ หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก อ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ ประธานหลักสูตร BALAC และ อ.ดร.ศศิพร เพชราภิรัชติ รองประธานหลักสูตร BALAC ให้การต้อนรับและร่วมหารือ ในวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2552 ณ ห้องรับรอง สำนักคณบดี อาคารมหาวชิราวุธ
       

A New Partnership with Communication University in China (November 2009)
On November 30, 2009 Professor Peng Zongping and Professor Bao Xueju from the International College for Chinese Language Studies, Communication University of the Republic of China, paid a courtesy call to the Faculty of Arts. After a long discussion on mutual interests and upcoming action plans, the Dean signed a cooperation agreement between BALAC and the International College for Chinese Language Studies. Present at the signing ceremony were Assistant Professor Dr. Suradech Chotiudomphan, BALAC Director, and Ajarn Dr. Sasiporn Petcharapiracha, BALAC
Deputy Director.
 

An MOU Renewal with Kyoto Notre Dame University (November 2009)
On November 27, 2009 Professor Kazumi Inoue, Director, Office of International Programs, Kyoto Notre Dame University, paid a courtesy visit to Dean Assistant Professor Dr. Prapod Assavavirulhakarn. Both agreed on the renewal of the existing MOU for another three years starting in December 2009 and ending in December 2012. On this occasion, Professor Kazumi Inoue met and talked with Ms. Piamboon Uthaithamarat, a Japanese major who has been
awarded a scholarship to study at Kyoto Notre Dame University in the next academic year. Piamboon is the third exchange student to receive a full grant to study for one year at Kyoto Notre Dame University
 

A New Partnership with LMU (August 2009)
On August 21, 2009 the Dean, Assistant Professor Dr.Prapod Assavavirulhakarn,
signed a cooperation agreement with the Dean of the Faculty of Cultural Sciences, Professor
Dr. Walther Sallaberger, Ludwig-Maximilians Universitat Munchen (LMU), Munich,
Germany. The agreement covers both student and faculty exchanges between the two
universities.
Ludwig-Maximilians Universitat Munchen is the second largest university in Germany
with a student population of 45,000 and is ranked No.51 of the world’s top universities.
LMU is one of the leading research universities in Europe, with a history and unique
tradition going back more than 500 years. The agreement was a follow-up to our Dean’s visit
to LMU in July when he gave a special lecture to students and discussed details of the
cooperation agreement
 

สัญญากับมหาวิทยาลัยเกาหลี (มกราคม 2552)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดี ได้เซ็นสัญญาความร่วมมือกับคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย Graduate School of International Studies มหาวิทยาลัย Ewha Womans University โดยมหาวิทยาลัย Ewha Womans University จะส่งอาจารย์มาสอนภาษาเกาหลีที่สาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ ปีละ 2 คน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมิถุนายน–เดือนสิงหาคม สัญญาช่วงแรกมีระยะเวลานาน 4 ปี
มหาวิทยาลัย Ewha Womans University ก่อตั้งในปี พ.ศ 2429 ปัจจุบันมีนักศึกษา 20,000 คน เป็นมหาวิทยาลัยสตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่เด่นของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
สืบเนื่องจากความร่วมมือทางวิชาการนี้ อาจารย์ สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัย Ewha Womans University และได้รับทุนจากกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐเกาหลี ให้เข้าร่วมอบรมการสอนภาษาเกาหลีเพื่อวิชาชีพ ระหว่างวันที่ 14 - 16 มกราคม 2552  ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี