Faculty of Arts อาจารย์-บุคลากร
นิสิตปัจจุบัน
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
ศิษย์เก่า
 
Home | Download |
about us

 

 

 

 

 

หน้าแรก อาจารย์-บุคลากร  จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามมติที่ประชุมคณบดี ครั้งที่ 35/2542 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542

จรรยาบรรณ แนวปฏิบัติ
ข้อ 1. อาจารย์พึงอุทิศเวลาและเสียสละให้กับงานสอนด้วยความรับผิดชอบ 1.1 ให้เวลาแก่นิสิตอย่างเต็มที่
1.2 ให้เกียรติและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างวิญญูชน
1.3 มีจิตใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของศิษย์และผู้ร่วมงาน
1.4 ปฏิบัติต่อศิษย์แบบกัลยาณมิตร
1.5 ให้ความยุติธรรมและเสมอภาคแก่ศิษย์
1.6 จัดเตรียมการสอน จัดทำประมวลรายวิชา เข้าสอนและตรวจงานส่งคืนตามกำหนด
ข้อ 2. อาจารย์พึงสอนศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2.1 จัดการสอนเพื่อพัฒนาศิษย์อย่างมุ่งมันและตั้งใจ วางแผนและเตรียมสอนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ
2.2 พัฒนาเทคนิควิธีการสอนแปลกใหม่ แล้วนำมาใช้ ในการเรียนการสอน
2.3 มีความรับผิดชอบและปฏิบัติงานเต็มที่ไม่ทิ้งงานกลางคัน
2.4 สอนศิษย์โดยไม่ปิดบัง
2.5 สอนศิษย์โดยไม่เลือกทีีรักมักที่ชัง
ข้อ 3. อาจารย์พึงช่วยเหลือและปฏิบัติต่อศิษย์อย่างเป็นธรรม 3.1 ส่งเสริมให้อาจารย์มีความรับผิดชอบเกื้อกูลต่อศิษย์ รักษาความลับของศิษย์
3.2 สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจ ของศิษย์แต่ละคนและทุกคน
3.3 ตอบสนองข้อเสนอของศิษย์และการกระทำของศิษย์ในทาง สร้างสรรค์ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของ ศิษย์แต่ละคนและทุก คน
3.4 เสนอแนะแนวทางพัฒนาศิษย์แต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษย์
3.5 รักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจแก่ ศิษย์โดยเสมอหน้า
3.6 ละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษย์เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมของศิษย์
3.7 ละเว้นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของศิษย์
3.8 ละเว้นการกระทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณ์ จิตใจและ สังคมของศิษย์
ข้อ 4. อาจารย์พึงเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ 4.1 พึงปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างทีี่ดีสอดคล้องกับคำสอนของตนและ วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
4.2 ส่งเสริมและผดุงเกียรติแห่งความเป็นอาจารย์
4.3 ส่งเสริมความก้าวหน้าซึ่งกันและกันด้วยเหตุผลและไม่เล่นพรรคเล่นพวก
4.4 ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่อาจารย์
4.5 พูดจาสุภาพและสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นแก่ศิษย์และสังคม
4.6 พึงปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป
ข้อ 5. อาจารย์พึงหมั่นศึกษาค้นคว้า ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของตนให้ทันต่อเหตุการณ์เสมอ 5.1 มุ่งมั่นในการพัฒนาศาสตร์ของตนอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ
5.2 ใฝ่รู้อยู่เสมอ ติดตามความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็น การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต
5.3 ใฝ่หาความรู้เพิ่ือพัฒนาตนเองและงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่เสมอ
ข้อ 6. อาจารย์พึงเป็นนักวิจัยที่มีจรรยาบรรณนักวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 6.1 ซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
6.2 ตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัยตามข้อตกลงที่่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานทีี่ตนสังกัด
6.3 มีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
6.4 มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
6.5 ต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
6.6 ต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
6.7 พึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ระบุ
6.8 พึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
6.9 พึงรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ
ข้อ 7. อาจารย์พึงสร้างและส่งเสริมความสามัคคีในหมู่คณะและมีส่วนร่วม ในการพัฒนามหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม 7.1 ส่งเสริมและสร้างความสามัคคีในกลุ่มอาจารย์และนิสิต
7.2 เข้าร่วมประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ในหมู่นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัย
7.3 รักษาชื่อเสียงและประโยชน์ของมหาวิทยาลัย
7.4 ไม่พึงใช้ชื่อและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพีื่อหมู่คณะโดยมิชอบ
7.5 มีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม
7.6 เสียสละเพื่อมหาวิทยาลัยโดยส่วนรวม
7.7 ชี้แนะมหาวิทยาลัยเกีี่ยวกับวิธีพัฒนาปรับปรุงมหาวิทยาลัย
ข้อ 8. อาจารย์พึงปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อผู้อื่นสังคมและประเทศชาติ 8.1 มีความเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร และเกื้อกูลต่อผู้อื่น
8.2 เป็นผู้ชี้นำการเปลีียนแปลงด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาสังคม
8.3 ชี้นำและรับผิดชอบสังคมและสามารถชี้นำผู้ทีีอยู่ในศาสตร์อื่นมาช่วยสังคมได้
8.4 รับผิดชอบต่อความเสื่อมและความเจริญของสังคม
8.5 พึงรับใช้สังคมด้วยการสร้างสรรค์ ผลงานทางวิชาการที่ได้มาตรฐาน
8.6 เป็นผู้มีจิตสำนึก ติดตามและเฝ้ าระวังสังคมตลอดเวลา
ข้อ 9. อาจารย์ต้องซื่อสัตย์และมี คุณธรรม 9.1 ซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อศิษย์ ไม่ลอกเลียนแบบผลงานและ ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
9.2 ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผลงานที่เป็นของผู้อื่นหรือที่เป็นเจ้าของร่วมกันมาเป็นของตน
9.3 ต้องไม่แสวงประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์
9.4 ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์แก่ตนโดยมิชอบ
9.5 มีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
9.6 มีความยุติธรรม ไม่มีอคติ
ข้อ 10. อาจารย์พึงปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างกัลยาณมิตร 10.1 ยอมรับฟังความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น เปิ ดใจกว้างเพื่อพัฒนาความรู้ที่ถูกต้อง
10.2 ไม่ยกตนข่มท่านให้เกียรติให้ความนับถือเพื่อนร่วมงานทั้งสายวิชาการ และสนับสนุนทางวิชาการ
10.3 ไม่หวงวิชาแลกเปลี่ยนความรู้ในหมู่เพื่อนร่วมงานพร้อมที่จะสอนงานให้เพื่อนร่วมงานรุ่นใหม่
10.4 พึงช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นในทางสร้างสรรค์
10.5 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
10.6 ยกย่องและนับถือผู้ร่วมงาน ผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและประพฤติดี

จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงาน
วิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษา
ค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของนักวิจัย ดังนี้
1) นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ
2) นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัยตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่
สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด
3) นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย
4) นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต
5) นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย
6) นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย
7) นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ
8) นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น
9) นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

จรรยาบรรณอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน หมายถึง ประมวลความประพฤติที่อาจารย์และ
บุคลากรสายสนับสนุนพึงปฏิบัติเพื่อรักษา ส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของอาจารย์และบุคลากร
สายสนับสนุนตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด โดยอาจใช้กรอบแนวทางตามประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง
มาตรฐานของจรรยาบรรณที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษา โดยต้องยึดมั่นในหลักการ 6 ประการ คือ 1) ยึดมั่น
และยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง 2) ซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ 3) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถ
ตรวจสอบได้ 4) ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม 5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 6) ไม่ใช้อำนาจ
ครอบงำผิดทำนองคลองธรรมต่อนักศึกษา และต้องครอบคลุมจรรยาบรรณ10 ประการ คือ 1) จรรยาบรรณ
ต่อตนเอง 2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ 3) จรรยาบรรณต่อการปฏิบัติงาน 4) จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 5)
จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา 6) จรรยาบรรณต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 7) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน 8)
จรรยาบรรณต่อนักศึกษาและผู้รับบริการ 9) จรรยาบรรณต่อประชาชน และ10) จรรยาบรรณต่อสังคม

 

 
 
See Also