What your smartphone says about you

Share this story

เคยคิดบ้างไหมว่าทำไมเราจึงเป็นสาวก Apple หรือเป็นชาว Android การเลือกใช้สมาร์ทโฟนบางยี่ห้อ หรือ App บางตัว อาจบอกถึงถึงนิสัยใจคอ หรือตัวตนที่แท้จริงของเราก็เป็นได้

นักมานุษยวิทยาผู้สนใจใคร่รู้ในการศึกษาธรรมชาติมนุษย์ก้าวเข้ามาอธิบายการใช้สารสนเทศดิจิทัลของมนุษย์ ภายใต้ชื่อสาขาวิชามานุษยวิทยาดิจิทัล (Digital anthropology) Daniel Miller ศาสตราจารย์สาขามานุษยวิทยาของ University College London เพิ่งมาเยือนไทยและจัด workshop  แนะนำแนวคิดในสาขาวิชานี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา การศึกษาของ Miller ในด้านมานุษยวิทยาดิจิทัลสามารถสรุปได้หลายแง่มุม แต่ย้อนกลับมาที่ คำถามที่ว่าพฤติกรรมของเราในโลกดิจิทัลสะท้อนความเป็นตัวเราอย่างไร Miller แถลงชัดจากจุดยืนความเป็นนักมานุษยวิทยาว่า โลกดิจิทัลสะท้อนความเป็นมนุษย์ที่เราเป็นอยู่แล้ว เขาศึกษาการใช้โซเชียลมีเดีย และพบว่าคนจากใน 9 ชุมชนทั่วโลก ใช้โซเชียลมีเดียประเภทเดียวกันไปเพื่อตอบความต้องการที่ต่างกัน แต่เดิมเราคิดว่าเครื่องมือดิจิทัลนำพฤติกรรมบางอย่างมากับมันและส่งผลต่อพฤติกรรมของคนฝ่ายเดียว เช่น ทำให้คนโดดเดี่ยว หรือ สร้างความเป็นปัจเจกมากขึ้น แต่ Miller และทีมพบสิ่งตรงข้าม นั่นคือ โซเชียลสามารถตอกย้ำความเป็นวัฒนธรรมเดิม ชนชั้นทางสังคม กลุ่มก้อน ที่มีอยู่

นับเป็นเรื่องที่น่าคิด ผู้เขียนคิดว่าไม่มีสิ่งใดกระทำสิ่งใดอย่างโดดเดี่ยว เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมพฤติกรรม ค่านิยมบางอย่าง และขณะเดียวกัน เราก็ใช้มันในแบบที่เราต้องการ เครื่องมือเดียวจึงสามารถสะท้อนความหลากหลายในวัฒนธรรมได้เมื่อใช้กับกลุ่มคนต่างๆ ยกตัวอย่างของไทยที่ผู้เขียนสังเกตมานานแล้ว คือ การสื่อสารในการทำงาน เคยสงสัยไหมว่าทำงานกับคนไทย ส่งไลน์กันได้ ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว  24/7 ไม่มีวันหยุด ถ้าทำงานกับฝรั่ง ช่องทางหลักคือ อีเมลล์ และการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวมีน้อยกว่ามาก เรื่องนี้ไม่มีอะไรอธิบายได้ง่ายดายกว่าวัฒนธรรม ความเป็นเอเชียเน้นความสัมพันธ์ กลมกลืน อาจเรียกกลุ่มวัฒนธรรมแบบนี้ว่า high context culture การสร้างความสัมพันธ์ปะปนอยู่อาณาเขตของการทำงาน เรียกได้ว่าโลกทั้งสองโลกเชื่อมกันอย่างแนบแน่นมากกว่าสังคมตะวันตกที่เป็น low context culture ที่สื่อสารตามคำพูด เน้นกฎเกณฑ์ หรือถ้ามองในเชิงประวัติศาสตร์และสังคมวิทยา ค่านิยมไทยที่ปนการ ‘เล่น’ เข้ากับ ‘การทำงาน’ อย่างแยกออกได้ยาก อาจอธิบายได้จากความรักสนุก และการมีพื้นฐานจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม  เราเต้นกำรำเคียว เวลาผ่านไปเราใช้ไลน์ทำงานแทน แต่ทั้งสองพฤติกรรมอาจเกิดจากพื้นฐานที่ไม่ต่างกัน.

คราวหน้ายกมือถือขึ้นมาดู อย่าลืมลองคิดเล่นๆว่าเราเป็นคนยังไง.


Share this story

One thought on “What your smartphone says about you

  1. ประเด็นเทคโนโลยีสะท้อนวัฒนธรรมเดิมของสังคมนั้น ๆ ทำให้ผมนึกถึงที่เราใช้คำกริยาว่า “เล่น” กับ คอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต นักเรียนไทยส่วนนึงเวลาแต่งประโยคภาษาอังกฤษว่า “I play the internet.” ครูก็จะรีบบอกว่า play ไม่ได้นะเธอ ต้องใช้คำว่า use

    เรื่องนี้น่าจะสะท้อนวัฒนธรรมเดิมของเราอยู่เหมือนกันครับที่มองว่าอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะเป็นของเล่น มากกว่าใช้งานจริงจัง ทุกวันนี้เราก็ใช้อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทำงานกันมากขึ้นแล้ว ไม่รู้ว่าคำว่า “เล่น” จะหายไปไหมนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.