รายวิชาภาควิชาภาษาศาสตร์ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมเรียน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2562

รายวิชาระดับปริญญาตรี

2296200 ภาษามนุษย์ (Human Language)

นิยามของภาษาวิวัฒนาการของภาษา ลักษณะของภาษามนุษย์ มโนทัศน์พื้นฐานเกี่ยวกับเสียง ระบบเสียง ระบบคำ โครงสร้างประโยคและความหมาย การวิเคราะห์ภาษาตามแนวภาษาศาสตร์ ระบบการเขียน การเปลี่ยนแปลงของภาษา ภาษากับสังคม ภาษากับสมอง

เวลาเรียน: วันพุธ  13.00 – 16.00 น.

อาจารย์ผู้สอน: ผศ. ดร.ธีราภรณ์ รติธรรมกุล

2209379 ภาษากับเพศ (Language and Sex)

มโนทัศน์สําคัญทางภาษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของภาษากับเพศทั้งเพศสรีระเพศสภาวะและเพศวิถี การแปรของภาษาตามเพศ การใช้ภาษาเพื่อบ่งชี้เพศ การสร้างและแสดงตัวตนทางเพศผ่านภาษา บทบาทของภาษาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศในสังคม

เวลาเรียน: วันพฤหัสบดี 9.30 – 12.30 น.

อาจารย์ผู้สอน: อ. ดร.ภาวดี สายสุวรรณ

2209384 การเข้าใจภาษาธรรมชาติ (Natural Language Understanding)

พื้นฐานการพัฒนาระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ปัญหาที่พบบ่อยในการพัฒนาระบบ การสกัดความสัมพันธ์และการสร้างกราฟความรู้ หุ่นนักสนทนา และระบบการถามตอบอัตโนมัติ

Prerequisite: ทักษะการเขียนโปรแกรม และความรู้ทางด้าน NLP หรือ Machine Learning พื้นฐาน

(หมายเหตุ รายวิชาใหม่ รายละเอียดเพิ่มเติม)

เวลาเรียน: วันศุกร์ 14.00 – 17.00 น.

อาจารย์ผู้สอน: อ. ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์

รายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา

2209531 อรรถศาสตร์ (Semantics)

สัญญะและการสื่อสัญญะ ประเภทและระดับของความหมายและความกำกวม ความสัมพันธ์ระดับคำศัพท์และระดับประโยค เงื่อนไขความจริงและคำจำกัดความ การจัดประเภทและลำดับชั้นของประเภท ความหมายเชิงไวยากรณ์ ความหมายเชิงเปรียบเทียบ ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

เวลาเรียน: วันจันทร์ 13.00 – 16.00 น.

ผู้สอน: อ. ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย

2209611 ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical Linguistics)

คำอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางภาษา วิธีการทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางภาษา ประเด็นคัดสรรทางทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงประวัติ

เวลาเรียน: วันพฤหัสบดี 13.00 – 16.00 น.

ผู้สอน: ศ.กิติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์, ศ.กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ผศ. ดร.วิภาส โพธิแพทย์ และ อ. ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ (ผู้ประสานงานรายวิชา)

2209621 ทฤษฎีภาษาศาสตร์ (Linguistic Theories)

พัฒนาการของทฤษฎีภาษาศาสตร์ มโนทัศน์และหลักการของสำนักคิดต่างๆ ปัจจัยที่นำไปสู่การเสนอทฤษฎีเหล่านี้

เวลาเรียน: วันจันทร์ 9.30 – 12.30 น.

ผู้สอน: รศ. ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล

2209631 กลสัทศาสตร์ (Acoustic Phonetics)

คลื่นเสียงในลักษณะองค์ประกอบเชิงกลของระดับเสียงสูงต่ำ ความดังค่อย ความสั้นยาว และสัทสมบัติอื่นๆที่ได้ยิน ความสัมพันธ์ระหว่างกลสัทศาสตร์กับกลไกในการเปล่งเสียงและการรับรู้เสียงพูด

เวลาเรียน: วันพุธ 13.00 – 16.00 น.

ผู้สอน: อ. ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

2209654 ภาษาศาสตร์จิตวิทยา (Psycholinguistics)

ระบบการสื่อสารของมนุษย์และสัตว์อื่น ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถทางภาษาของมนุษย์ การรับภาษาของเด็ก การรับรู้ เข้าใจ และผลิตภาษา ภาวะสองภาษาและการรับภาษาที่สอง ภาษามือ กลไกในสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษา และภาษา วัฒนธรรม และปริชาน

เวลาเรียน: วันอังคาร  9.30 – 12.30 น.

ผู้สอน: ผศ. ดร.ธีราภรณ์ รติธรรมกุล

2209670 ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computational Linguistics)

แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติแบบใช้กฎ แบบอิงสถิติ และแบบเครือข่ายนิวรอล การประยุกต์ใช้งานการประมวลผลภาษาธรรมชาติในงานต่าง ๆ

เวลาเรียน: วันพฤหัสบดี  9.30 – 12.30 น.

ผู้สอน: อ. ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์