การร่วมเรียนในรายวิชาของภาควิชาภาษาศาสตร์ ภาคต้น ปีการศึกษา 2563 

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับบุคคลภายนอกเข้าร่วมเรียนในรายวิชาที่ภาควิชาฯเปิดสอนในภาคต้น ปีการศึกษา 2563 ดังต่อไปนี้

รายวิชาระดับปริญญาบัณฑิต

  • ภาษาและความคิด

รายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา

  • วากยสัมพันธ์
  • สัทศาสตร์และสัทวิทยา
  • สัมมนาสัทศาสตร์และสัทวิทยา
  • ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล
  • การเขียนโปรแกรมเพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ

บุคคลภายนอกสามารถเข้าร่วมเรียนในรายวิชาที่เปิดในหลักสูตรปกติของภาควิชาภาษาศาสตร์ได้ ภาคการศึกษาละไม่เกิน 2 รายวิชา (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชาด้านล่าง)

รูปแบบการสอน

การเรียนการสอนจะอยู่ในรูปแบบผสมผสานระหว่างการเรียนเนื้อหาออนไลน์ผ่านคลิปการสอนกับการฝึกวิเคราะห์และอภิปรายแบบ real time ในห้องเรียน หากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยหรือผู้เรียนไม่สะดวก ก็สามารถเรียนผ่านทาง video conference ช่องทางต่างๆได้ตามที่ผู้สอนกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อไป

การประเมินผล

สามารถประเมินผลการเรียนได้ 3 แบบ

  • แบบปกติ (A, B+, B, C+, C, D+, D, และ F) หรือ
  • แบบผ่านไม่ผ่าน (S/U) หรือ
  • แบบร่วมฟังบรรยายเท่านั้น (V/W)

รายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้ผลการประเมินตั้งแต่ B ขึ้นไป หรือได้ผลการประเมินเป็น S และศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี สามารถใช้ยกเว้นรายวิชาเมื่อเข้าเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาภาษาศาสตร์ได้

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

คิดค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา 11,500 บาท

กรณีที่ต้องลงทะเบียนเรียนสายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ผู้เข้าร่วมเรียนจะต้องชำระเงินค่าปรับให้สำนักทะเบียนในอัตราที่สำนักทะเบียนกำหนด

การสมัครเข้าร่วมเรียน

ผู้ประสงค์ขอเข้าร่วมเรียนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2563 (10 สิงหาคม 2563 – 16 ธันวาคม 2563) สามารถกรอกใบสมัครได้ที่ https://bit.ly/LingCU2020 ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 โปรดเตรียมเอกสารต่อไปนี้สำหรับอัพโหลดเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  • สำเนา Transcript แสดงผลการศึกษา
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • CV หรือ Resume

ภาควิชาฯ จะพิจารณาอนุมัติตามเกณฑ์ต่อไปนี้

  • ผู้สมัครสามารถมาเรียนในเวลาที่ภาควิชากำหนดได้ (ดูเวลาเรียนของแต่ละรายวิชาด้านล่าง)
  • ผู้สมัครมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเรียนวิชาที่เลือก
  • ความสนใจของผู้เรียนสอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • รายวิชาที่เลือกยังมีผู้เรียนไม่เต็มจำนวนที่กำหนดไว้

หลังจากปิดรับสมัครแล้ว ภาควิชาฯ จะแจ้งผลผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ นัดสอบสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 20-26 มิถุนายน 2563 และแจ้งผลการพิจารณาให้ท่านทราบภายในเดือนมิถุนายน 2563

รายวิชาที่เปิดรับบุคคลภายนอกเข้าร่วมเรียนในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2563

2209370 ภาษากับความคิด (Language and Mind)

ในวิชานี้เราจะพยายามตอบคำถามเกี่ยวกับกระบวนการในการเรียนรู้ เข้าใจ และผลิตภาษาของมนุษย์ เราจะศึกษาว่าความสามารถทางภาษาของมนุษย์และสัตว์เหมือนและต่างกันอย่างไร เด็กเรียนรู้ภาษาได้อย่างไร เรารับรู้เสียงพูด เข้าใจภาษา และผลิตภาษาได้อย่างไร การเรียนรู้ภาษาที่สองมีกระบวนการอย่างไร และมีปัจจัยอะไรที่สำคัญบ้าง การทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษามีธรรมชาติอย่างไร ภาษา ความคิด และวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาศาสตร์เบื้องต้นมาก่อน

เวลาเรียน: วันอังคาร  9.30 – 12.30 น.

อาจารย์ผู้สอน: ผศ. ดร.ธีราภรณ์ รติธรรมกุล

2209521 วากยสัมพันธ์ (Syntax)

ทฤษฎีการวิเคราะห์โครงสร้างประโยค วิธีการเขียนกฎทางไวยากรณ์เพื่อทำความเข้าใจภาษาอย่างถูกวิธี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการปูพื้นฐานทางภาษาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาศาสตร์มาก่อน แต่ควรมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค และสนใจทฤษฎีทางภาษาศาสตร์อย่างเจาะลึก ควรมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างประโยค และสนใจทฤษฎีทางภาษาศาสตร์อย่างเจาะลึก (สามารถดูตำราที่จะใช้ในการสอนได้ที่ https://web.stanford.edu/group/cslipublications/cslipublications/site/1575864002.shtml)

เวลาเรียน: วันพุธ  16.30 – 19.30 น.

ผู้สอน: อ. ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์

สัทศาสตร์และสัทวิทยา

ภาพรวมสัทศาสตร์ (Phonetics) เกี่ยวกับการผลิตเสียง คลื่นเสียง การรับรู้เสียง แนวคิดทฤษฎีทางสัทวิทยา (Phonology) ที่สำคัญ การวิเคราะห์ระบบเสียงและปรากฏการณ์ทางเสียงในภาษาต่าง ๆ 

เวลาเรียน: วันพฤหัสบดี  16.30 – 19.30 น

ผู้สอน: รศ. ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ และ อ. ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

สัมมนาสัทศาสตร์และสัทวิทยา

สัทวิทยาภาษาไทยทั้งจากมุมมองระบบเสียงปัจจุบันและมุมมองการเปลี่ยนแปลงของระบบเสียงข้ามกาลเวลา ประเด็นที่จะศึกษาได้แก่ การแจกแจงเชิงสถิติของหน่วยเสียง สัทสัมผัสที่อ้างอิงพยางค์ ปฎิสัมพันธ์ระหว่างวรรณยุกต์และทำนองเสียง การแปรและการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ และโครงสร้างทางสัทสัมพันธ์กับดนตรีและร้อยกรอง เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานด้านทฤษฎีและการวิเคราะห์เชิงสัทวิทยา

เวลาเรียน: วันอังคาร 13.00 – 16.00 น.

ผู้สอน: รศ. ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์

2209673 ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล (Corpus Linguistics)

การออกแบบและการสร้างคลังข้อมูลภาษา การใช้คลังข้อมูลภาษาในการวิจัยทางภาษาศาสตร์และการวิจัยวรรณกรรม เครื่องมือและวิธีการที่จำเป็นในการสร้าง ค้นคืน และวิเคราะห์คลังข้อมูลภาษา

เวลาเรียน: วันจันทร์  13.00 – 16.00 น.

ผู้สอน: รศ. ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล

2209671 การเขียนโปรแกรมเพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Programming for Natural Language Processing)

เรียนทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นด้วยภาษาไพธอน โดยเน้นให้ไปใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางภาษา ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านภาษาศาสตร์หรือการเขียนโปรแกรมมาก่อน ผู้เรียนควรมีคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปส่วนตัวที่สามารถนำมาเรียนได้ทุกครั้ง

เวลาเรียน: วันศุกร์  13.00 – 16.00 น.

ผู้สอน: อ. ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์