Faculty of Arts อาจารย์-บุคลากร
นิสิตปัจจุบัน
ผู้ที่ต้องการเข้าศึกษา
ศิษย์เก่า
 
Home | Download |
about us

 

 

 

 

 

หน้าแรก นิสิตปัจจุบัน  นิสิตปริญญาโท-เอก

ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
พ.ศ.2551 เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์

1.  คุณสมบัติของคณาจารย์บัณฑิตศึกษา
 

ประเภทคณาจารย์

ปริญญาโท

ปริญญาเอก

1. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

อาจารย์ประจำ+ ปริญญาเอก/รองศาสตราจารย์ +งานวิจัย (หลักสูตร ปริญญาเอก แบบ 1 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก  ต้องมี ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นผลงานที่ชี้ชัดว่าสามารถที่จะสนับสนุนการวิจัยของนิสิตได้)

2. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ไม่เกิน 2 คน)

อาจารย์ประจำ / ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก+ปริญญาเอก/รองศาสตราจารย์ + งานวิจัย

3. กรรมการสอบวิทยานิพนธ์

อาจารย์ประจำ + ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก + ปริญญาเอก/รองศาสตราจารย์ + งานวิจัย

4. ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์หลัก

-อาจารย์ประจำ 1 คน ให้ทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักของนิสิตหลักสูตรปริญญาโท และหลักสูตรปริญญาเอกได้ไม่เกิน 5 คน  
    เว้นแต่คณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแล้วเห็นว่า หลักสูตรใดมี อาจารย์ประจำ ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะดูแลนิสิตได้มากกว่า  5 คน อาจมอบหมายให้ อาจารย์ประจำ เป็น อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก   ของนิสิตในหลักสูตรนั้นเกินกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 10 คนได้
- จำนวนนิสิตให้นับรวมนิสิตที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน โดยเริ่มนับเมื่อโครงร่างวิทยานิพนธ์ของนิสิตได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะแล้ว


2การเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต / ดุษฎีบัณฑิต

 

1.  เกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตที่เข้าศึกษา ก่อนปีการศึกษา 2551

 

     ปริญญามหาบัณฑิต(สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2549)

 

 

- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์  จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ- หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)

 

    ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

 

      ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์  จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ และ   เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น  หรือ ในวารสารที่มีการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

 

2.  เกณฑ์การเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551

 

    ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

 

 

        บทความวิจัยจากวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

 

 

 

 

•   วารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วม กลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์  และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น หรือ   
•    วารสารทางวิชาการที่มีการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ  

 

 

 

 

1.หลักสูตรแบบ 1  ต้องเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ  อย่างน้อย 2 ฉบับ  (หลักสูตรแบบ 1 หมายถึง แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่)

 

 

 

 

2.หลักสูตรแบบ 2  ต้องเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ  อย่างน้อย 1 ฉบับ  (หลักสูตรแบบ 2 หมายถึง แผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และศึกษางานรายวิชาเพิ่มเติม)


3คณะกรรมการบริหารคณะเป็นผู้กำหนดกรอบของสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่นิสิตสามารถนำ
ผลงานวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่ได้    


4. การสอบและการส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ประจำภาคการศึกษาปลาย / ปีการศึกษา 2552

 

4.1 วันสุดท้ายของการสอบวิทยานิพนธ์

 

 

- วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553

 

4.2 วันสุดท้ายของการส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

 

 

- วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2553


5. การขอขยายเวลาการศึกษาเพื่อรอการเผยแพร่วิทยานิพนธ์

 

     นิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิตซึ่งสอบวิทยานิพนธ์ผ่านและส่งเล่มวิทยานิพนธ์ภายในกำหนดเวลา   แต่ยังรอการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ อาจขอขยายเวลาการศึกษาต่อไปได้อีกไม่เกิน 2 ภาคการศึกษา โดยให้ขยายได้ครั้งละ 1ภาคการศึกษา ในการนี้ ต้องมีหลักฐานการส่งผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ด้วย และนิสิตต้องรักษาสถานภาพการเป็นนิสิตในภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลาการศึกษา


6. การพ้นสถานภาพนิสิตจากการประเมินผลวิทยานิพนธ์

 

     - เมื่อการประเมินผลการทำวิทยานิพนธ์ในแต่ละภาคการศึกษาได้สัญลักษณ์ U ติดต่อกันสองครั้ง

 

     - ในกรณีที่มีการลาพักการศึกษาคั่นกลาง ให้ถือว่าการได้สัญลักษณ์ U สองครั้งนั้น เป็นการได้สัญลักษณ์ U สองครั้งติดต่อกัน


7. การลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์

 

     นิสิตอาจลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาได้ และเมื่อนิสิตได้ลงทะเบียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ครบจำนวนหน่วยกิตตามที่หลักสูตรกำหนดแล้ว แต่ยังทำวิทยานิพนธ์ยังไม่แล้วเสร็จ นิสิตต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิทยานิพนธ์ โดยไม่มีจำนวนหน่วยกิตและให้ชำระค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมพิเศษ (ถ้ามี)


8. โครงร่างวิทยานิพนธ์

 

     8.1. คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ

 

 

- คณะกรรมการบริหารหลักสูตรทำหน้าที่คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์

 

 

- คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นคณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เล่มหนึ่งเล่มใดโดยเฉพาะ

 

     8.2. ระยะเวลาเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์
โครงร่างวิทยานิพนธ์ + ชื่อ อาจารย์ที่ปรึกษา + คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการบริหารคณะ ภายในกำหนดเวลา ดังนี้ :-

 

 

- ปริญญาโท ภายใน 2 ปี

           - ปริญญาเอก ภายใน 3 ปี ยกเว้นหลักสูตรแบบต่อเนื่องนิสิตในหลักสูตรปริญญาเอกจะสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เมื่อใดก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์

กรณีที่มีเหตุอันจำเป็นและสมควร คณะกรรมการบริหารคณะอาจขยายกำหนดเวลาต่อไปอีก 1 ภาคการศึกษาได้


9. การเปลี่ยนแปลง อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

 

     ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร + คณะกรรมการบริหารคณะ


10. การสอบวิทยานิพนธ์

 

1. การสอบวิทยานิพนธ์ของนิสิตที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 จะกระทำได้เมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ :-

 

 

 

1) ลงทะเบียนรายวิชาครบตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร

 

 

 

2) โครงร่างวิทยานิพนธ์ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์

 

 

 

3) มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ให้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์แล้ว หรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว

 

 

2. คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

 

 

 

1) จำนวน  - ปริญญาโท จำนวน 3 - 5 คน
               - ปริญญาเอก จำนวน 5 -7 คน

 

 

 

2) องค์ประกอบ ต้องประกอบด้วย

 

 

 

 

2.1 ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือผู้ที่ประธานฯ มอบหมายเป็นประธาน

 

 

 

 

2.2 อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม กรณีนี้ให้นับเป็น 1 คน

 

 

 

 

2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างน้อย 1 คน

 

 

 

 

2.4 สำหรับ ปริญญาเอก ต้องมี อาจารย์ประจำอย่างน้อย 2 คน เป็นกรรมการสอบด้วย ส่วนปริญญาโท อาจมีอาจารย์ประจำเป็นกรรมการสอบด้วยหรือไม่ก็ได้

 

 

 

กรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ อาจแต่งตั้งกรรมการสอบให้มีจำนวนมากกว่าที่กำหนดไว้ได้

 

 

3. กรณีที่กรรมการสอบไม่สามารถเข้าร่วมสอบได้

 

 

 

ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยทำให้ประธานหรือกรรมการไม่อาจเข้าร่วมการ          สอบวิทยานิพนธ์ได้ อาจมีการจัดสอบวิทยานิพนธ์ผ่านเครือข่ายระบบสารสนเทศหรืออาจมีการประเมินวิทยานิพนธ์เป็นลายลักษณ์อักษร โดยต้องชี้แจงเหตุผลและแจ้งผลการประเมินต่อประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ล่วงหน้าก่อนเวลา  สอบวิทยานิพนธ์

 

 

4. การเปลี่ยนหัวข้อวิทยานิพนธ์ตามมติคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

 

 

 

ให้ประธานคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ แจ้งคณบดีคณะอักษรศาสตร์ เพื่อทราบ เพื่อที่คณะจะได้ดำเนินการแจ้งบัณฑิตวิทยาลัยและสำนักทะเบียนและประมวลผล ต่อไป

 

 

5. การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์

 

 

 

การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ ให้ประธานและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์มีคะแนนเสียงคนละหนึ่งเสียง ยกเว้นกรณีของ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ให้นับรวมกันเป็นหนึ่งเสียง โดยให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัย ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควรกำหนดวิธีการประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ไว้เป็นอย่างอื่น โดยต้องประกาศให้ทราบเป็นการล่วงหน้า

 

11. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

     ภาควิชา/สาขา ที่ประสงค์จะแต่งตั้ง อาจารย์ประจำหลักสูตร / ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุณาส่งแบบเสนอขอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย F-100-GS-CT18 และ F-101-GS-CT19 ให้คณะ เพื่อที่คณะจะได้ดำเนินการเสนอคณะกรรมการบริหารคณะ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และส่งให้บัณฑิตวิทยาลัย ก่อนมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ เพื่อบัณฑิตวิทยาลัยจะได้เสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อไป

 

     ทั้งนี้ ภาควิชา/สาขาวิชา สามารถดาวน์โหลด แบบเสนอขอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่ http://www.arts.chula.ac.th/form_download.htm

 

 

 

 
 
นิสิตปริญญาตรี
 
นิสิตปริญญาโท-เอก
 
See Also
(จากเว็บไซต์จุฬาฯ)