Dramatic Arts
 
 
Q:หลักสูตรศิลปการละครของอักษรศาสตร์สอนอะไรคะ?
A:ศิลปการละครที่อักษรศาสตร์เป็นหลักสูตร
อักษรศาสตร์บัณฑิต อ.บ. ซึ่งเมื่อนิสิตเลือกศึกษาเป็นวิชาเอกแล้ว จะพบว่าภาควิชา พยายามให้นิสิตได้มีการพัฒนาตนเองตามความถนัด แม้ว่าหลักสูตรจะมีความเข้มข้นในเรื่องการแสดงและการกำกับการแสดงแต่นิสิตก็สามารถฝึกฝนตนเองในสายงานที่ถนัดได้แก่ การเขียนบท  การออกแบบการแสดง การกำกับเวที  การอำนวยการผลิต

Q:มีนิสิตในภาควิชากี่คนลักษณะการเรียนการสอนเป็นอย่างไรครับ?
A:โดยทั่วไปจะมีนิสิตระดับปริญญาตรีทั้งสามชั้นปีประมาณ 40 คนทั้งนิสิตที่เลือกศึกษาเป็นวิชาเอกและวิชาโทและนิสิตระดับ ปริญญาโทไม่เกินปีละ15 คน และมีนิสิตจากหลากหลายคณะมาลงเรียนวิชาต่างๆและร่วมทำกิจกรรมกับเรามากมาย จำนวนนิสิตนั้นเหมาะสมกับลักษณะการเรียนการสอนที่เน้นให้ความสำคัญกับนิสิตเป็นรายบุคคล โดยนิสิตจะได้รับการดูแลจากอาจารย์ประจำ ที่มีความรู้เฉพาะทางทั้ง8ท่านอย่างทั่วถึงและเป็นกันเอง

Q:ลักษณะละครของภาควิชาฯเป็นอย่างไรคะ?
A:เราเห็นความสำคัญของการวางพื้นฐานให้นิสิตทุกคนเข้าใจโลกของละครได้อย่างเป็นกลางและถ่องแท้ที่สุด  ดังนั้น  การเรียน การสอนรวมถึงละครของภาควิชาจึงเน้นความหลากหลาย เพิ่อให้นิสิตได้มีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสกับแนวละครและวิธีการสื่อสาร ที่แตกต่างกันออกไปภาควิชาเน้นการเรียนรู้จาก การทำงานภาคปฏิบัติ  
ภาควิชามีละครที่กำกับโดยคณาจารย์และ/หรือศิลปินรับเชิญทุกภาคการศึกษา ในภาคปลายจะมีละครวิทยานิพนธ์ของนิสิตนิสิตจะได้ทำงานและฝึกงานในหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้องใน การสร้างและผลิตละครเวทีการฝึกงานละครเปรียบเหมือน กับห้องแลปในการทำงานเรามีละครทุกภาคการศึกษา กำกับโดยอาจารย์ ในภาควิชาหรือศิลปินรับเชิญ ทีมงานนั้นจะประกอบไปด้วยนิสิตในภาควิชาเป็นหลักรวมถึง
นิสิตอื่นๆที่สนใจและบุคคลภายนอก การทำงานนั้นมุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และละครที่มีคุณค่าในทางศิลปะ นิสิตจะมี โอกาสได้ปฏิบัติงานจริงนอกห้องเรียนตามวิชาที่ตนกำลังศึกษาลักษณะเด่นนี้ทำให้นิสิตของภาควิชาฯมีความชำนาญทั้งใน ภาคทฤษฎีและปฏิบัติ พร้อมที่จะไปทำงานจริงได้หลังจากจบการศึกษา นอกจากละครของภาควิชาแล้ว  ยังมีงานจากนิสิตเองไม่ว่าจะเป็นศิลปนิพนธ์และละครจากชมรมละครซึ่งนิสิตจะเป็นผู้ควบคุมกระบวนทุกอย่างเองทั้งหมดและเปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่ผลงานของนิสิตเองก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีเสมอ

Q:บัณฑิตที่จบไปแล้วทำอะไรกันบ้าง?
A: จากสถิติการรวบรวมข้อมูลของบัณฑิตของภาควิชา ผู้จบการศึกษา สามารถเข้าทำงานที่ตรงกับสิ่งที่ฝึกฝนมา งานส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง นักเขียนบท นักแสดงผู้กำกับการแสดง ผู้กำกับเวที ฝ่ายอำนวยการแสดง การออกแบบขสร้างสรรค์ ในสาย การศึกษา มีบัณฑิต ได้เป็นอาจารย์ และฝึกโคชการแสดงหรือเป็นครูสอนด้านการแสดง หรือบางคนก็เอาประสบการณ์จากการเรียน ไปใช้ประโยชน์ในสาขาอาชีพอย่างกว้างขวาง

Q:ผมต้องทำอย่างไรถ้าอยากเข้าเรียนภาควิชานี้ครับ ผมต้องออดิชั่นหรือเอาผลงานมา
ให้ดูหรือเปล่า?
A: ปัจจุบันการรับนิสิตเข้าภาควิชาศิลปการละครนั้นยังคงใช้ระบบรับตรง คือผู้ที่สนใจต้องสอบเข้ามาในคณะอักษรศาสตร์ก่อน  และเลือกสาขาวิชาเอกได้ตอนปี2  ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณารับนิสิตเอกศิลปการละครคือต้องได้เกรดวิชาFund Act   ไม่ต่ำกว่า B และได้เกรดวิชา Theater Productionไม่ต่ำกว่า C ดังนั้นผู้ที่สนใจจะเข้าเอกศิลปการละครควรจะลงเรียนวิชาดังกล่าว ตั้งแต่ปีที่1 ภาควิชาไม่มีการออดิชั่นเพื่อรับนิสิตเข้าเรียนเป็นวิชาเอกแต่อย่างใด นิสิตไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านการละครมาก่อน

Q:ถ้าหนูสนใจด้านการออกแบบแต่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนเลยจะสามารถเรียนตามเพื่อนทันไหมคะ?
A:สิ่งสำคัญที่เราเน้นในการเรียนการสอนคือความสามารถในการคิด สร้างสรรค์งาน ดังนั้นส่วนอื่นๆจึงเป็นเพียงเครื่องมือในการบรรลุถึงจุดมุ่งหมายให้ได้อาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็น
ผู้ปูพื้นฐานและบ่มเพาะให้นิสิตสามารถสร้างงานที่สื่อสารความคิดของ ตนเองออกมาได้อย่างชัดเจน 

Q:หนูชอบละครมากเลยค่ะ แต่หนูไม่แน่ว่าจะยึดเอาละครเป็นอาชีพได้หรือเปล่า หนูควรเรียนละครไหมคะ?
A:ควรจะลองพิจารณาดู เพราะที่นี่สอนให้ผู้เรียนมองโลกอย่างสร้างสรรค์ เข้าใจและใฝ่รู้ ถึงแม้ว่าเราจะสอนวิชาชีพด้านการละครแต่ก็เราก็เป็นสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์ที่สอนให้ผู้เรียนรู้จักตัวเองและโลกรอบๆตัวของเขาไปพร้อมๆกันด้วย ดังนั้นบัณฑิตย์ของ เราจะก้าวออกไป พร้อมที่จะไปทำงานในหลากหลายวิชาชีพไม่ใช่เพียงแค่ละครเพียงอย่างเดียว
 
Q:เอกละครต้องเรียนวิชาอะไรบ้างฮะ?
A:นิสิตเอกละครมีวิชาบังคับคือ
•	หลักของการแสดง    (Principal of Acting) 
•	การวิเคราะห์บทละคร (Play Analysis) 
•	การแสดง 1 (Acting I) 
•	การกำกับการแสดง 1 (Directing I) 
•	ภาพและเสียงในละครเวที (Sight and Sound in Theatre) 
•	งานด้านฉากและเวที (Stagecraft) 
•	การจัดแสดงและจัดการละครเวที (Theatre Production and Management) 
•	ประวัติการละคร 1 (History of Theatre I) 
•	ประวัติการละคร 2 (History of Theatre II) 
•	การฝึกงานละคร 1 (Theatre Practicum I) 
•	การกำกับเวที (Stage Management) 
•	ปฏิบัติงานละคร (Theatre Workshop) 
•	การฝึกงานละคร 2 (Theatre Practicum II) 
จะเห็นว่าหลักสูตรได้พยายามให้นิสิตมีความรู้ด้านศิลปะการละครในทุกแขนก่อน เพื่อให้นิสิตสามารถเลือกสายวิชา
ที่ตนถนัดและมีความสนใจต่อไปได้

Q:แล้วมีวิชาอื่นๆให้เลือกเรียนอีกบ้างไหมคะ?
A:นิสิตมีวิชาอื่นๆให้เลือกเรียนอีกมากมายตามความสนใจและความถนัดของแต่ละคนซึ่งแต่ละสายวิชานั้นจะมีจำนวนคอร์ส ให้ต่อยอดลงลึกไปอีกหลายคอร์สด้วยกัน (ดูรายละเอียดหลักสูตร)

Q:อาจารย์ผู้สอนเป็นใครกันบ้างคะ เป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ?
A:วิชาส่วนใหญ่สอนโดยอาจารย์ประจำของภาควิชาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านศิลปการละครในระดับแนว หน้าของประเทศไทยนอกจากงานทางด้านวิชาการแล้วทุกท่านยังคงสร้างสรรค์งานด้านศิลปการละครด้วยตนเองอย่างไม่หยุดยั้งดังนั้นคณาจารย์ทั้งหลายจึงมีความเข้าใจในวิถีทางที่ลูกศิษย์กำลังดำเนินอยู่เป็นอย่างดี (ข้อมูลคณาจารณ์ในภาควิชาฯ)

Q:”แหวกม่านละคร” คืออะไรครับ?
A:แหวกม่านละครเป็นส่วนหนึ่งของวิชา Theatre Production โดยนิสิตจะได้เรียนรู้กระบวนการผลิตในฐานะผู้อำนวยการผลิต ซึ่งในแต่ละภาคการศึกษานิสิตจะทำการอำนวยการสร้างงานแหวก ม่านละครดยเป็นการนำเอาผลงานของนิสิตในวิชาอื่นๆ มารวบรวมนำเสนอต่อบุคคลภายนอกรวมถึงนิสิตชั้นปีที่1และนักเรียนระดับมัธยมที่มีความสนใจที่เข้าเรียนในภาควิชาด้วย 

Q:ที่นี่ทำMusicalไหมฮะ?
A:ภาควิชาฯผลิตละครเพลงมาแล้วหลายเรื่อง และมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับละครเพลงอยู่หลายวิชาเช่น
วิชาการขับสำหรับละครเวทีวิชา Musical Theatre วิชาการเคลื่อนไหวบนเวทีเป็นต้น วิชาเหล่านี้มักได้รับความสนใจจากนิสิตจากต่างคณะมากพอสมควร

Q:โรงละครที่กำลังสร้างอยู่จะเป็นอย่างไรคะ?
A:โรงละครแห่งใหม่ของเราเป็นโรงละครBlack Box มีขนาด   จุคนได้ประมาณ คน เป็นโรงละครมาตรฐานสากลประกอบไปด้วย ห้องแต่งตัว, ห้องสร้างและเก็บฉาก, ห้องตัดเย็บและเก็บเสื้อ,ห้องอุปกรณ์ประกอบฉากและห้องซ้อม3 ห้องด้วยที่ตั้งที่อยู่ใจ กลางเมืองและมาตรฐานของโรงละครึงน่าจะทำให้โณงละคร ของภาควิชาศิลปการละครเป็นโรงละครที่พร้อมจะอำนวยความ สะดวกแก่ผู้สร้างสรรค์งานและผู้ชมได้อย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ 

Q:มีทุนการศึกษาไหมคะ?
A:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีทุนการศึกษาให้แก่นิสิตเป็นจำนวนมาก โดยมีข้อกำหนดของคุณสมบัติแตกต่างกันไป นิสิตสามารถแจ้งความจำนงในการขอรับทุนการศึกษาได้จากอาจารย์ที่ปรึกษาได้โดยตรงหรือติดต่อสำนักทะเบียนของคณะอักษรศาสตร์

Q:ถ้าอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมจะต้องทำอย่างไรครับ?
A:นอกจากข้อมูลในเว็ปไซต์แล้ว สามารถโทรมาสอบถามได้ที่022484802 หรืออีเมล์มาที่ :Linkwebmaster’s e-mail
http://www.arts.chula.ac.th/~acts/bachelordegree.htmlhttp://www.arts.chula.ac.th/~acts/teachers.htmlshapeimage_3_link_0shapeimage_3_link_1