Author

Thasanee Makthavornvattana

Title

The speech act of apologizing in Thai / Thasanee Makthavornvattana

Date

1998

   

Location

CL thesis

Source

152 leaves : charts

Abstract

To investigate apologizing strategies in Thai and the relationship between these strategies and offense weightiness. The data on which the analysis is based are collected from 50 Thai speakers of various occupational backgrounds, using discourse completion test. It is found that there are five apologizing strategies in Thai, namely using explicit expression of apology, accepting blames, giving excuses, offering repairs, and effots to please the addressee. The strategy with highest frequency is the use of explicit expression of apology, whoreas giving excuses, especially the blaming of others, is found least. The speech act of apologizing clearly illustrates an important aspect of Thai culture. Thai people give more significance to the addressee's feeling than paying attention to the speaker's own face. Contrary to expectation, speakers use similar strategies, no matter how serious offenses are. In other words, apologizing strategies do not correlate with offense weightiness, which is a sum of distance between speaker and addressee, power (in this case, social status) of the speaker and addressee, and ranking of imposition. Distance and power are found to play a greater role on the type of strategy than ranking of imposition. It is also found that although offenses carry more weight, it does not necessarily mean that the speaker has to choose more complex strategies consisting of several strategies combined. The analysis is confirmed statistically. There are no significant differences which support the hypothesis that there is a relationship between types or complexity of strategies and offense weightiness

 

ศึกษากลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทย และความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีดังกล่าวกับน้ำหนักความผิด ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจาก การตอบแบบสอบถามชนิดเติมเต็มบทสนทนา (DCT) ของกลุ่มตัวอย่างคนไทยหลากหลายอาชีพที่อยู่ในสังคมไทย จำนวนทั้งสิ้น 50 คน ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษในภาษาไทยแบ่งเป็น 5 กลวิธีใหญ่ๆ ได้แก่ การกล่าวคำแสดงเจตนาในการขอโทษ การยอมรับผิด การกล่าวแก้ตัว การเสนอชดใช้ และการพยายามทำให้ผู้ฟังรู้สึกพอใจ โดยการกล่าวคำแสดงเจตนาในการขอโทษเป็นกลวิธีที่ผู้พูดนิยมใช้มากที่สุด ส่วนกลวิธีการกล่าวแก้ตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตำหนิผู้อื่น พบการใช้น้อยที่สุด การแสดงวัจนกรรมการขอโทษเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นลักษณะที่สำคัญของวัฒนธรรมไทยว่า ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของผู้ฟังมากกว่าการคำนึงถึงหน้าของผู้พูด ผู้วิจัยพบว่าเมื่อกระทำผิดในทุกน้ำหนักความผิด ผู้พูดนิยมใช้กลวิธีที่คล้ายคลึงกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ กล่าวคือน้ำหนักความผิดซึ่งเป็นค่าผลรวมของความสนิทสนมคุ้นเคย ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง อำนาจของผู้ฟังเมื่อเทียบกับผู้พูด (ในที่นี้คือสถานภาพทางสังคมของผู้ฟังเมื่อเทียบกับผู้พูด) และอัตราการล่วงเกินของเหตุการณ์ที่เป็นความผิด ไม่มีผลต่อการแสดงวัจนกรรมการขอโทษ โดยจากผลการวิจัยพบว่าความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง และอำนาจของผู้ฟังเมื่อเทียบกับผู้พูด มีผลต่อการแสดงวัจนกรรมการขอโทษ มากกว่าอัตราการล่วงเกินของเหตุการณ์ที่เป็นความผิด นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อกระทำผิดที่มีน้ำหนักความผิดมาก ผู้พูดไม่จำเป็นต้องใช้กลวิธีที่ซับซ้อนมากกว่า เมื่อกระทำผิดในสถานการณ์ที่มีน้ำหนักความผิดน้อยเสมอไป ทั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการทางสถิติที่พบว่า การแปรของกลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษ และความซับซ้อนของกลวิธีแสดงวัจนกรรมการขอโทษ ที่ผู้พูดใช้เมื่อกระทำผิดที่มีน้ำหนักความผิดแตกต่างกัน มีความต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Note

Typescript (photocopy)

 

Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1998

Subject(s)

Speech acts (Linguistics)

 

Apologizing

Alt author

ทัศนีย์ เมฆถาวรวัฒนา

 

Krisadawan Hongladarom, advisor

 

Chulalongkorn University. Linguistics

ISBN

9743317635