Author

Thanapat Sairhun

Title

English refusal strategies in Thai learners of English as a foreign language : a study of pragmatic transfer / Captain Thanapat Sairhun

Date

1999

   

Location

CL thesis

Source

187 leaves : charts

Abstract

To investigate the pragmatic transfer of the refusal strategies by Thai learners of English. Based on a discourse completion test, the data were collected from 50 American students and 50 Thai students. It is found that the Thais' refusal strategies differ significantly from those employed by the Americans, Thai students resorted to indirectness and hedging when they refused requests and offers. American students, on the other hand, preferred directness. The Thais also used the expression "That's OK./alright." or "I can do it myself." in greater quantity than the Americans. In addition, they often used intensifiers such as 'really' and 'greatly' in their apologies and thanks, whereas the Americans hardly did so. In terms of pragmatic transfer, it is found that the Thai learners of English performed the speech act of refusing in English in a similar manner as when they performed the same speech act in their native tongue. They employed the following strategies whic were not found in the American corpus : (1) using intensifiers in apologies, (2) hedging, (3) using the pattern "yes, but..." in expressing positive remarks, (4) giving reasons based on family and personal matters, (5) using intensifiers in thanks and (6) admonishing employees. In addition, it is found that social status played an important role in refusals in Thai and in English used by the Thai students. When the refusers were lower in social status, they tended to give reasons and employed such strategies as hedging, apologizing and expressing positive remarks. Social status seemed to influence the strategic choices made by the American students in a lesser extent than those made by the Thai students

 

ศึกษาการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ของกลวิธีการปฏิเสธ ของนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการตอบแบบสอบถาม ที่เป็นการเติมข้อความที่เว้นว่างไว้ในบทสนทนาให้สมบูรณ์ (DCT) ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาอเมริกันและนักศึกษาไทย จำนวนกลุ่มละ 50 คน ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการปฏิเสธของนักศึกษาไทย มีความแตกต่างจากกลวิธีการปฏิเสธของนักศึกษาอเมริกัน กล่าวคือ นักศึกษาไทยนิยมใช้กลวิธีการปฏิเสธแบบอ้อม และใช้คำกล่าวแสดงความลังเลในการปฏิเสธการขอร้องและการปฏิเสธข้อเสนอ ในขณะที่นักศึกษาอเมริกันมักใช้การปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้นักศึกษาไทยนิยมใช้คำกล่าวแสดงว่า ไม่เป็นปัญหา เช่น "ไม่เป็นไร" หรือ "ทำเองได้" ในการปฏิเสธข้อเสนอมากกว่านักศึกษาอเมริกัน และยังพบว่า นักศึกษาไทยให้ความสำคัญกับการเพิ่มความหนักแน่น ในคำกล่าวขอโทษและขอบคุณมากกว่านักศึกษาอเมริกัน ส่วนการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติศาสตร์นั้น ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ แสดงการปฏิเสธในภาษาอังกฤษคล้ายคลึงกับที่ใช้ในภาษาแม่ของตน ซึ่งแตกต่างจากที่นักศึกษาอเมริกันใช้ลักษณะดังกล่าวได้แก่ (1) การนิยมเพิ่มความหนักแน่นในคำกล่าวขอโทษ (2) การนิยมใช้คำกล่าวแสดงความลังเล (3) การใช้รูปแบบ "ได้ แต่..." ในคำกล่าวแสดงความเห็นเชิงบวก (4) การใช้คำกล่าวให้เหตุผล โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว (5) การนิยมเพิ่มความหนักแน่นในคำกล่าวขอบคุณ และ (6) การใช้คำกล่าวตักเตือนลูกจ้าง นอกจากนี้ยังพบว่า สถานภาพทางสังคมระหว่างผู้ปฏิเสธกับผู้ขอร้อง หรือผู้ให้ข้อเสนอนั้น มีบทบาทต่อการเลือกใช้กลวิธีการปฏิเสธของนักศึกษาไทย ทั้งในปริบทภาษาแม่และปริบทภาษาอังกฤษ เช่น เมื่อผู้ปฏิเสธมีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่าคู่สนทนา นักศึกษาไทยมักเลือกใช้คำกล่าวให้เหตุผล คำกล่าวแสดงความกังวล คำกล่าวขอโทษ และคำกล่าวแสดงความเห็นเชิงบวกมากขึ้น ในขณะที่สถานภาพทางสังคมนี้จะมีบทบาทไม่มากนัก ต่อการเลือกใช้กลวิธีการปฏิเสธของนักศึกษาอเมริกัน

Note

Typescirpt (photocopy)

 

Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1999

Subject(s)

Speech acts (Linguistics)

 

English -- Usage

Alt author

ธนพรรษ สายหรุ่น

 

Krisadawan Hongladarom, advisor

 

Chulalongkorn University. Linguistics

ISBN

9743347011