Author

Kanjana Jaroenkiatboworn

Title

Relationship between language and point of view in Thai newspaper's coverage on Wat Phra Dhammakaya / Kanjana Jaroenkiatboworn

Date

2000

   

Location

CL thesis

Source

135 leaves

Abstract

This thesis is a study of the relationship between language and point of view in Thai newspaper's coverage on Wat Phra Dhammakaya. It is based on the idea that language is a tool for representing reality. Linguistic choices have an influence onthe nature of representation. It conveys attitudes and opinions of language users on what they are speaking or writing. The objectives of this study are to explore which linguistic strategies are associated with negative attitudes and to analyze the negative points that Thai newspapers have on Wat Phra Dhammakaya. The data are news articles from 5 Thai newspapers; Thai Rath, Daily News, Khao Sod, Matichon and Siam Rath. The study shows that there are 8 linguistic strategies. Four of them are semantic ones-namely naming, presupposition manipulation, metaphor, and lexical selection. The other four are discursive strategies consisting of epistemic modalization, interpretation, quoting other sources, and use of punctuation marks and font sizes. The linguistic strategies adopted inthe texts project 7 negative points on Wat Phra Dhammakaya; cheating, trickery, being another belief group who is dangerous to mainstream Buddhism, challenging the leader of Sanga, challenging state power, challenging the king, and engaging in a sexual scandal. In general, Thai newspapers consider Wat Phra Dhammakaya as a group of people who is dangerous to society and Buddhism. Wat Phra Dhammakaya is not only destroying the traditional Buddhist teaching, but also challenging the main institution in Thai society. The study shows not only the relationship between language and negative viewpoint on Wat Phra Dhammakaya, but also shows that language use has strong connection with social contexts and has psychological influence on the people in a society

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับมุมมองในข่าววัดพระธรรมกายที่เสนอในหนังสือพิมพ์ไทย โดยมีความคิดพื้นฐานที่ว่า ภาษาเป็นเครื่องมือสร้างภาพแทนความจริง การเลือกใช้รูปแบบทางภาษาหรือวิธีการทางภาษาอย่างใดอย่างหนึ่งมีผลต่อภาพแทนที่ได้ และเป็นการสื่อให้เห็นถึงทัศนคติและความคิดเห็นที่ผู้ใช้ภาษามีต่อสิ่งที่เขากำลังพูด/เขียนถึง โดยเลือกศึกษาจากหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 5 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน และสยามรัฐ เพื่อศึกษาว่าหนังสือพิมพ์มีกลวิธีทางภาษาแบบใดบ้างที่แฝงไว้ด้วยทัศนคติในด้านลบต่อวัดพระธรรมกายและวิเคราะห์ประเด็นที่หนังสือพิมพ์มีมุมมองทางลบต่อวัดพระธรรมกาย ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการกล่าวถึงวัดพระธรรมกายในทางลบมีทั้งสิ้น 8 กลวิธี แบ่งออกเป็นกลวิธีทางความหมาย 4 กลวิธี ได้แก่ การให้สมญา การใช้ความเชื่อเบื้องต้นเป็นเครื่องมือ การใช้อุปลักษณ์ และการเลือกใช้คำศัพท์ และอีก 4 กลวิธี เป็นกลวิธีทางปริจเฉท ได้แก่ การประเมินตามความเชื่อมั่น การตีความ การอ้างคำกล่าวบุคคลอื่น และการใส่เครื่องหมายและขนาดตัวอักษร กลวิธีทางภาษาดังกล่าวสื่อประเด็นทางลบต่อวัดพระธรรมกายทั้งสิ้น 7 ประเด็น ได้แก่ การฉ้อโกง การมีเล่ห์เหลี่ยม การเป็นกลุ่มความเชื่ออย่างอื่นที่เป็นภัยต่อพุทธศาสนา การท้าทายประมุขสงฆ์ การท้าทายอำนาจรัฐ การท้าทายพระมหากษัตริย์ และเรื่องชู้สาว โดยภาพรวมแล้ว หนังสือพิมพ์เห็นว่าวัดพระธรรมกายเป็นกลุ่มคนที่เป็นอันตรายต่อทั้งสังคมและพุทธศาสนา วัดพระธรรมกายไม่เพียงทำลายหลักคำสอนเดิมในพุทธศาสนา แต่ยังชอบท้าทายสถาบันสำคัญๆ ในสังไทย ผลการวิจัยที่ได้ไม่เพียงทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับมุมมองทางลบที่หนังสือพิมพ์มีต่อวัดพระธรรมกาย แต่ยังชี้ให้เห็นว่าการใช้ภาษามีความเกี่ยวข้องกับปริบททางสังคมเป็นอย่างยิ่ง และมีบทบาทในแง่จิตวิทยาแก่คนในสังคม

Note

Typescript (photocopy)

 

Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2000

Alt author

?าญจนา เจริญเกียรติบวร

 

Krisadawan Hongladarom, advisor

 

Chulalongkorn University. Linguistics

ISBN

9743461779