Author

PHINNARAT AKHARAWATTHANAKUN  

Title

TONE CHANGE: A CASE STUDY OF THE LAO LANGUAGE.

Date

2003

 

Abstract

This research studies the tones of several varieties of Lao with the idea of proposing three Lao subgroups: Pure Lao, Deviant Lao, and Adopted Lao. The difference in tones between Pure Lao and Deviant Lao is investigated in order to reconstruct the Lao proto-tonal system. Hypotheses on tone change as well as the factors motivating such changes will then be set forth. Tone data for Lao dialects spoken as majority and minority dialects around Thailand and the Thailand-Lao PDR border have been collected. Other sources of possible interference are sought in the tones of the other languages spoken in the same areas. Twenty-seven villages around Thailand were selected as study locations. The data were collected from 239 informants: 162 Lao native speakers and 77 speakers of other languages, including Kaloeng, Yooy, Suai/Suai Lao/Suai Isan, Phuan, Muang/Kham Muang/Yuan/Tai Yuan, Lue/Tai Lue, and Central Thai.

Two word lists were used to study the tones of the Lao dialects. The first word list consists of 80 test words from a modification of Gedney’s word list. The second word list consists of 20 monosyllabic words from the analogous set; /khaa24/ ‘ขา’, /paa33/ ‘ปา’, /baan33/ ‘บาน’, /khaa33/ ‘คา’, /khaa21/ ‘ข่า’, /paa21/ ‘ป่า’, /baa21/ ‘บ่า’, /khaa42/ ‘ค่า’, /khaaw42/ ‘ข้าว’, /paa42/ ‘ป้า’, /baa42/ ‘บ้า’, /khaa453/ ‘ค้า’, /khaat21/ ‘ขาด’, /paat21/ ‘ปาด’, /baat21/ ‘บาด’, /khaat42/ ‘คาด’, /khat21/ ‘ขัด’, /pat21/ ‘ปัด’, /bat21/ ‘บัตร’, /khat453/ ‘คัด’. The words from the analogous set include five tokens of each test word arranged in random order so that there are 100 test words altogether (20 words X 5 repetitions = 100 test words). Thus, the tone data in this study are 180 test words from each informant. The words were elicited from the informants and recorded onto tape. The tone data in this study were analyzed in two ways: The tonal mergers and splits were determined by ear, and the tonal characteristics were analyzed with the SIL CECIL program.

The findings here reveal that the ethnic names or language names as well as the history of migration and the development of tones can be used as the criteria to subgroup the Lao language into four subgroups; Pure Lao 1, Pure Lao 2, Deviant Lao, and Adopted Lao. The distinctive patterns of tonal mergers and splits of Pure Lao 1 are B1234, C1=DL123/C234=DL4 (“Lao ladder”), and B¹DL. The tones in Pure Lao 2 are found to be similar to the ones in Pure Lao 1 but there are variations. In Deviant Lao there are many tone variations and changes, and some tonal patterns are similar to the ones in the surrounding languages. Pure Lao 1, Pure Lao 2, and Deviant Lao are considered to be in the Lao group, while Adopted Lao is not. Confusion between ethnic names and tonal systems is found in Adopted Lao.

The patterns of tonal mergers and splits in Proto-Lao are *A1-23-4, *B1234, *C1-234, and *D123-4. There are no mergers between tone C and D in Proto-Lao (C1¹D123/C234¹D4). Eight tones are hypothesized to be in the Proto-Lao tonal system, i.e., T.1 (*A1) rising1 [R1], T.2 (*A23) rising 2 [R2], T.3 (*A4) rising 3 [R3], T.4 (*B1234) level [L Û], T.5 (*C1) falling with laryngealization  1 [F1?], T.6 (*C234) falling with laryngealization 2 [F2?], T.7 (*D123) falling 3 [F3], and T.8 (*D4) falling 4 [F4]. Tonal variations and changes in both majority and minority Lao induced by both internal and external factors. Tonal interference, pronunciation borrowing or accentual borrowing are found as the important factors leading to variation and change. The variations and changes induced by an internal factor are suspected to have been caused by simplification from more marked tones to less marked tones. It can be concluded that variation and change can occur not only in dialects of the minority, but also of the majority. It is not necessarily so that in dialects in contact situations, the dialects of the minority are influenced to a higher degree than the dialects of the majority. In addition, it is hypothesized that various patterns of tonal mergers and splits may be found in Lao dialects in the future, especially C1¹DL123, C234¹DL4, or B=DL. Thus, the mergers and splits, B1234, C1=DL123/C234=DL4, and B¹DL may not be the distinctive patterns of the Lao language any more.

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ความแตกต่างของวรรณยุกต์ในภาษากลุ่ม “ลาวแท้” และกลุ่ม “ลาวกลาย” เพื่อจำแนกกลุ่มย่อย และเปรียบเทียบวรรณยุกต์ในภาษากลุ่ม “ลาวแท้” และกลุ่ม “ลาวกลาย” กับวรรณยุกต์ในภาษาอื่น ๆ ที่พูดอยู่รอบข้าง รวมทั้งสืบสร้างวรรณยุกต์ของภาษาลาวดั้งเดิมเพื่อเป็นแนวทางในการสันนิษฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ในภาษาลาวและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลวรรณยุกต์จากภาษากลุ่มใหญ่ ๆ 3 กลุ่ม      ได้แก่ 1) ภาษาลาวที่พูดในฐานะภาษาของชนกลุ่มใหญ่ 2) ภาษาลาวที่พูดในฐานะภาษาของชนกลุ่มน้อย และ 3) ภาษาของชน กลุ่มอื่น ๆ ที่พูดอยู่รอบข้างภาษาลาว จุดเก็บข้อมูลในงานวิจัยนี้รวมทั้งสิ้นมี 27 จุดกระจายตามบริเวณต่าง ๆ ของประเทศไทย ผู้บอกภาษาในงานวิจัยนี้มีทั้งสิ้น 239 คน เป็นผู้พูดภาษาลาวจำนวน 162 คน ได้แก่ ผู้พูดภาษาลาวที่อพยพจากสปป.ลาว  ภาษาลาวอีสานถิ่นต่าง ๆ  ภาษาลาวถิ่นอื่น ๆ และภาษาลาวที่พูดในสปป.ลาว  ผู้บอกภาษาที่เป็นชนกลุ่มอื่น ๆ มีจำนวน 77 คน ได้แก่ ผู้พูดภาษากะเลิง โย้ย ผู้ไท ส่วย/ส่วยลาว/ส่วยอีสาน พวน ญ้อ เมือง/คำเมือง/ยวน/ไทยวน  ลื้อ/ไทลื้อ  และไทยกลาง 

 

รายการคำสำหรับเก็บข้อมูลในงานวิจัยนี้มี 2 ชุด ชุดที่ 1 เป็นรายการคำสำหรับทดสอบเสียงวรรณยุกต์ของเก็ดนีย์ (Gedney, 1972) ที่เพิ่มจำนวนคำตามความเหมาะสมเป็นจำนวน 80 คำ และชุดที่ 2 เป็นรายการคำชุดเทียบเสียงคล้าย (analogous set) จำนวน 20 คำ ได้แก่ ขา ปา บาน คา ข่า ป่า บ่า ค่า ข้าว ป้า บ้า ค้า ขาด ปาด บาด คาด ขัด ปัด บัตร คัด ให้   ผู้บอกภาษาออกเสียงคำละ 5 ครั้ง รวมคำในรายการทั้งสิ้น 180 คำ การวิเคราะห์ข้อมูลมีวิธีการ คือ วิเคราะห์ระบบวรรณยุกต์ด้วยการฟัง และวิเคราะห์สัทลักษณะของวรรณยุกต์ด้วยวิธีการทางกลสัทศาสตร์

 

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สามารถใช้เกณฑ์คำเรียกชื่อกลุ่มชนหรือชื่อภาษา และประวัติการอพยพ ประกอบกับเกณฑ์การพัฒนาของเสียงวรรณยุกต์จำแนกภาษาลาวออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ ภาษาลาวแท้กลุ่มที่ 1 ลาวแท้กลุ่มที่ 2 ลาวกลาย และลาวเทียม ภาษาลาวแท้กลุ่มที่ 1 มีลักษณะการแยกเสียงรวมเสียงแบบ B1234 C1=DL123/ C234=DL4 (“บันไดลาว”) และ B¹DL ส่วนภาษาลาวแท้กลุ่มที่ 2 มีการแยกเสียงรวมเสียงคล้ายกับภาษาลาวแท้กลุ่มที่ 1 แต่มีการแปรของวรรณยุกต์เกิดขึ้น ภาษาลาวกลายมีวรรณยุกต์คล้ายกับภาษาลาวแท้กลุ่มที่ 1 เช่นกัน แต่มีลักษณะอื่นที่คล้ายกับวรรณยุกต์ในภาษาของชนกลุ่มอื่นรอบข้างเพิ่มเข้ามา ทั้งภาษาลาวแท้กลุ่มที่ 1 ลาวแท้กลุ่มที่ 2 และลาวกลายจัดเป็นภาษากลุ่มลาว แต่ภาษาลาวเทียมไม่ใช่ภาษากลุ่มลาว เนื่องจากมีลักษณะทางภาษาและชื่อเรียกกลุ่มชนไม่     สอดคล้องกันอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าภาษานั้น ๆ เป็นภาษากลุ่มลาว

 

วรรณยุกต์ในภาษาลาวดั้งเดิมมีลักษณะการแยกเสียงรวมเสียงในแนวตั้ง คือ *A1-23-4 *B1234 *C1-234 *D123-4 และไม่มีการรวมเสียงวรรณยุกต์ C กับ D (C1¹D123/C234¹D4) ภาษาลาวดั้งเดิมมีวรรณยุกต์จำนวน 8 หน่วยเสียง ได้แก่ ว.1 (*A1) เป็นเสียงขึ้นที่ 1 [R1] .2 (*A23) เป็นเสียงขึ้นที่ 2 [R2] . 3 (*A4) เป็นเสียงขึ้นที่ 3 [R3] .4 (*B1234) เป็นเสียงระดับ [L Û] .5 (*C1) เป็นเสียงตกที่ 1 มีเสียงกักที่เส้นเสียง [F1?] .6 (*C234) เป็นเสียงตกที่ 2 มีเสียงกักที่เส้นเสียง [F2?] .7 (*D123) เป็นเสียงตกที่ 3 ไม่มีเสียงกักที่เส้นเสียง [F3] และ ว.8 (*D4) เป็นเสียงตกที่ 4 ไม่มีเสียงกักที่เส้นเสียง [F4] เมื่อวิเคราะห์การแปรและการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ในภาษาลาวพบว่า ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ในภาษาลาว คือ การสัมผัสภาษาโดยมีกระบวนที่สำคัญ ได้แก่  การแทรกแซงภาษา การ “ยืมวรรณยุกต์” หรือ “ยืมการออกเสียง” และมีปัจจัยภายใน ได้แก่ การออกเสียงวรรณยุกต์ให้ง่ายขึ้น  ในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษาถิ่นหรือการสัมผัสภาษา การแปรและการเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเพียงในภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาของชนกลุ่มใหญ่เท่านั้น แต่ภาษาของชนกลุ่มใหญ่ก็อาจแปรหรือเปลี่ยนแปลงตามภาษาของชนกลุ่มน้อยได้เช่นกัน ในงานวิจัยนี้ได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า ภาษาลาวในอนาคตอาจมีวรรณยุกต์หลากหลายรูปแบบแตกต่างจากภาษาลาวในปัจจุบัน โดยเฉพาะการแยกเสียงวรรณยุกต์แบบ C1¹DL123 หรือ C234¹DL4 หรือการรวมเสียงแบบ B=DL ดังนั้นในอนาคตลักษณะการแยกเสียงรวมเสียงแบบ B1234  C1=DL123/C234=DL4 และ B¹DL อาจไม่ใช่ลักษณะเด่นของภาษาลาวอีกต่อไป

Note

Typescript (photocopy)

 

Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2003

 

THERAPHAN LUANGTHONGKUM, advisor. PRANEE  KULLAVANIJAYA,  co-advisor