กิจกรรมสัมมนาความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ภาคต้น ปีการศึกษา 2566

กิจกรรมสัมมนาความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ภาคต้น ปีการศึกษา 2566 วันจันทร์ที่ 13 พ.ย. 2566  เวลา 9.30-12.00 น. นายจิรายุ สหเวชชภัณฑ์ นายวีรวุฒิ เหรียญมณี นายทัตดนัย คมคันสร นายพันธุ์เอก เซียะสมาน เวลา 12.00 -15.00 น. นางสาวบัณฑิตา อุปการมีกุลชาติ  นายพิรุณ จิระวิบูลย์รัตน์ นายรัฐพล เพชรบดี นายรชฎ สาตราวุธ สถานที่: ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  

ฟัง Ep.7 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

ฟัง Ep.7 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

 หนังสือ The Moral Obligation to be Intelligent หนังสือรวมบทความคัดสรรที่ดีที่สุดของ Lionel Trilling นักวิจารณ์วรรณกรรม สังคม และวัฒนธรรม คนสำคัญของอเมริกาในช่วงปี ค.ศ. 1930-1970 แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะไม่ใช่หนังสือปรัชญาโดยตรง แต่บทวิเคราะห์และบทวิจารณ์วรรณกรรมที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ให้แรงบันดาลใจในการจินตนาการถึงสังคมเสรีนิยมที่เป็นไปได้แบบอื่น หากนวนิยายสามารถกำหนดวิธีการมองโลกของเราผ่านการใช้จินตนาการของผู้แต่งที่อาจคับแคบหรือเปิดกว้าง โดยที่งานเขียนแบบอื่นทำไม่ได้ นวนิยายก็น่าจะช่วยทำให้การขบคิดทางปรัชญาเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น บทวิจารณ์วรรณกรรมในหนังสือเล่มนี้ช่วยทำให้เราเห็นบทบาทดังกล่าวของงานวรรณกรรมกับประเด็นปัญหาในปรัชญาการเมืองสายเสรีนิยมในตอนที่ 7 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของซีซั่นที่ 1 คุณกฤษฎาและอาจารย์ปิยฤดีจะชวนผู้ฟังมาทำความรู้จักกับ Lionel Trilling และความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้จากมุมมองปรัชญาการเมือง?ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 7 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify https://open.spotify.com/show/7CNU3eonqZk4lcYdW08Y3kApple

ฟัง Ep.6 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

ฟัง Ep.6 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

 Ep.6 หนังสือมิลินทปัญหา เป็นหนังสือบันทึกการปุจฉาและวิสัชนาโต้ตอบกันระหว่างสองนักปราชญ์คือ พระนาคเสนเถระและพระยามิลินท์ (หรือเมนันเดอร์) กษัตริย์นักรบชาวกรีก ซึ่งปกครองอินเดียตอนเหนือหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 500 ปี เนื้อหาที่สองนักปราชญ์ถกเถียงโต้แย้งและปะทะคารมกันครอบคลุมปัญหาว่าด้วยโลกและชีวิต เป็นการอธิบายพุทธธรรมในลักษณะตอบโต้กันอย่างมีการอ้างเหตุผล ด้วยลักษณะดังกล่าวทำให้หนังสือเล่มนี้เป็นการอธิบายพุทธธรรมในเชิงปรัชญา ซึ่งควรค่าแก่การอ่านและน่าศึกษาอย่างยิ่งทั้งผู้ที่สนใจพุทธปรัชญาและบุคคลทั่วไปในตอนที่ 6 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ใกล้รุ่งจะชวนผู้ฟังมาทำความรู้จักหนังสือเล่มนี้มากยิ่งขึ้น ?ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 6 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify https://open.spotify.com/show/7CNU3eonqZk4lcYdW08Y3kApple Podcasts https://podcasts.apple.com/…/philoschula…/id1694451088Youtube Chanel https://youtu.be/G-gAbTJroDw#PhilosChulaPodcast#podcast#BigBooks#WanderingBook#อักษรศาสตร์#จุฬา#พุทธปรัชญา#มิลินทปัญหา#Buddhism#Milindapanha

📢ฟัง Ep.5 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

📢ฟัง Ep.5 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

  หนังสือ Being and Time เป็นงานสำคัญที่เขียนโดย Martin Heidegger นักปรัชญาชาวเยอรมัน หนังสือเล่มนี้เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาของ “ความเป็น” (Being) ของสิ่งต่างๆ ในโลก ไฮเดกเกอร์พยายามแก้ไขปัญหานี้โดยวิเคราะห์และแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานของความเป็นและวิธีที่ความเป็นของสิ่งต่างๆ นั้นเชื่อมโยงกับเวลา ไฮเดกเกอร์ใช้คำว่า “Dasein” เพื่ออธิบายสิ่งมีชีวิตหรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ “ความเป็น” ความเป็นนี้ไม่ใช่เพียงแค่การดำรงอยู่ในเชิงประจักษ์ แต่เป็นการเปิดเผยความรู้สึก การคิด และการดำรงอยู่ของบุคคลในโลก หนังสือนี้ได้ก่อตั้งพื้นฐานให้กับทฤษฎีของความเป็นและเวลา และมีอิทธิพลอย่างยิ่งกับนักปรัชญาและนักสังคมศาสตร์ในศตวรรษที่ 20ในตอนที่ 5 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์เกษมจะมาเล่าถึงความซับซ้อนของเนื้อหาและความสำคัญของในหนังสือเล่มนี้วงการปรัชญา ?ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 5 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify

ฟัง Ep.4 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify#ApplePodcast#YoutubeChanel

ฟัง Ep.4 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify#ApplePodcast#YoutubeChanel

  หนังสือ Knowledge in a Social World เขียนโดย Alvin Goldman นักปรัชญาคนสำคัญในสาขาญาณวิทยาสังคม (social epistemology) หนังสือเล่มนี้โกลด์แมนขยายขอบเขตของญาณวิทยาดั้งเดิมจากที่พิจารณาขอบเขตความรู้ของบุคคลเพียงคนเดียว มาเป็นความรู้ของกลุ่มคนหรือสังคม (เช่น คนไทยรู้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำ นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าวัคซีนสามารถช่วยป้องกันการตายจากไวรัสโควิดได้) โกลด์แมนตั้งคำถามว่ากระบวนการทางสังคมในมิติต่างๆ เช่น ความเห็นของผู้คนในโลกอินเตอร์เน็ต ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คำบอกเล่าจากผู้อื่น เป็นต้น จะสามารถเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้หรือไม่ และพื้นฐานของญาณวิทยาสังคมคืออะไร ในตอนที่ 4 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ศิรประภาจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักญาณวิทยาสังคมและความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 4 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify

ฟัง Ep.3 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

ฟัง Ep.3 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

?? คัมภีร์เมิ่งจื่อเป็นหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของปรัชญาสำนักขงจื่อนอกเหนือจากคัมภีร์หลุนอี่ว์ หากการเข้าใจความเป็นจีนจะต้องเข้าใจวัฒนธรรมที่มีภูมิปัญญาจากสำนักขงจื่อเป็นพื้นฐาน การจะเข้าใจปรัชญาสำนักขงจื่อก็ต้องพินิจวิเคราะห์จากคัมภีร์เมิ่งจื่อด้วยเช่นเดียวกัน เมิ่งจื่อได้ชื่อว่าเป็นผู้ขยายปรัชญาของขงจื่อให้ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะประเด็นเรื่องอารมณ์กับศีลธรรม และธรรมชาติธาตุแท้ที่ดีของมนุษย์ คัมภีร์เมิ่งจื่อเป็นบันทึกบทสนทนาขนาดสั้นและยาวระหว่างเมิ่งจื่อกับลูกศิษย์และเจ้าเมืองต่างๆ นอกจากจะเต็มไปด้วยเนื้อหาสาระความคิดที่ชวนให้ขบคิดแล้ว ยังเต็มไปด้วยการวิพากษ์ เสียดสี และสร้างข้อโต้แย้งต่อบรรดาผู้เป็นชนชั้นนำและแนวคิดต่างๆ ที่ปะทะสังสรรค์กันในยุคสมัยจั๋นกั๋วของจีนในตอนที่ 3 นี้ คุณกฤษฎาและอาจารย์ศริญญาจะชวนทุกท่านทำความรู้จักกับเมิ่งจื่อและหนังสือเล่มนี้?ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 3 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify https://open.spotify.com/show/7CNU3eonqZk4lcYdW08Y3kApple Podcasts https://podcasts.apple.com/…/philoschula…/id1694451088Youtube Chanel https://youtu.be/Itasod23mFQ#PhilosChulaPodcast#podcast#BigBooks#WanderingBook#อักษรศาสตร์#จุฬา#ปรัชญาจีน#เมิ่งจื่อ#ChinesePhilosophy#Mencius

ฟัง Ep.2 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

ฟัง Ep.2 ของ PhilosChula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChanel

 Beyond Aesthetics: Philosophical Essays หนังสือรวมบทความเขียนโดย Noël Carroll นักปรัชญาชาวอเมริกันที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของปรัชญาศิลปะร่วมสมัย หนังสือเล่มนี้เป็นการแสดงจุดยืนและข้อโต้แย้งของแครอลล์ต่อทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์กระแสหลักในปรัชญาศิลปะ เช่น ทฤษฎีที่ว่าความงามของ “ศิลปะ” อยู่ที่คุณสมบัติอย่างเป็นรูปแบบในตัวงานศิลปะเท่านั้น หรือทฤษฎีที่ว่าศีลธรรม เจตจำนงของศิลปิน และบริบททางประวัติศาสตร์ของงานศิลปะ ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าทางสุนทรียะของงานศิลปะชิ้นนั้นๆ ในตอนที่ 2 นี้คุณกฤษฎาและอาจารย์ธิดาวดีจะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาหลักของวิชาปรัชญา และทำไมหนังสือเล่มนี้จึงน่าอ่านและน่าขบคิดตาม ฟัง PhilosChula Podcast ตอนที่ 2 ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทางSpotify https://open.spotify.com/show/7CNU3eonqZk4lcYdW08Y3kApple Podcasts https://podcasts.apple.com/…/philoschula…/id1694451088Youtube Chanel https://youtu.be/esuy4UUx1kM #PhilosChulaPodcast#podcast#BigBooks#WanderingBook#อักษรศาสตร์#จุฬา#Aesthetics#สุนทรียศาสตร์#ปรัชญาศิลปะ#PhilosophyOfArt#NoëlCarroll 

ฟังตอนแรกของ Philos Chula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChannel

ฟังตอนแรกของ Philos Chula Podcast ได้แล้วทาง #Spotify #ApplePodcast #YoutubeChannel

??Philosophical Investigations เป็นหนังสือเล่มสำคัญของวิทเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) ได้รับการ Vote สูงสุดจากนักปรัชญาร่วมสมัยว่าเป็นหนึ่งในหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาปรัชญาและปรัชญาภาษา หนังสือเล่มนี้วิทเกนสไตน์เสนอแนวคิดที่แตกต่างและท้าทายให้ผู้อ่านเข้าใจภาษา การสื่อสาร และการสร้างความหมายที่ไม่เหมือนแนวคิดปรัชญาทั่วไป Ep.1 ซึ่งเป็นตอนแรกของโปรเจค Bigbook คุณกฤษฎาได้ชวนอาจารย์กนิษฐ์มาพูดคุยทำความรู้จักกับวิทเกนสไตน์และความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ในวงการปรัชญา ?ฟัง Philos Chula Podcast ตอนแรก ซีซั่นที่ 1 Big Books ในปรัชญาได้ทาง Spotify https://spotifyanchor-web.app.link/e/27bJbKeaqBbApple Podcasts https://podcasts.apple.com/…/philoschula…/id1694451088Youtube Chanel https://youtu.be/TfF1M0XPINw#PhilosChulaPodcast#podcast#BigBooks#WanderingBook#อักษรศาสตร์#จุฬา#Wittgenstein#PhilosophicalInvestigaion  

การเลื่อนกำหนดการงานเสวนา “Modest digital humanities as a default constraint on philosophical interpretation” โดย Prof. Mark Alfano

เนื่องจาก Prof. Mark Alfano ติดปัญหาการเดินทางมาประเทศไทย จึงทำให้ไม่สามารถมาบรรยายที่ภาควิชาปรัชญาในหัวข้อดังกล่าวได้ ภาควิชาปรัชญาขออนุญาตแจ้งเลื่อนการบรรยายของ Prof. Mark Alfano ออกไปอย่างไม่มีกำหนดนะคะ และหากมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเสวนาในหัวข้อดังกล่าวอย่างไรจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ

งานเสวนาในหัวข้อ “Modest digital humanities as a default constraint on philosophical interpretation” โดย Prof. Mark Alfano

งานเสวนาในหัวข้อ “Modest digital humanities as a default constraint on philosophical interpretation” โดย Prof. Mark Alfano

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Center for Science, Technology, and Society) และโครงการวิจัยวิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน (Digital approaches in humanities towards sustainable human capital development) ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานเสวนาในหัวข้อ “How to build and use custom dictionaries for timeseries and semantic network analysis” โดย Prof. Mark Alfano

https://ppid.fis.unp.ac.id/