การบรรยายเรื่อง ทุนฟูลไบรท์และทุนรัฐบาลตามความต้องการของส่วนราชการต่างๆ (ทุน ก.พ.)

    ฝ่ายวิรัชกิจได้จัดการบรรยายพร้อมรับประทานอาหารกลางวัน การบรรยายในหัวข้อ
“ทุนฟูลไบรท์ และทุนรัฐบาลตามความต้องการของส่วนราชการต่างๆ (ทุน ก.พ.)” โดยคุณพรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อำนวยการมูลนิธิฟูลไบรท์ประจำประเทศไทยและ คุณภาณุ สังขะวร ผู้อำนวยการศูนย์สรรหาและ เลือกสรร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ในวันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๒๑๐ อาหารมหาจุฬาลงกรณ์ การบรรยายครั้งนี้ มีผู้ปกครองและนิสิตที่ต้องการทราบข้อมูลในการสมัครและ สอบคัดเลือกชิงทุนต่างๆ เข้าร่วมรับฟังร่วม ๑๐๐ คน

 
     Chulalongkorn - Tohoku Cognitive & Typological Linguistics Symposium

    ภาควิชาภาษาศาสตร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัย Tohoku ประเทศญี่ปุ่น จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ ชื่องาน “Chulalongkorn - Tohoku Cognitive & Typological Linguistics Symposium” เพื่อเปิดโอกาสให้อาจารย์ นิสิตและผู้สนใจทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ได้ร่วมเสนอผลงานและเข้าฟังโดยเปิดโอกาสให้ ผู้เข้าฟังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ในวันที่ ๒๗-๒๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง๗๐๗
อาคารบรมราชกุมารี


     การสร้างเครือข่ายเพื่อบริการคุณภาพในงานสารสนเทศ


ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ศวท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง “เครือข่ายความร่วมมือโอเพ่นซอส เพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด” โดย ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม
ในฐานะเจ้าบ้านและในฐานะที่เป็นท่านแรกที่ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ทางวิชาการด้านการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการจัดการความรู้กับ ศวท. ในนามของ
ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒ จึงได้รับเกียรติให้เป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือ ระหว่าง ศวท. กับ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้า ก่อนเริ่มการประชุมวิชาการดังกล่าว ในวันที่ ในวันที่
๒๖-๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๑๐๕ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์



 
     ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น


    สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินข้อสอบภาษาญี่ปุ่น Prof.Reiko SAEGUSA จากมหาวิทยาลัย Hitotsubashi ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายพิเศษเรื่อง “ข้อสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น” ให้แก่อาจารย์ นิสิตและบุคคลที่สนใจเข้าฟัง ในวันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๘ อาคารบรมราชกุมารี

 
     บรรยายพิเศษโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่

   โครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ จัดบรรยายพิเศษให้แก่นักเรียนในโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ รุ่นที่ ๓ และรุ่นที่ ๔ เรื่อง “สนทนาประสาเอกอังกฤษ” และเสวนาเรื่อง “พบนักเขียนรุ่นใหม่” ในวันเสาร์ที่ ๒๑ สิงหาคม
พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๓๐๒ อาคารบรมราชกุมารี

 
   
     พิธีมอบรางวัลชนะเลิศงานแปลวรรณกรรมอำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ ประจำปี ๒๕๕๓


    คณะอนุกรรมการเงินทุนวรรณกรรมอำพรรณ โอตระกูล ซาลส์ ภาควิชาภาษาตะวันตก จัดบรรยายพิเศษเนื่องในโอกาส ๕๐ ปี มรณกรรมของอัลแบรต์ กามูส์ “อยู่กับความตาย” ในทัศนะของอัลแบรต์ กามูส์ โดย ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง และพิธีมอบรางวัล แก่ผู้ชนะเลิศในการประกวดงานแปลวรรณกรรมภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย ประจำปี ๒๕๕๓ มีผู้ที่ได้รับรางวัลดังนี้

  • น.ส.พิริยา ขจรศักดิ์บำเพ็ญ ได้รับรางวัลดีเด่น
    ระดับปริญญาตรี
  • นายคณิตสรณ์ สะมฤทธิ์เดชขจร ได้รับรางวัลดีเด่น
    ระดับประชาชนทั่วไป
  • น.ส.ผกาวลี คงกระพันธ์ ได้รับรางวัลคะแนนสูงสุดวิชาแปลฝรั่งเศส-ไทย ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓

ในวันอังคารที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๗
อาคารบรมราชกุมารี

 
 
     ปฐมนิเทศนักเรียนโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ (รุ่นที่ 4)

 
  โครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ จัดปฐมนิเทศนักเรียนโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ (รุ่นที่ 4) ในวันพฤหัสบดีที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๓๐๑ อาคารบรมราชกุมารี โดยมี ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ กล่าวต้อนรับนักเรียนในโครงการนำร่องการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ (รุ่นที่ 4) ผศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ และ อ.ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข เป็นวิทยากร

     โครงการเชิญผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศมาปฏิบัติงาน

    สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินข้อสอบภาษาญี่ปุ่น Prof.Reiko SAEGUSA จากมหาวิทยาลัย Hitotsubashi ประเทศญี่ปุ่น มาสอนในรายวิชา ๒๒๒๓๗๕๑ เอกัตศึกษา ระหว่างวันที่ ๒ – ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ให้นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ รวมถึงให้คำชี้แนะทางวิชาการแก่นิสิตและคณาจารย์สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น