Visual Thinking Strategies

   
    ฝ่ายวิรัชกิจและฝ่ายวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จัดโครงการ
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Visual Thinking Strategies โดยมี
Mr. Philip Yenawine ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Visual Understanding in Education (VUE) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เคยดำรงตำแหน่ง
สำคัญทางด้านการศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยมาเป็นวิทยากร
บรรยายและฝึกปฏิบัติการศาสตร์ เรื่อง Visual Thinking Strategies ซึ่งเป็นวิทยาการการเรียนรู้แผนใหม่ โดยใช้ศิลปะในการสอนให้คิด วิเคราะห์ และวิจารณ์ รวมทั้งฝึกทักษะในการติดต่อสื่อสารด้วย “Visual Literacy” เป็นการดึงความหมายออกจากภาพ และใช้วิธีการสังเกต ในวันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๘ อาคารบรมราชกุมารี
 
     ฝึกพูดภาษาญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่น

   
   สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก จัดโครงการฝึกพูดภาษาญี่ปุ่นกับคนญี่ปุ่นเพื่อให้นิสิตได้มีโอกาสฝึกสนทนาภาษาญี่ปุ่นนอกเหนือจากในชั้นเรียน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และเข้าใจอันดีระหว่างคนไทยและคนญี่ปุ่นในวันพุธที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๓๐๘ และ ห้อง ๕๑๒ อาคารบรมราชกุมารี

 
     เทศกาลงานออกร้านหนังสือในสวน

   ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเทศกาลออกร้านหนังสือในสวน ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน และมอบรางวัลแก่นิสิตที่เข้าใช้ห้องสมุดมากที่สุด นิสิตที่ยืมหนังสือมากที่สุด และรางวัลอาจารย์ที่ยืมหนังสือมากที่สุด ภายในงานมีร้านหนังสือ และสำนักพิมพ์ ต่าง ๆ ร่วมออกร้านมากมาย อาทิ

- บริษัท สวนเงินมีมา จำกัด
- Asia Books
- บริษหัท สำนักพิมพ์แสงดาว จำกัด
- บริษัท เคล็ดไทย จำกัด
- สำนักพิมพ์ Openbooks
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์คมบาง
- บริษัท ลีดเดอร์ แอนด์ รีดเดอร์
- บริษัท พี.บี. ฟอร์บุ๊คส์ (ปทุมธานี) จำกัด
- ร้าน ชาญชัย บุ๊คสโตร์
- บริษัท พี.เอส.บุ๊ค จำกัด
- บริษัท นิพนธ์
- ร้านคุ้มหนังสือ
- สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
- ร้านหนังสือเก่าสุวิมล
- สำนักพิมพ์โฆษิต
- บริษัท Booknet
- ศูนย์หนังสือจุฬาฯ

   วันที่ ๑๓-๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ บริเวณสวนข้าง
อาคารมหาวชิราวุธ


     The Art of Travel Writing

   ภาควิชาภาษาอังกฤษ จัดบรรยายพิเศษหัวข้อ “The Art of Travel Writing” Mr.John Krich ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Creative Writing จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากร เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารย์ตลอดจนนิสิตทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาตรี ของภาควิชาฯ ได้รับทราบข้อมูลด้านวิชาการ ตลอดจนผลการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ ด้านภาษาอังกฤษ หรือวรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๘
อาคารบรมราชกุมารี

 
     การเขียนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นโดยใช้พู่กัน

   สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น อ.Asako Hayashi จากมหาวิทยาลัยมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น มาสอนการเขียนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นโดยใช้พู่กัน เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ลำดับเส้นในการเขียนตัวอักษรที่ถูกต้อง ในวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ณ ห้อง ๕๐๑ อาคารบรมราชกุมารี

     แพรพรรณผันเพศ : มุมมองจากญี่ปุ่นและปรัชญา

   ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการเสวนาปรัชญา เรื่อง “แพรพรรณผันเพศ : มุมมองจากญี่ปุ่นและปรัชญา” มีหัวข้อเสวนาดังนี้

๑. Forms of Apparel and forms of love : Genji    Monogatari and Aristocratic attire in    Premodern Japan โดย Sachiko Takeda
๒. ภาวะปัจจุบันของวัฒนธรรม Transgender
   (การข้ามเพศ ) ในญี่ปุ่น โดย มิท์ซุฮะ ฌิ จุนโกะ
๓. Connections Between Changes in Idelolgy    and Female Dress in China

ในวันศุกร์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี

 
    บรรยายพิเศษเสริมความรู้ในรายวิชาการเขียนภาษาไทยเพื่อวิชาชีพ

   รายวิชา ๒๒๐๑๓๒๗ การเขียนภาษาไทยเพื่อวิชาชีพ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ

  • “การเขียนสารคดี” โดยเชิญ คุณยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ผู้เชี่ยวชาญการเขียนทั้งสารคดีและบันเทิงคดี เจ้าของผลงานนวนิยายเรื่อง “รอยวสันต์” งานเขียนสารคดีเรื่อง “ใคร ๆ ก็อยากมีร้านเบเกอรี่” “จากอาสำถึงหยำฉ่า” ฯลฯ เนื้อหาการบรรยายครอบคลุม ความน่าสนใจของสารคดี วิธีวางแผนการทำงาน หลักการแก้ปัญหาในงานเขียน เคล็ดลับการเขียนให้ประสบความสำเร็จ แบบฝึกหัดสำหรับมือใหม่หัดเขียน ตลอดจนวิธีสำรวจตนเองว่าเป็นนักเขียนหรือไม่ วันพุธที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๕๐๓ อาคารบรมราชกุมารี
  • “โครงการทางธุรกิจ” โดยเชิญ คุณอติภา เองตระกูล นักธุรกิจหญิงที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ เจ้าของธุรกิจ State Group คุณอติภา เองตระกูล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเริ่มวางแผนงานทางธุรกิจ การมองหาลู่ทาง การขจัดอุปสรรคในการทำงาน การจัดการการเงิน

วันพุธที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ ณ ห้อง ๕๐๓ อาคารบรมราชกุมารี