การใช้เทคโนโลยีจัดกิจกรรมในชั้นเรียนแบบ interactive: Clicker
   เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2556 ฝ่ายวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้เทคโนโลยีจัดกิจกรรมในชั้นเรียนแบบ interactive: Clicker ณ ห้องประชุม ศ.กิตติคุณสุทธิลักษณ์ ชั้น M1 อาคารมหาจักรีสิรินธร


 
     เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคิวบาเยือนคณะอักษรศาสตร์
   เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 ฯพณฯ Victor Daniel Ramirez Peña เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคิวบา และภริยา ได้มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ เพื่อเยี่ยมคารวะผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เนื่องในโอกาสที่ท่านทูตเข้าตำแหน่งประจำการที่ประเทศไทย
   ในการนี้ รองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อาจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ และอาจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล คณาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้ร่วมให้การต้อนรับ และนำท่านทูตพร้อมด้วยภริยา เดินชมอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ พร้อมเล่าประวัติของคณะอักษรศาสตร์พอสังเขป




     การลงนามในสัญญาความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปน
   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2556 ศาสตราจารย์ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฯพณฯ Maria del Carmen Moreno Raymundo เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสเปน ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศและการพัฒนาของประเทศสเปน (AECID) โดยรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา เพ็ชรรักษ์ และอาจารย์เลารา กัสโตร ซานเชส คณาจารย์สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ และ Mr. Antonio Casado Rigalt ผู้แทนจากสถานทูตฯ เข้าร่วมการลงนามดังกล่าว ณ ห้องรับรองชั้น 2 อาคารจามจุรี 4


     การอบรมภาษาญี่ปุ่นในโครงการ Sakura Network

   เมื่อวันอังคารที่ 12 และวันพุธที่ 13 มีนาคม 2556 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก โดยการสนับสนุนจากเจแปนฟาวน์เดชั่น โดยจัดการอบรมภาษาญี่ปุ่นในโครงการ Sakura Network หัวข้อเรื่อง “เสริมศักยภาพการอ่านภาษาญี่ปุ่น และสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น (ด้วยความรู้ทางวัฒนธรรม และวรรณคดี) ระยะที่ 4” ณ ห้อง 401 อาคารบรมราชกุมารี การจัดอบรมดังกล่าวเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นได้มีความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมและวรรณคดีญี่ปุ่น สามารถพัฒนาทักษะการอ่านและมีความรู้ความสามารถในการสอนวิชาการอ่านได้สูงขึ้น ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนในวิชาการอ่าน เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบันและอนาคต