มอบเงินสมทบทุนศาสตร์จารย์ สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์  


  เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มีนาคม 2557 นพ.สุรพงศ์ อำพันวงศ์
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการแพทย์และธุรกิจต่างประเทศ
เครือโรงพยาบาลพญาไท ได้มอบเงินสมทบทุน
ศาสตราจารย์สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ ์จำนวน 200,000 บาท
(สองแสนบาทถ้วน) 
เพื่อให้ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการศึกษา วิจัย ดูงาน ฝึกอบรม
และประชุมสัมมนาของคณาจารย์  รวมทั้งเพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงาน
และเผยแพร่องค์ความรู้  ทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์กิตติคุณสุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์ ชั้น M1
อาคารมหาจักรีสิรินธร โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์  เป็นผู้รับมอบ
ในการนี้คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และบรรณารักษ์
์จากศูนย์วิทยทรัพยากรและศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์
์คณะอักษรศาสตร์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าวด้วย

           การอบรมภาษาญี่ปุ่นโครงการ Sakura Network    


  เมื่อวันที่ 11-12 มีนาคม 2557 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จัดอบรมภาษาญี่ปุ่น
โครงการ Sakura Network หัวข้อ “เสริมสร้างศักยภาพการอ่านภาษาญี่ปุ่น”
(ด้วยความรู้ทางวัฒนธรรมและวรรณคดี) ระยะที่5
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นได้ความรู้
และสามารถสอนวิชาการอ่านได้ในระดับสูงขึ้น ณ ห้อง 501/2 , 501/9    อาคารมหาจักรีสิรินธร

ต้อนรับ H. E. Mr. Enno Drofenik เอกอัครราชทูตออสเตรีย  


  เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2557 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และรองศาสตราจารย์สุรภีพรรณ ฉัตราภรณ์
รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้ให้การต้อนรับ H. E. Mr. Enno Drofenik
เอกอัครราชทูตออสเตรีย เวลา 13.30 น. ณ ห้อง 814 อาคารมหาจักรีสิรินธร
วัตถุประสงค์การมาเยือน เพื่อหารือเรื่องการจัดงานสัมมนา KAFKA       
ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างคณะอักษรศาสตร์และสถานทูตออสเตรีย
ทั้งนี้ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งฤดี โลหผล หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก
อาจารย์ ดร.อารตี แก้วสัมฤทธิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเยอรมัน
ศาสตราจารย์ถนอมนวล โอเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน 
เข้าร่วมหารือด้วย

 
  
 
    แนวทางการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแบบต่อเนื่อง (หลักสูตรนานาชาติ)   

  เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2557 ภาควิชาบรรณรักษศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์จัดการประชุมเรื่องแนวทางการจัดการศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษาต่อเนื่อง (หลักสูตรนานาชาติ)
ณ ห้อง 706 อาคารบรมราชกุมารี 
โดยมีหัวข้อในการประชุมดังนี้
• นโยบายมหาวิทยาลัยในการจัดการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
   แบบต่อเนื่อง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มร.ว.กัลยา ติงศภัทย์
  รองอธิการบดีเป็นวิทยากร
• ประสบการณ์การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ
- รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์
   คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เป็นวิทยากร

 
 
 
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนผลงานวิชาการเพื่อการตีพิมพ์ในวารสาร    

  เมื่อวันที่ 17-20 มีนาคม 2557 ภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเขียนผลงานวิชาการ
เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอันสืบเนื่องมาจากข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิต
ศึกษา  พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้การเผยแพร่บทความวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการ
เป็นเงื่อนไขหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษา ภาควิชาฯจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ความรู้
ทราบขั้นตอนและได้ปฏิบัติการ การเขียนผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอันจะทําให้สามารถนำ
ไปประยุกต์ใช้กับงานวิชาการของตนเองได้ต่อไป ณ ห้อง 401 , 413 , 414 อาคารบรมราชกุมารี
    
ทุน AIMS   

   เมื่อวันอังคารที่ 18 มีนาคม 2557 หลักสูตร BALAC  ได้จัดการบรรยายทุนแลกเปลี่ยน AIMS มีวิทยากรมาเล่า
ประสบการณ์การได้รับทุนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย 
พร้อมทั้งให้ข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ Dr. Hamam Supriyadi อาจารย์พิเศษสอนภาษาอินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
และนางสาวนารีมา แสงวิ
มาน นิสิตระดับปริญญาเอก
 สาขาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร

ภาษากับความมั่นคงของคนในชาติ   



  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2557 ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
์จัดประชุมวิชาการระดับชาติิรายงานผลการวิจัย
กลุ่มนวัตกรรมวิชาการเชิงบูรณาการ เรื่อง “ภาษากับความมั่นคงของคนในชาติ”
ณ ห้อง 301 โดยมีหัวข้อในการประชุม ดังนี้
• ความเป็นมาของกลุ่มนวัตกรรมวิชาการเชิงบูรณาการ
เรื่อง “ภาษากับความมั่นคงของคนในชาติ”
ศาสตราจารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ (หัวหน้ากลุ่ม)
• ตามล่าหาคำประสมในภาษาไทย
รองศาสตราจารย์ ดร. วิโรจน์ อรุณมานะกุล และคณะ
• คำปฏิเสธในประวัติศาสตร์ : การเปลี่ยนแปลงของคำว่า บ่ มิ ไป่ และไม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ และคณะ
• เราเข้าใจ “คำอ้างอิง” และ “นามวลีซับซ้อน” อย่างไร...คำตอบจากการศึกษาเชิงภาษาศาสตร์จิตวิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีราภรณ์ รติธรรมกุล และคณะ
• ส่อง...ด่านช้าง –บ้านไร่ จากมุมมองชาติพันธ์และการท่องเที่ยว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์ และคณะ
• ภาพแทนเด็กไทยและสังคมไทยในแบบเรียนประวัติศาสตร์ระดับประถมศึกษา : 
การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร พานโพธิ์ทอง และคณะ
• ถอดรหัสความคิด หนังสือ “ฮาวทู”-“ดูดวง” : อุดมการณ์ว่าด้วย “ชีวิตที่พึงประสงค์” และ “ความสุข”
ในวาทกรรมหนังสือแนะนำแนวทางการดำเนินชีวิตและคำพยากรณ์ดวงชะตา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริพร ภักดีผาสุก และคณะ


 
 
 
Back    Go to Top   Next