คณะอักษรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์
  • อักษรศาสตร์ 100 ปี
  • เจ้าฟ้านิสิต
    • ทรงเป็นนิสิตที่ดี
    • ทรงเป็นเพื่อนที่ดี
  • อักษรศาสตร์ดีเด่น
      • 2532
      • 2535
      • 2537
      • 2538
      • 2540
      • 2542
      • 2544
      • 2546
      • 2548
      • 2550
      • 2552
      • 2554
      • 2556
      • 2558
      • 2560
  • อักษรจรัส
      • 18
      • 20
      • 23
      • 27
      • 28
      • 31
      • 32
      • 33
      • 34
      • 35
      • 36
      • 37
      • 39
      • 41
      • 42
      • 43
      • 45
      • 46
      • 47
      • 48
      • 49
      • 50
      • 53
      • 54
      • 55
      • 56
      • 58
      • 59
      • 60
      • 65
      • 67
      • 68
      • 70
      • 74
  • อาชีพชาวอักษรฯ
  • เรื่องเล่า
    • ของอาจารย์
    • ของนิสิตเก่ารุ่น
      • 18
      • 19
      • 21
      • 25
      • 27
      • 28
      • 31
      • 32
      • 33
      • 34
      • 35
      • 36
      • 37
      • 41
      • 43
      • 44
      • 45
      • 46
      • 48
      • 49
      • 50
      • 53
      • 54
      • 55
      • 56
      • 58
      • 60
      • 65
      • 68
      • 70
      • 18
      • 19
      • 21
      • 25
      • 27
      • 28
      • 31
      • 32
      • 33
      • 34
      • 35
      • 36
      • 37
      • 41
      • 43
      • 44
      • 45
      • 46
      • 48
      • 49
      • 50
      • 53
      • 54
      • 55
      • 56
      • 58
      • 60
      • 65
      • 68
      • 70
  • สมุดภาพประจำรุ่น
      • 1
      • 27
      • 28
      • 33
      • 34
      • 36
      • 39
      • 43
      • 45
      • 48
      • 50
      • 52
      • 55
      • 58
      • 59
  • ทะเบียนนิสิตเก่า
    • ประวัติการนับรุ่น
      • ปม. 1
      • ปม. 2
      • ปม. 3
      • ปม. 4
      • ปม. 5
      • อบ. 1
      • อบ. 2
      • อบ. 3
      • อบ. 4
      • อบ. 5
      • อบ. 6
      • อบ. 7
      • อบ. 8
      • อบ. 9
      • อบ. 10
      • อบ. 11
      • อบ. 12
      • อบ. 13
      • อบ. 14
      • อบ. 15
      • อบ. 16
      • อบ. 17
      • อบ. 18
      • อบ. 19
      • อบ. 20
      • อบ. 21
      • อบ. 22
      • อบ. 23
      • อบ. 24
      • อบ. 25
      • อบ. 26
      • อบ. 27
      • อบ. 28
      • อบ. 29
      • อบ. 30
      • อบ. 31
      • อบ. 32
      • อบ. 33
      • อบ. 34
      • อบ. 35
      • อบ. 36
      • อบ. 37
      • อบ. 38
      • อบ. 39
      • อบ. 40
      • อบ. 41
      • อบ. 42
      • อบ. 43
      • อบ. 44
      • อบ. 45
      • อบ. 46
      • อบ. 47
      • อบ. 48
      • อบ. 49
      • อบ. 50
      • อบ. 51
      • อบ. 52
      • อบ. 53
      • อบ. 54
      • อบ. 55
      • อบ. 56
      • อบ. 57
      • อบ. 58
      • อบ. 59
      • อบ. 60
      • อบ. 61
      • อบ. 62
      • อบ. 63
      • อบ. 64
      • อบ. 65
      • อบ. 66
      • อบ. 67
      • อบ. 68
      • อบ. 69
      • อบ. 70
      • อบ. 73
      • อบ. 74
      • อบ. 75
      • อบ. 76
อักษรจรัสรุ่น 37
img01

ดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม อบ.37

อักษรจรัส อบ. 37

“โตขึ้นอยากเป็นอะไร”  เป็นคำถามที่เด็กๆ เกือบทุกคนถูกถาม  ฉันเองก็เช่นกัน  เมื่อเจอคำถามนี้ฉันตอบอย่างหนักแน่นไม่มีความลังเลเลยว่า  “อยากเป็นครู”  เป็นคำตอบจากใจ  จากจิตใต้สำนึกลึกๆ อาจเป็นเพราะฉันอยู่ใกล้ชิดแวดล้อมด้วยครูดีๆ ที่เป็นต้นแบบให้ฉันหลายท่าน  ตั้งแต่คุณแม่  คุณอาสะใภ้  พี่สาว  แล้วก็ยังมีคุณปู่ซึ่งแม้ฉันจะเกิดไม่ทันท่าน  แต่ก็ได้ซึมซับจิตวิญญาณครูมาโดยสายเลือดก็ว่าได้

 ความรักในการ  “สอน”  แสดงออกทางพฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก  ยังไม่ทันเข้าโรงเรียน  แต่ฉันชอบเล่นเป็นครู  จับเพื่อนๆ น้องๆ เป็นนักเรียนหมด  ตอนเรียนมัธยมอยู่ที่ ร.ร.สตรีวิทยา  ฉันก็ชอบสอน  ชอบติวเพื่อนในวิชาที่ฉันถนัดคือภาษาฝรั่งเศส  และคณิตศาสตร์  เรื่องติวนี่  ฉันมักจะเป็นฝ่ายขอติวเพื่อนด้วยความเป็นห่วงกลัวเพื่อนสอบตก  บางคนต้องตามไปขอติวถึงบ้านก็มี

เมื่อเรียนจบมัธยมปลาย  ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย  คณะแรกๆ ที่ฉันเลือกคือ  อักษรศาสตร์และครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เพราะจะนำทางฉันไปสู่วิชาชีพครูได้ตรงที่สุด  หลังจากเรียนจบอักษรศาสตร์บัณฑิต  ฉันไปสอบบรรจุครูที่กระทรวงศึกษาธิการแห่งเดียว  ไม่สนใจไปสมัครที่หน่วยงานอื่นๆ ไว้เป็นทางเลือกสำรอง  ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าถ้าปีนี้ไม่ได้รับการบรรจุ  ปีหน้าจะมาสอบใหม่  แต่โชคดีที่ฉันได้รับการบรรจุเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศส  ที่        ร.ร.วัดมกุฏกษัตริย์  ฉันมีความสุขมากที่ได้เป็นครู  ตั้งใจสอน  พยายามหาวิธีการสอนที่จะทำให้เด็กเรียนเก่ง  ใครเรียนอ่อนก็สอนพิเศษให้ตอนเย็นเกือบทุกวัน  ตรวจการบ้านและแก้ไขงานเด็กอย่างเข้มงวด 

ต่อมาการสอนภาษาฝรั่งเศสปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบ  audivisuel  ครูต้องเข้ารับการอบรมการสอนแบบใหม่  อบรมแล้วจะมีการสอบและคัดเลือกผู้ที่ได้รับคะแนน 20 อันดับแรก  ไปฝึกอบรมที่ประเทศฝรั่งเศส  ฉันกลัวการไปต่างประเทศมาก  และปฏิเสธโอกาสที่จะสอบชิงทุนแบบนี้ไปหลายครั้ง  แต่ครั้งนี้ฉันตั้งใจทำข้อสอบมาก  ไม่ใช่เพราะอยากไปเมืองนอก  แต่อยากประเมินตัวเองว่ามีความสามารถพอที่จะสอนแนวใหม่นี้หรือไม่  ผลปรากฏว่าฉันสอบได้ที่ 1  จำใจต้องไปฝึกอบรมที่ฝรั่งเศสตามเงื่อนไข  อีก 2 ปีต่อมาไปสอบชิงทุนอีกครั้งเพื่อกลับมาเป็นศึกษานิเทศก์วิชาภาษาฝรั่งเศส  ก็สอบได้อีก  เป็นศึกษานิเทศก์ได้ 3 ปี  ก็สอบชิงทุนไปทำปริญญาเอกที่ประเทศฝรั่งเศส  จบปริญญาเอกสาขาภาษาศาสตร์และการสอนภาษาต่างประเทศ  จากมหาวิทยาลัย Grenoble III  ด้วยคะแนนเกียรตินิยมดีเยี่ยม

การได้รับทุนทุกครั้งต้องทำงานใช้ทุน 2 เท่า  ฉันไม่เคยคิดว่าเป็นการทำงานใช้หนี้  แต่ฉันทำงานเพราะฉันรักงานนี้  คุณแม่เคยแนะนำด้วยความสงสารว่าเป็นครูลำบาก  เงินเดือนน้อย  ใช้ทุนแล้วไปทำงานบริษัทซึ่งเงินเดือนมากกว่าดีไหม  ฉันตอบไปว่า  ฉันทำงานแบบได้เงินเยอะแต่ไม่ได้บุญไม่เป็น    เคยมีหลายหน่วยงานทั้งมหาวิทยาลัยหลายแห่ง  และองค์กรระหว่างประเทศ  มาลองใจฉันอยู่หลายครั้ง  ด้วยการชักชวนไปทำงานด้วย  เพราะเห็นว่าฉันจบปริญญาเอกในสาขาที่มีคนจบมาน้อย และฉันจบมาด้วยคะแนนสูงมาก  แต่ฉันตอบปฏิเสธไปโดยไม่ลังเลทุกครั้ง  ที่จริงการเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยก็ยังอยู่ในแวดวงครูอยู่  แต่ฉันรู้สึกว่าการศึกษาบ้านเรา  ยิ่งระดับสูงยิ่งมุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ  แล้วมีพื้นที่ให้คุณธรรมน้อยลงทุกที  ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่หลงทิศทาง  ฉันจึงเลือกเป็นศึกษานิเทศก์ที่ดูแลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาต่อไป

ชีวิตการเป็นศึกษานิเทศก์  เปิดโอกาสให้ฉันได้บุญมากขึ้น  เมื่อได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานปลูกฝังคุณธรรมควบคู่กับการนิเทศการสอนภาษาฝรั่งเศส  เพราะหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  เห็นว่าฉันชอบปฏิบัติธรรม  ฉันมีประสบการณ์การทำสมาธิภาวนามาหลายปี  เพราะมีความทุกข์และเลือกที่จะแก้ทุกข์ที่จิตด้วยการปฏิบัติจิตตามแนวทางพระธุดงคกรรมฐานสายพระป่า  และได้พบว่ากระบวนการพัฒนาจิตโดยหลักไตรสิกขา (ศีล  สมาธิ  ปัญญา)  ตามแนวทางของพระพุทธเจ้ามีประสิทธิภาพที่สุด  สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมได้ตรงจุด  คือแก้ที่จิตซึ่งเป็นผู้สั่งกาย  เมื่อ   จิตดี  กาย  วาจา  ก็ดี

ภาระงานเริ่มหนักขึ้นเมื่อต้องรับผิดชอบงานสร้างคนเก่ง  (นิเทศการสอนตามนโยบายของกรมสามัญศึกษาและวิชาภาษาฝรั่งเศส)   และสร้างคนดี (จัดอบรมพัฒนาจิต ครู-นักเรียน  ที่วัดวะภูแก้ว  ตามคำขอของโรงเรียน)  จริงๆ แล้ว  กรมฯ ก็มีนโยบายปลูกฝังคุณธรรมครู-นักเรียน  ชัดเจนมากอยู่แล้ว  โดยอิงทฤษฏีของนักจิตวิทยาฝรั่งเป็นหลัก  แต่ครูที่ผ่านการอบรมพัฒนาจิตหรือนำนักเรียนมาเข้ารับการอบรม  มีความเชื่อมั่นและศรัทธาทฤษฏีของพุทธศาสนามากกว่า  เพราะเห็นผลชัดเจนว่าสามารถเปลี่ยนจิตสำนึกและพฤติกรรมได้เร็วและยั่งยืนกว่า

เมื่อโรงเรียนเรียกร้องให้จัดอบรมพัฒนาจิตมากขึ้น  ฉันจึงต้องวิ่งรอกทำงานสลับกันระหว่างวัด, หน่วยงาน, โรงเรียน  จนแทบไม่มีวันหยุด  เคยทำงานต่อเนื่องถึง 60 วัน  จนบางครั้งล้มป่วย  ในที่สุดฉันต้องตัดสินใจเลือกทางเดียวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุด  ถ้าจะเหยียบเรืองสองแคม  อาจบกพร่องทั้งสองทางก็ได้

ฉันตัดสินใจโดยไม่ลังเลอีกครั้งคือ ขอเลือก “การสร้างคนดี”  เพราะเห็นว่าคนเก่งสร้างไม่ยาก  และคนเก่งก็มีมากในสังคมนี้  ฉันจึงขอลาออกจากราชการก่อนอายุครบเกษียณถึง 10 ปี เพื่อรับผิดชอบโครงการอบรมพัฒนาจิต  ที่ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ  วัดวะภูแก้ว  แห่งเดียว

เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพที่สุด  ฉันจึงต้องพัฒนาตัวเอง  พัฒนาคณะทำงาน  พัฒนาเนื้อหาหลักสูตรการอบรม (โดยบูรณาการประสบการณ์การปฏิบัติจิตและจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เก็บเกี่ยวตอนเป็นศึกษานิเทศก์  เข้าด้วยกัน)   อย่างต่อเนื่อง

หลายคนเสียดายความรู้ทางโลกที่ฉันร่ำเรียนมามากมาย  แล้วมาเลือกทางธรรม  แต่ฉันไม่เสียดายเลยเพราะฉันไม่ได้ทิ้งโลก  ฉันใช้ธรรมทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น  ฉันลาออกจากราชการ  แต่ฉันไม่ได้ลาออกจากความเป็นครู  เพียงแต่ฉันเลือกเป็นครูสอนวิชาความดี  ซึ่งฉันเห็นว่าทำให้ฉันเป็นครูที่สมบูรณ์แบบขึ้น  เวลาเกือบ 30 ปีที่ฉันตั้งใจทำงานนี้  ได้อบรมทั้ง  ครู  นักเรียน  ข้าราชการ  ตำรวจ  บุคลากรด้านสาธารณสุข  ผู้ต้องขัง ฯลฯ  ไปกว่า 300,000 คน  ผู้ที่ผ่านการอบรมส่วนใหญ่ให้ข้อมูลป้อนกลับมาว่า  สมาธิทำให้เขาเรียนเก่งขึ้น  จากเด็กที่ไม่เห็นอนาคตกลับกลายเป็นคุณหมอ  วิศวกร  นายทหาร  ตำรวจ ฯลฯ  จากคนที่ทำงานไปวันๆ ไม่ศรัทธาในวิชาชีพของตัวเอง  ก็ตั้งใจทำงานด้วย  “ใจ”  โดยเฉพาะงานบริการสาธารณสุขและชุมชน,  งานด้านการศึกษา  วัยรุ่นและผู้ต้องขังที่เดินทางผิด  จมอยู่ก้นหลุมดำ  ก็เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์  หันหลังให้กับสิ่งผิด  สร้างคุณค่าให้กับชีวิตของตนเอง 

ทางสายนี้เป็นทางที่ฉันเลือก  เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน  ตอบแทนคุณโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่หล่อหลอมทุกความดี  และความเก่งให้กับฉัน

      

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน

กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ (+66) 0-2215-3488, 0-2215-6203

โทรสาร (+66) 0-2216-1298

คณะอักษรศาสตร์

สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์

สื่อสังคมออนไลน์

Administrator

Copyright 2016 The Faculty of Arts Chulalongkorn University