เกี่ยวกับโครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

การแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศริเริ่มโดยสมาพันธ์ภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นความสนใจของเยาวชนในการศึกษาด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และเป็นเวทีสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีต่อกันให้กับเยาวชนจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก การแข่งขันนี้เริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ต่อมาได้จัดให้มีการแข่งขันทุกๆ 2 ปี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาได้จัดให้มีการแข่งขันทุกปี ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจะคัดเลือกผู้แทนจำนวน 4 คน โดยต้องมีอายุระหว่าง 16-19 ปี และยังศึกษาในระดับมัธยมของประเทศนั้นๆ สำหรับภาษาทางการที่ใช้ในการแข่งขันคือภาษาอังกฤษ

มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ซึ่งมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานมูลนิธิ ทรงเล็งเห็นความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์และได้ทรงมอบหมายให้มูลนิธิ สอวน. ดำเนินการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถในระดับมาตรฐานสากล เพื่อไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ทางภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตอบรับคำเชิญของมูลนิธิ สอวน. เข้าเป็นศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิกสำหรับนักเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยอบรมและทำหน้าที่ร่วมคัดเลือกนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และส่งเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ โดยจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากมูลนิธิฯ เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวประสบผลตามความมุ่งหมาย ภาควิชาภูมิศาสตร์จึงได้จัดทำโครงการคัดเลือกผู้แทนเพื่อเข้าอบรมโครงการภูมิศาสตร์โอลิมปิกวิชาการ โดยมีเป้าหมายที่จะจัดอบรมนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมจำนวนอย่างน้อย 100 คน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางภูมิศาสตร์แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมการอบรมค่าย 1 และการอบรมค่าย 2 และเข้ารับการสอบคัดเลืือกเป็นตัวแทนไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ในปี พ.ศ. 2567
3. เพื่อประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนภูมิศาสตร์และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนสาขาวิชาภูมิศาสตร์
4. เพื่อสร้างโอกาสในการดึงดูดนักเรียนที่มีความสามารถมาเรียนในสาขาวิชาภูมิศาสตร์

กำหนดการ

1. การรับสมัคร (1 มิถุนายน – 31 กรกฏาคม 2566)
2. ประกาศรายชื่อนักเรียนผู้มีสิทธิ์เข้าสอบ วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม 2566
3. จัดสอบคัดเลือกนักเรียนรอบที่ 1 (19 สิงหาคม 2566)
4. ประกาศรายชื่อนักเรียนผู้ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 (1 กันยายน 2566) เพื่อเข้าอบรมค่าย 1
ทาง  http://www.arts.chula.ac.th/~geography/tgeocu

ผู้เข้าร่วมโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย นักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร* และเข้าร่วมการสอบคัดเลือกและมีคะแนนผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 100 คน
*ยกเว้น
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
และ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

การสอบคัดเลือก

  • การสอบคัดเลือก
    วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ที่อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
    ผู้สมัครควรถึงสนามสอบก่อนเวลา 8.30 น. และศึกษาข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้าสอบ ทาง  http://www.arts.chula.ac.th/~geography/tgeocu/

เนื้อหาการสอบ

เป็นแบบปรนัย (4 ตัวเลือก)
ตามหัวข้อในหนังสือภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์มนุษย์ และภูมิศาสตร์เทคนิคของมูลนิธิ สอวน.
คำถามเป็นภาษาไทย
มีข้อสอบทั้งสิ้น 150 ข้อ เวลาสอบ 3 ชั่วโมง (9.00-12.00 น.)

กรอบเวลาดำเนินการอบรม

ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การสอบคัดเลือก จะต้องเข้าร่วมการอบรมในช่วงเดือนตุลาคม 2566 เป็นระยะเวลา 10 วัน
ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การประเมินผลการอบรมและเกณฑ์การผ่านการอบรม (กรณีได้รับคัดเลือกเข้าอบรมค่าย 1)

การประเมินผลการอบรม ประเมินจาก
(1)  นักเรียนเข้าร่วมการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
(2) การประเมินโดยใช้การสอบเพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าอบรมค่าย 2 โดยการสอบจะมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2566
(3)  เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยเหมาะสม โดยพิจารณาจากคณะกรรมการประจำศูนย์ (อาจารย์ประจำศูนย์ และกรรมการ/เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์) เห็นว่าสมควรให้ผ่านการอบรม

ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯกำหนด ครบทั้งสามข้อ จะได้รับประกาศนียบัตรการเข้าอบรมภูมิศาสตร์โอลิมปิก จากภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์ทั้งสามข้อและมีคะแนนสูงสุด 50 คนแรก จะได้เข้าร่วมการอบรมค่าย 2 และจะได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมแข่งขันระดับชาติต่อไป ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2567

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. มีการเผยแพร่ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ให้แก่เยาวชน
2. นักเรียนมีความสนใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภูมิศาสตร์
3. นักเรียนได้รับความรู้ และได้รับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์ประธานคณะกรรมการ ศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิก สอวน. จุฬาฯ
รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจกรรมการ
อาจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวากรรมการ
อาจารย์ ดร.เอกกมล วรรณเมธีกรรมการ
อาจารย์ ดร.เพชรพิไล ลัธธนันท์กรรมการ
อาจารย์ ดร.อารีรัตน์  แพทย์นุเคราะห์กรรมการ
อาจารย์ มัลลิกา สุกิจปาณีนิจกรรมการ
อาจารย์ ดร.พุทธพร อารีประชากุลกรรมการและเลขานุการ
นางสาวภูษณิศา ไชยแก้วกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
นางวัลลี ภูมิพงศ์ไทยกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ