การร่วมเรียนรายวิชาของภาควิชาภาษาศาสตร์ ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับบุคคลภายนอกเข้าร่วมเรียนรายวิชาที่ภาควิชาเปิดสอนในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 ดังต่อไปนี้วิชาระดับบัณฑิตศึกษา

2209531 อรรถศาสตร์ (Semantics) – จันทร์ 9.00-12.00 น.
สัญญะและการสื่อสัญญะ ประเภทและระดับของความหมายและความกากวม ความสัมพันธ์ระดับคาศัพท์และระดับประโยค เงื่อนไขความจริงและคาจากัดความ การจัดประเภทและลาดับชั้นของประเภท ความหมายเชิงไวยากรณ์ ความหมายเชิงเปรียบเทียบ ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

2209621 ทฤษฎีภาษาศาสตร์ (Linguistic Theories) – อังคาร 13.00-16.00 น. (เรียนออนไลน์ 100%)
พัฒนาการของทฤษฎีภาษาศาสตร์ มโนทัศน์และหลักการของสำนักคิดต่างๆ ปัจจัยที่นำไปสู่การเสนอทฤษฎีเหล่านี้

2209631 กลสัทศาสตร์ (Acoustic Phonetics) – พุธ 13.00-16.00 น.
ผู้เรียนต้องมีพื้นฐานด้าน Phonetics และ/หรือ Phonology
คลื่นเสียงในลักษณะองค์ประกอบเชิงกลของระดับเสียงสูงต่ำ ความดังค่อย ความสั้นยาว และสัทสมบัติอื่นๆที่ได้ยิน ความสัมพันธ์ ระหว่างกลสัทศาสตร์กับกลไกในการผลิตเสียงและการรับรู้เสียงพูดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลสัทศาสตร์กับภาษาศาสตร์แขนงอื่นๆ

2209642 สัทสัมพันธ์ (Prosody) – พฤหัส 13.00-16.00 น.
ผู้เรียนต้องมีพื้นฐานด้าน Phonetics และ/หรือ Phonology
การศึกษาสัทสัมพันธ์ตามแนวสัทศาสตร์และสัทวิทยา ลักษณะทางสัทศาสตร์ของสัทสัมพันธ์ ทฤษฎีและวิเคราะห์ด้านสัทวิทยาเชิงซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างสัทสัมพันธ์และองค์ประกอบอื่นของภาษา

2209653 ภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics) – จันทร์ 13.00-16.00 น.
การแปรของภาษาตามเงื่อนไขทางสังคม ภาษากับการบ่งชี้ วัจนลีลา ภาวะหลายภาษา การสัมผัสภาษา การเลือกภาษา นโยบายภาษาและการวางแผนภาษา

2209670 ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computational Linguistics) – ศุกร์ 13.00-16.00 น.
แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติแบบใช้กฎและแบบอิงสถิติ การประยุกต์ใช้งานด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ได้แก่ การตัดคำ การกำกับหมวดคำ การค้นคืนสารสนเทศ การแจงส่วนประโยค การแปลภาษาด้วยเครื่อง

บุคคลภายนอกสามารถเข้าร่วมเรียนรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาได้ไม่เกิน 2 รายวิชาในแต่ละภาคการศึกษา

วิธีการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เน้นการจัดการเรียนการสอนในสถานที่ (onsite) เป็นหลัก โดยอาจมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (online) และแบบผสมผสาน (blended learning) ร่วมด้วย

บุคคลภายนอกสามารถเลือกวิธีการประเมินผลการเรียนได้ 3 แบบแบบปกติ (A, B+, B, C+, C, D+, D, และ F) หรือแบบผ่านไม่ผ่าน (S/U) หรือแบบร่วมฟังบรรยายเท่านั้น (V/W)

รายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้ผลการประเมินตั้งแต่ B ขึ้นไป หรือได้ผลการประเมินเป็น S และศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี สามารถใช้ยกเว้นรายวิชาเมื่อเข้าเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาภาษาศาสตร์ได้ เงื่อนไขเป็นไปตามข้อบังคับจุฬาฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 และการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายต่อภาคการศึกษา ระดับปริญญาตรี 10,500 บาท และระดับบัณฑิตศึกษา 12,750 บาท (https://www.reg.chula.ac.th/NewStudyFee_2563.pdf)กรณีที่ต้องลงทะเบียนเรียนสายไม่ว่าด้วยสาเหตุใด ผู้เข้าร่วมเรียนจะต้องชำระเงินค่าปรับให้สำนักทะเบียนในอัตราที่สำนักทะเบียนกำหนด

ผู้ประสงค์สมัครเข้าร่วมเรียนในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 สามารถกรอกใบสมัครได้ที่ https://bit.ly/3Vp93eL ภายในวันที่ 14 พ.ย. 2565 ผู้สมัครต้องแนบสำเนาใบรายงานผลการศึกษา (transcript) สำเนาบัตรประชาชน และ CV หรือ Resume ในใบสมัครเพื่อประกอบการพิจารณา

ภาควิชาฯ จะพิจารณาอนุมัติตามเกณฑ์ต่อไปนี้- ผู้สมัครส่งเอกสารการสมัครครบถ้วนภายในวันที่ 14 พ.ย. 2565- ผู้สมัครสามารถเข้าเรียนในเวลาที่ภาควิชากำหนดได้

  • ผู้สมัครมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเรียนวิชาที่เลือก
  • ความสนใจของผู้เรียนสอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • รายวิชาที่เลือกยังมีผู้เรียนไม่เต็มจำนวนที่กำหนดไว้หลังจากปิดรับสมัครแล้ว

ภาควิชาฯ จะแจ้งผลผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ทางอีเมลที่ผู้สมัครให้ไว้ภายในวันที่ 21 พ.ย. 2565 และนัดสัมภาษณ์ออนไลน์ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ย. 2565 หลังจากนั้นจะแจ้งผลการพิจารณาภายในวันที่ 30 พ.ย. 2565