คำอธิบายรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา
Graduate Course Description
2209501 สัทศาสตร์ 3 (3-0-9)
สัทศาสตร์ทุกสาขา ได้แก่ สรีรสัทศาสตร์ กลสัทศาสตร์ และโสตสัทศาสตร์ การรับรู้เสียง ความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตเสียงกับคลื่นเสียง และการรู้จำถ้อยคำ
Phonetics
PHONETICS
All aspects of phonetics: articulatory, acoustic, and auditory; speech perception; interrelation of speech production, sound waves and word recognition.
2209511 สัทวิทยา 3 (3-0-9)
แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีระบบเสียง ความรู้ด้านวิทยาหน่วยคำที่เกี่ยวข้องกับระบบเสียง การฝึกวิเคราะห์ระบบเสียง ประเด็นหลักของทฤษฎีระบบเสียงคัดสรร
Phonology
PHONOLOGY
Major concepts in phonological theories; phonological aspects of morphology; practice of phonological analysis; major issues in selected phonological theories.
2209521 วากยสัมพันธ์ 3 (3-0-9)
คำและหน่วยคำ ประเภททางไวยากรณ์ ความสัมพันธ์ทางวากยสัมพันธ์ หน่วยสร้างทางวากยสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลภาษาตามหลักวิทยาหน่วยคำและวากยสัมพันธ์
Syntax
SYNTAX
Words and morphemes; grammatical categories; syntactic relations; syntactic constructions; morphological and syntactic analyses of language data.
2209531 อรรถศาสตร์ 3 (3-0-9)
สัญญะและการสื่อสัญญะ ประเภทและระดับของความหมายและความกำกวม ความสัมพันธ์ระดับคำศัพท์และระดับประโยค เงื่อนไขความจริงและคำจำกัดความ การจัดประเภทและลำดับชั้นของประเภท ความหมายเชิงไวยากรณ์ ความหมายเชิงเปรียบเทียบ ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย
Semantics
SEMANTICS
Signs and modes of signification; types and levels of meaning and ambiguity; lexical and sentential relations; truth conditions and definitions; categorization and hierarchy of categories; grammatical meanings; figurative meanings; semantic variation and change.
2209611 ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ 3(3-0-9)
คำอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางภาษา วิธีการทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางภาษา ประเด็นคัดสรรทางทฤษฎีภาษาศาสตร์เชิงประวัติ
Historical Linguistics
HIST LING
Explanations for language change; historical linguistics methods in analyzing language change; selected theoretical issues in historical linguistics.
2209621 ทฤษฎีภาษาศาสตร์ 3(3-0-9)
พัฒนาการของทฤษฎีภาษาศาสตร์ มโนทัศน์และหลักการของสำนักคิดต่างๆ ปัจจัยที่นำไปสู่การเสนอทฤษฎีเหล่านี้
Linguistic Theories
LING THEORIES
Development of linguistic theories; concepts and principles of different schools; factors contributing to emergence of these theories.
2209625 วิทยาหน่วยคำ 3 (3-0-9)
หน่วยสร้างและกฎทางวิทยาหน่วยคำ ประเภทของหน่วยคำและหน่วยคำย่อย หน่วยศัพท์และตระกูลคำ การผันคำและการแปลงคำ ผลิตภาพและความถี่ แผนภูมิโครงสร้างคำ วิทยาหน่วยคำและสัทวิทยา วิทยาหน่วยคำและวากยสัมพันธ์ ความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างคำ
Morphology
MORPHOLOGY
Morphological constructions and rules; types of morphemes and allomorphs; lexemes and word families; inflection and derivation; productivity and frequency; morphological structure diagrams; morphology and phonology; morphology and syntax; morphological variation and change.
2209626 แนวการศึกษาปรากฏการณ์ทางวากยสัมพันธ์ 3(3-0-9)
มโนทัศน์ขั้นสูงทางวากยสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลวากยสัมพันธ์ของภาษาต่างๆ ปรากฏการณ์ทางวากยสัมพันธ์ที่น่าสนใจในภาษาต่างๆ แบบลักษณ์ทางวากยสัมพันธ์ของภาษาต่างๆ
Approaches to Syntactic Phenomena
APP SYN PHENOM
Advanced concepts of syntax; analysis of syntactic data in different languages; interesting syntactic phenomena in different languages; syntactic typology.
2209630 ปริจเฉทวิเคราะห์ 3(3-0-9)
ลักษณะต่างๆของปริจเฉททางด้านวากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์ ปริจเฉทในฐานะหน่วยมูลฐานสำหรับการวิเคราะห์ในแขนงต่างๆของภาษาศาสตร์และในสาขาที่เกี่ยวข้อง มโนทัศน์หลักในการศึกษาปริจเฉท ไวยากรณ์ปริจเฉท การฝึกวิเคราะห์ปริจเฉท
Discourse Analysis
DISCOURSE ANALYSIS
Syntactic, semantic, and pragmatic aspects of discourse; discourse as basic unit for analyses in the various branches of linguistics and related fields; main concepts in discourse study; text grammar; practice in discourse analysis.
2209631 กลสัทศาสตร์ 3(3-0-9)
คลื่นเสียงในลักษณะองค์ประกอบเชิงกลของระดับเสียงสูงต่ำ ความดังค่อย ความสั้นยาว และสัทสมบัติอื่นๆที่ได้ยิน ความสัมพันธ์ระหว่างกลสัทศาสตร์กับกลไกในการเปล่งเสียงและการรับรู้เสียงพูด
Acoustic Phonetics
ACOUS PHONETICS
Sound waves as the acoustic correlates of pitch, loudness, length, and other auditory qualities; aspects of acoustic as related to the production and perception of speech sounds.
2209632 นิติสัทศาสตร์ 3 (3-0-9)
ค่าบ่งชี้ทางกลสัทศาสตร์ที่ใช้การวิเคราะห์หลักฐานเสียงพูด การจัดทำคุณลักษณะสามัญผู้พูด การเปรียบเทียบเสียงผู้พูด การสืบจับการดัดเสียง การชี้ตัวจากการได้ยินเสียง ประเด็นคัดสรรเกี่ยวกับบทบาทของนักสัทศาสตร์ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญในกระบวนการยุติธรรม
Forensic Phonetics
FOREN PHONETICS
Acoustic-phonetic cues used in forensic speech analysis; speaker profiling; speaker comparison; voice disguise detection; voice line-up; selected issues in the role of phoneticians as expert witnesses in justice process.
2209635 วจนะภาษาที่สอง 3 (3-0-9)
ทฤษฎีเกี่ยวกับการออกเสียงและการรับรู้เสียงภาษาที่สอง ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อเสียงในภาษาที่สอง การทดลองเกี่ยวกับการออกเสียงและการรับรู้ทั้งเสียงเรียงและเสียงซ้อนในภาษาที่สอง ประเด็นคัดสรรเกี่ยวกับผู้พูดภาษาที่สองและการประยุกต์ใช้
Second Language Speech
L2 SPEECH
Theories of second language speech production and perception; factors influencing second language speech; experiments of segmental and suprasegmental production and perception of second language; selected issues in second language speakers and the application.
2209634 วัจนปฏิบัติศาสตร์ 3(3-0-9)
หลักการและมโนทัศน์พื้นฐานทางวัจนปฏิบัติศาสตร์วัจนกรรมและการจำแนกวัจนกรรม การตีความและการวิเคราะห์ถ้อยคำประเภทต่าง ๆ การวิเคราะห์บทสนทนา
Pragmatics
PRAGMATICS
Principles and basic concepts in pragmatics; speech acts and their classification; interpretations and analyses of various kinds of utterances; conversation analysis.
2209640 สัทวิทยามาตราและสัทวิทยาสัทสัมพันธ์ 3(3-0-9)
ทฤษฎีและการวิเคราะห์ด้านสัทวิทยาเชิงซ้อน พยางค์ คณะและคำทางสัทสัมพันธ์ หน่วยทางสัทสัมพันธ์ระดับเหนือพยางค์ ความสัมพันธ์ระหว่างสัทสัมพันธ์กับวากยสัมพันธ์
Metrical and Prosodic Phonology
METRIC PROS PHON
Theory and analysis in non-linear phonology; syllable, foot, and prosodic word; prosodic units above the syllable; relationship between prosody and syntax.
2209641 วิธีปฏิบัติภาคสนามทางภาษาศาสตร์ 3(3-0-9)
วิธีปฏิบัติภาคสนามทางภาษาศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เทคนิคการเก็บข้อมูลภาษาเพื่อการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์แง่มุมต่าง ๆ โดยเน้นการสัมภาษณ์ การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลภาษาโดยใช้ความรู้ทางทฤษฎีที่ได้จากการเรียนรายวิชาอื่นๆ การจัดทำโครงการและเสนอผลการวิจัยภาคสนามทางภาษาศาสตร์
Linguistic Field Method
LING FIELD METHOD
Theory and practice of linguistic field methods; techniques for eliciting language data for several aspects of linguistic analysis with emphasis on interviewing; recording and analysis of language data collected by applying the theories learned from other linguistic courses; proposal of a field research project and presentation of the results.
2209642 สัทสัมพันธ์ 3 (3-0-9)
การศึกษาสัทสัมพันธ์ตามแนวสัทศาสตร์และสัทวิทยา ลักษณะทางสัทศาสตร์ของสัทสัมพันธ์ ทฤษฎีและวิเคราะห์ด้านสัทวิทยาเชิงซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างสัทสัมพันธ์และองค์ประกอบอื่นของภาษา
Prosody
PROSODY
Phonetic and phonological studies of prosody; phonetic characteristics of prosody; theory and analysis in non-linear phonology; relationship between prosody and other linguistic elements.
2209643 ภาษาศาสตร์ประยุกต์ 3(3-0-9)
การประยุกต์ทฤษฎีภาษาศาสตร์ในการเรียนการสอนภาษาแม่และภาษาต่างประเทศ ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมและจิตวิทยาที่มีผลต่อการเรียนภาษาการออกแบบหลักสูตรการสอนภาษา แนวการสอนภาษา
Applied Linguistics
APPLIED LING
Application of linguistic theories in teaching and learning of native and foreign languages; sociocultural and psychological factors affecting language learning; language curriculum design; approaches in language teaching.
2209645 ภาษาศาสตร์ปริชาน 3 (3-0-9)
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับปริชาน ประเภทและต้นแบบ ตัวแบบและอนุกรมวิธาน อุปลักษณ์และนามนัย อารมณ์และความคิด พหุนัยและปริบท ผังโครงและขอบเขต กรอบและเหตุการณ์ พื้นที่และเวลา ปริภูมิทางจิตและการผสานทางมโนทัศน์ การประยุกต์ใช้กรอบทฤษฎีและระเบียบวิธีทางภาษาศาสตร์ปริชาน
Cognitive Linguistics
COGNITIVE LING
Relationship between language and cognition; categories and prototype; models and taxonomies; metaphor and metonymy; emotion and thought; polysemy and context; schemas and domains; frames and events; space and time; mental space and conceptual blending; applications of theories and methods in cognitive linguistics.
2209646 แบบลักษณ์ภาษา 3 (3-0-9)
ประเภทและสากลลักษณ์ ระเบียบวิธีทางแบบลักษณ์ภาษา แบบลักษณ์ทางสัทวิทยา แบบลักษณ์ทางอรรถศาสตร์ แบบลักษณ์ทางวิทยาหน่วยคำ แบบลักษณ์ทางวากยสัมพันธ์ ลำดับคำ แบบลักษณ์ของประเภทนาม แบบลักษณ์ของประเภทกริยา แบบลักษณ์ของอนุพากย์และประโยค พื้นที่ภาษา แบบลักษณ์ภาษาและการเปลี่ยนแปลง
Linguistic Typology
LING TYPOLOGY
Types and universals; methods in linguistic typology; phonological typology; semantic typology; morphological typology; syntactic typology; word order; typology of nominal categories; typology of verbal categories; typology of clauses and sentences; linguistic areas; linguistic typology and change.
2209653 ภาษาศาสตร์สังคม 3(3-0-9)
หลักการสำคัญในภาษาศาสตร์สังคม การใช้ภาษาในปริบทสังคม การแปรของภาษาตามเงื่อนไขทางสังคม วิธภาษาต่างๆ ได้แก่ ภาษาย่อยสังคม ทำเนียบภาษาและวัจนลีลา
Sociolinguistics
SOCIO LING
Major principles in sociolinguistics; language use in social context; socially conditioned linguistic variation; language varieties: social dialects, registers, and styles.
2209654 ภาษาศาสตร์จิตวิทยา 3(3-0-9)
พฤติกรรมทางภาษาในแง่ที่สัมพันธ์กับปัจจัยทางจิตวิทยา การเรียนรู้และพัฒนาการทางภาษาการรู้จำและการแสดงออกทางภาษา
Psycholinguistics
PSYCHO LING
Linguistic behavior in relation to psychological factors; language acquisition and development; language recognition and production.
2209655 ภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3(3-0-9)
การกระจายของกลุ่มภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแบ่งกลุ่มภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามความสัมพันธ์ทางเชื้อสาย ได้แก่ จีน-ทิเบต ไท-กะได แม้ว-เย้าออสโตรเอเชียติก และ ออสโตรนีเชียน ลักษณะเฉพาะของภาษาแต่ละตระกูลลักษณะประจำภูมิภาคของภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Southeast Asian Linguistics
SE ASIAN LING
Distribution of Southeast Asian languages; genetic classification of these languages: Sino-Tibetan, Tai-Kadai, Miao-Yao, Austroasiatic and Austronesian; characteristics of each family; areal features of Southeast Asian languages.
2209656 ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ 3(3-0-9)
ภาษากับวัฒนธรรม ภาษากับความคิด ภาษากับโลกทัศน์ อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์อุปลักษณ์ การแปล การสัมผัสภาษา
Ethnolinguistics
ETHNO LING
Relations between language and culture; language and thought; language and world view; ethnosemantics; metaphor; translation; language contact.
2209657 วิทยาภาษาถิ่น 3(3-0-9)
การกำหนดภาษา ความสัมพันธ์ระหว่างภาษา ภาษาถิ่นและภาษาถิ่นย่อย พัฒนาการการศึกษาภาษาถิ่น ระเบียบวิธีและตัวแปรทางภาษาที่ใช้ในการศึกษาภาษาถิ่น
Dialectology
DIALECTOLOGY
Language delimitation; relationships among language, dialect, and sub-dialect; development of dialect studies; methodology and linguistic variables in dialect studies.
2209663 การรับภาษา 3(3-0-9)
การรับภาษาโดยธรรมชาติและโดยการฟูมฟัก ปัจจัยที่เอื้อต่อการรับภาษา พัฒนาการด้านการรับภาษาทั้งด้านเสียง การเรียนรู้ความหมายของคำและประโยค และความสามารถเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ ภาษาและสมอง สมมติฐานเกี่ยวกับช่วงสำคัญของการรับภาษา การรับภาษาที่สอง ภาษามือ ความสามารถในการรู้หนังสือ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาที่รับกับวัฒนธรรมและปริชาน
Language Acquisition
LANG ACQUISITION
Language acquisition by nature and nurture; factors influencing language acquisition; language development, including acquisition of sounds, word meanings, sentences and pragmatic abilities; language and the brain; the critical period hypothesis; second language acquisition; sign language; attainment of literacy; relationships between language acquired and culture and cognition.
2209665 แบบลักษณ์ภาษา 3(3-0-9)
การจำแนกภาษาโดยใช้เกณฑ์ทางโครงสร้างภาษา สากลลักษณ์และความหลากหลายทางโครงสร้างของภาษาต่างๆในโลก การเปรียบเทียบโครงสร้างภาษาต่างๆ ที่คัดเลือกมา
Typology
TYPOLOGY
Typological classification of languages; universals and diversity of linguistic structures in languages of the world; comparison of selected linguistic structures in different languages.
2209667 ศัพทวิทยาและการทำพจนานุกรม 3(3-0-9)
ธรรมชาติและความหมายของคำ ความสัมพันธ์ทางความหมายระหว่างคำ ระบบในคลังคำ การทำพจนานุกรม ประเภทของพจนานุกรม การวิเคราะห์และประเมินคุณภาพพจนานุกรมที่คัดเลือกมา
Lexicology and Lexicography
LEXICOL/LEXICO
Nature and meanings of words; semantic relations between words; system in the lexicon; dictionary compilation; types of dictionary; analysis and evaluation of selected dictionaries.
2209670 ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 3(3-0-9)
แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ระบบการประมวลผลภาษาธรรมชาติแบบใช้กฎและแบบอิงสถิติ การประยุกต์ใช้งานด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ได้แก่ การตัดคำ การกำกับหมวดคำ การค้นคืนสารสนเทศ การแจงส่วนประโยค การแปลภาษาด้วยเครื่อง
Computational Linguistics
COMP LING
Concepts and theories related to natural language processing; rule-based and statistical-based natural language processing systems; applications of natural language processing : word segmentation, part-of-speech tagging, information retrieval, parsing, machine translation.
2209671 การเขียนโปรแกรมเพื่อการประมวลผลภาษาธรรมชาติ 3(2-2-8)
มโนทัศน์พื้นฐานของการเขียนโปรแกรมตัวแปรตัวดำเนินการ โครงสร้างข้อมูล การควบคุมลำดับการทำงาน โปรแกรมย่อย การฝึกเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลข้อความ
Programming for Natural Language Processing
PROG NLP
Basic concepts of programming: variables, operators, data structure, control flow, subroutines; text processing programming practicum.
2209673 ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล 3(2-2-8)
การออกแบบและการสร้างคลังข้อมูลภาษา การใช้คลังข้อมูลภาษาในการวิจัยทางภาษาศาสตร์และการวิจัยวรรณกรรม เครื่องมือและวิธีการที่จำเป็นในการสร้าง ค้นคืน และวิเคราะห์คลังข้อมูลภาษา
Corpus Linguistics
CORPUS LING
Design and construction of linguistic corpora; the use of corpora in linguistic and literary research; necessary tools and methodology in constructing, retrieving, and analyzing linguistic corpora.
2209675 ภาษาศาสตร์ภาษาตระกูลขร้า-ไท 3(3-0-9)
การสืบสร้างระบบเสียงภาษาไทดั้งเดิม ความสัมพันธ์ทางเชื้อสายของภาษาในตระกูลขร้า-ไท การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาษาตระกูลขร้า-ไท เรื่องคัดสรรทางภาษาศาสตร์ขร้า-ไท
Kra-Dai Linguistics
KRA-DAI LING
Reconstruction of Proto-Tai sound system; genetic relationships among Kra-Dai languages; language change in Kra-Dai languages; selected issues in Kra-Dai linguistics.
2209676 ปริจเฉทคอมพิวเตอร์ 3 (3-0-9)
ทฤษฎีและขั้นตอนวิธีสำหรับการประมวลผลปริจเฉท ได้แก่ การแก้ปัญหาการอ้างอิงร่วม การใช้คำเชื่อมปริจเฉท ความสัมพันธ์ระดับปริจเฉท การตรวจให้คะแนนความเรียงด้วยเครื่อง และทฤษฎีโครงสร้างความเชื่อมโยง; ทฤษฎีเกี่ยวกับการสนทนาและโต้ตอบ แอพพลิเคชันแบบโต้ตอบ เช่น แชทบอท ระบบการถามตอบ; การเข้าใจและบริหารการโต้ตอบ
Computational Discourse
COMP DISCOURSE
Theories and algorithms for discourse processing: coreference resolution, discourse connectives, discourse relations, automated essay scoring, and Rhetorical Structure Theory; theories in conversation and dialogue; dialogue applications such as chatbots, question-answering systems; dialogue understanding and management.
2209677 แบบจำลองการเรียนรู้หยั่งลึกสำหรับการประมวลผลภาษา 3 (3-0-9)
รูปแทนแบบกระจายของคำและวลี แบบลำลองการเรียนรู้หยั่งลึกต่าง ๆ ได้แก่ เครือข่ายนิวรอลแบบม้วนกลับ เครือข่ายนิวรอลแบบป้อนไปหน้า เครือข่ายนิวรอลแบบย้อนกลับ เครือข่ายนิวรอลแบบลำดับสู่ลำดับ การนำประยุกต์ใช้ในงานด้านเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ
Deep learning models in Natural Language Processing
DEEP NLP
Distributed representation of words and phrases; Deep learning models: convolutional neural networks, feed-forward neural network, recurrent neural network, sequence-to-sequence neural network; Application in language and information technology.
2209705 สัมมนาสัทศาสตร์และสัทวิทยา 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางสัทศาสตร์และสัทวิทยา
Seminar in Phonetics and Phonology
SEM PHONE PHONO
Issues in phonetics and phonology.
2209724 สัมมนาวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์
Seminar in Syntax and Semantics
SEM SYN SEMAN
Issues in syntax and semantics.
2209725 สัมมนาภาษาศาสตร์ปริชานและแบบลักษณ์ภาษา 3 (3-0-9)
เรื่องคัดเฉพาะเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ปริชานและแบบลักษณ์ภาษา
Seminar in Cognitive Linguistics and Linguistic Typology
SEM COG LING TYPO
Selected topics in cognitive linguistics and linguistic typology.
2209741 เทคนิคการวิจัยทางภาษาศาสตร์ 3(2-2-8)
ลักษณะและประเภทของการวิจัยทั่วไปลักษณะของงานวิจัยในแขนงต่างๆ ของภาษาศาสตร์ ทฤษฎีภาษาศาสตร์กับการวิจัย การออกแบบและขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัยทางภาษาศาสตร์
Research Techniques in Linguistics
RES TECH LING
General characteristics and types of research; characteristics of research in various branches of linguistics; linguistic theories and research; research design and procedures in linguistic research.
2209752 สัมมนาภาษาศาสตร์เชิงประวัติ 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติ
Seminar in Historical Linguistics
SEM HIST LING
Issues in historical linguistics.
2209753 สัมมนาภาษาศาสตร์สังคม 3(3-0-9)
ทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมและหัวเรื่องคัดเฉพาะเกี่ยวกับปัญหาการใช้ภาษาในปริบทสังคม
Seminar in Sociolinguistics
SEM SOCIO LING
Sociolinguistic theories and selected topics on problems of language use in social context.
2209754 สัมมนาภาษาศาสตร์จิตวิทยา 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางภาษาศาสตร์จิตวิทยา
Seminar in Psycholinguistics
SEM PSYCHOLING
Issues in psycholinguistics.
2209755 สัมมนาภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางภาษาศาสตร์เอเชียยตะวันออกเฉียงใต้
Seminar in Southeast Asian Linguistics
SEM SEA LING
Issues in Southeast Asian linguistics.
2209756 สัมมนาภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ 3(3-0-9)
ทฤษฎีภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์และหัวข้อคัดเฉพาะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของภาษาวัฒนธรรม ความคิด และโลกทัศน์
Seminar in Ethnolinguistics
SEM ETHNO LING
Ethnolinguistic theories and selected topics on the relations of language, culture, thought and world view.
2209757 เรื่องคัดเฉพาะทางภาษาศาสตร์ 3(3-0-9)
เรื่องทางภาษาศาสตร์ที่น่าสนใจ
Selected Topics in Linguistics
SEL TOP LING
Interesting topics in linguistics.
2209758 สัมมนาวิทยาภาษาถิ่น 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางวิทยาภาษาถิ่น โดยเน้นระเบียบวิธีการศึกษา
Seminar in Dialectology
SEM DIALECTOLOGY
Issues in dialectology with emphasis on methodology.
2209765 สัมมนาแบบลักษณ์ภาษา 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางแบบลักษณ์ภาษา
Seminar in Typology
SEM TYPOLOGY
Issues in typology.
2209770 สัมมนาภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 3(3-0-9)
ประเด็นปัญหาทางภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์
Seminar in Computational Linguistics
SEM COMPU LING
Issues in computational linguistics.
2209772 เอกัตศึกษา 3(0-0-12)
การศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้งด้วยตนเองเกี่ยวกับเรื่องทางภาษาศาสตร์ที่นิสิตสนใจ
Individual Study
INDIVIDUAL STUDY
Thorough study of a specific linguistic topic of the student’s interest.
2209773 การอ่านตามกำหนด 3(0-0-12)
การอ่านและอภิปรายเรื่องทางภาษาศาสตร์ตามความสนใจของนิสิต
Directed Readings
DIR RDING
Reading and discussion of selected linguistic topic of the student’s interest.
2209774 การวิจัยตามกำหนด 3(0-0-12)
การวิจัยทางภาษาศาสตร์ในหัวข้อที่นิสิตสนใจ
Directed Research
DIR RES
Research on a specific linguistic topic of the student’s interest.
2209811 วิทยานิพนธ์ 12
Thesis
2209816 วิทยานิพนธ์ 36
Thesis
2209828 วิทยานิพนธ์ 48
Dissertation
2209829 วิทยานิพนธ์ 60
Dissertation
2209830 วิทยานิพนธ์ 87
Dissertation
2209894 สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต
Doctoral Dissertation Seminar
2209897 การสอบวัดคุณสมบัติ
Qualifying Examination