การบอกความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในภาษามอแกลน 

การบอกความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในภาษามอแกลน 

นิติพงศ์ พิเชฐพันธุ์
อัปเดตล่าสุด 3 สิงหาคม 2024

คำอธิบาย

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจำแนกทางความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในภาษามอแกลน การศึกษาในครั้งนี้ได้มุ่งความสนใจไปยังการวางตำแหน่งแบบสถิตซึ่งเป็นความสัมพันธ์เชิงทอพอโลยีระหว่างวัตถุสองสิ่งในฐานะวิธีการทำความเข้าใจธรรมชาติของภาษามอแกลนในระดับความหมาย 

การวางตำแหน่งแบบสถิตเป็นความสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบสากลลักษณ์ เนื่องจากวงความหมายนี้สัมพันธ์กับความอยู่รอดของมนุษย์และสำคัญต่อการสื่อสารและการรับรู้ของมนุษย์ (Levinson, 2003) ภาษาต่าง ๆ ได้พัฒนาวิธีการทั้งแบบเฉพาะภาษาและแบบร่วมกันข้ามภาษาเพื่อใช้พรรณนาสถานการณ์เกี่ยวกับพื้นที่  

เครื่องมือการวิจัยในที่นี้คือชุดภาพทดสอบความสัมพันธ์ทอพอโลยี (Bowerman & Pederson, 1992) เพื่อเก็บข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์รูปภาษาบอกตำแหน่งและการจำแนกทางความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในภาษามอแกลน เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวใช้วิเคราะห์ภาษามามากกว่า 50 ภาษา จึงช่วยเอื้อให้ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ลักษณะเชิงลึกในภาษามอแกลนที่อาจใช้เปรียบเทียบกับข้ามภาษาได้อย่างเป็นระบบและชัดเจนในอนาคต 

กล่าวได้ว่าการวิเคราะห์การจำแนกทางความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ซึ่งเป็นวงความหมายควบคุมในการวิจัยนี้เผยให้เห็นธรรมชาติของภาษามอแกลนในระดับความหมาย และข้อค้นพบดังกล่าวยังช่วยให้สามารถพรรณนาโครงสร้างทางอรรถศาสตร์ภายในของภาษามอแกลนและอาจเสริมการเปรียบเทียบข้ามภาษาเพื่ออภิปรายลักษณะลู่เข้า/ออกของกลุ่มภาษาที่พูดในเขตภาษาย่อยประเทศไทย

Spatial Language in Moklen 

This research aims to analyze the semantic classification of spatial relationships in the Moklen language. The study focuses on static positioning, a topographical relationship between two objects, as a means of understanding the nature of the Moklen language at the semantic level. 

Static positioning is a universal spatial relationship that is important for human communication and perception (Levinson, 2003). Many languages have developed specific and shared cross-linguistic methods to describe spatial situations. 

The research tool used in this study is the Topological Relations Picture Series (Bowerman & Pederson, 1992) to collect data for analyzing the language of positioning and the semantic classification of spatial relationships in the Moklen language. This tool has been used to research more than 50 languages, allowing for systematic and clear cross-linguistic comparison of the results. 

In conclusion, by analyzing the semantic classification of spatial relationships in the Moklen language, this research reveals the nature of the language at the semantic level. The findings also allow for a description of its internal semantic structure and may facilitate cross-linguistic comparison for discussing convergence/divergence among languages spoken in Thailand’s linguistic subarea. 

แชร์หน้านี้