เสาธง

หมวดหมู่: ประเพณี/พิธีกรรม

เสาธง (มอแกลน: ดามาห์ /damáːʔ/) เป็นเสาสัญลักษณ์ของชุมชนมอแกลน อาจมีลักษณะย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละชุนชน

วันที่บันทึก: 2023-05-03

สิทธิ: BY-NC-ND

พิกัดทางภูมิศาสตร์: ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต, ต.ลำภี อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

คำอธิบาย

เสาธง (มอแกลน: ดามาห์ /damáːʔ/) เป็นเสาสัญลักษณ์ของชุมชนมอแกลน เป็นเสาไม้ซึ่งอาจมีลักษณะย่อยแตกต่างกันไป เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน เช่น ปลายไม้เป็นง่าม หรือมีสัญลักษณ์รูปนก มีผ้าขาวปลูกไว้ที่ปลายเสา เป็นต้น พบเสาธงเป็นอุปกรณ์ในพิธี หรือสถานที่ศักดิ์สทธิ์ อาทิ ในพิธีนอนหาดของชุมชนหินลูกเดียว มีการขว้างเสาธงในพิธีนอนหาดเพื่อสะเดาะเคราะห์ เสาธงยังถูกปักอยู่บริเวณใกล้ศาลของบรรพบุรุษ
ในชุมชนลำปี ใช้เสาในพิธีกรรมการไหว้พ่อตาหลวงจักร ในพิธีจะมีการปีนขึ้นไปแตะนก เสาจะมีการทาน้ำมันทำให้ปีนได้ยาก ผู้ที่ปีนไม่มีการเลือกไว้ก่อน แต่แล้วแต่ว่าในพิธีกรรมองค์จะลงที่ใคร มีเรื่องเล่าว่ามีเสือลงมาจากภูเขาลงมาในบริเวณเสานามะด้วย เมื่อมีพิธีไหว้พ่อตาหลวงจักร วิญญาณเสือจะลงที่ผู้ร่วมพิธี ผู้ร่วมพิธีจึงทำอากัปกิริยาอย่างเสือ วิ่งไปแตะนกบนเสา

แชร์หน้านี้

รายการอื่น ๆ ในหมวดหมู่เดียวกัน