ประเพณีลอยเรือ – การบน

การบน มีสองความหมาย ความหมายแรกคือ การไหว้ บูชา ความหมายที่สองคือการขอสิ่งที่ต้องการเป็นวิถีปฏิบัติของชาวมอแกลนที่พบได้ในทุกชุมชน

ข้าวตอก

ข้าวตอก

ข้าวตอก (มอแกลน: กืมาง /kəmáːŋ/ ) หนึ่งในวัตถุที่ปรากฏในพิธีกรรมของชาวมอแกลน ใช้เพื่อสะเดาะเคราะห์ในพิธีกรรมต่าง ๆ

จอมปลวก

จอมปลวก

จอมปลวก เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษ เรียกว่าอีบุ้ม หรือคุณยาย

ถ้วยตายาย

ถ้วยตายาย

ถ้วยตายาย สัญลักษณ์ของบรรพบุรุษ ถูกจัดเก็บไว้บนหิ้ง

เรือหยวกกล้วย

เรือหยวกกล้วย

เรือ (มอแกลน: กาบาง /kabáːŋ/ ) ทำจากหยวกกล้วยเพื่อลอยเคราะห์ในพิธีลอยเรือซึ่งมีขึ้นทุกขึ้น 15 ค่ำเดือน 6

พิธีแชะแชะ

พิธีแชะแชะ

พิธีแชะแชะเป็นพิธีที่ชาวมอแกลนใช้ในการติดต่อกับวิญญาณบรรพบุรุษผ่านอุปกรณ์คล้ายตะกร้า

เสาธง

เสาธง (มอแกลน: ดามาห์ /damáːʔ/) เป็นเสาสัญลักษณ์ของชุมชนมอแกลน อาจมีลักษณะย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละชุนชน