เกณฑ์การเข้าเอก
- ผ่านรายวิชา ทักษะการค้นคว้าและการใช้คอมพิวเตอร์ (Research and Computer Skills) หรือ วิชาทักษะการค้นคว้าและการค้นคืนสารสนเทศ (Research and Information Retrieval Skills)
- ไม่มีการกำหนดเกรดขั้นต่ำในการยื่นเข้า
หลักสูตร
หลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองโดย Chartered Institute of Library and Information Professionals, UK
มีจำนวนหน่วยกิตรวมวิชาเฉพาะสาขา จำนวน 66 หน่วยกิต ในลักษณะวิชาเอก-โท แบ่งออกเป็นหน่วยกิตของวิชาเอก จำนวน 48 หน่วยกิต (วิชาบังคับ จำนวน 21 หน่วยกิต และวิชาเลือก จำนวน 27 หน่วยกิต) และหน่วยกิตของวิชาโท จำนวน 18 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกเรียนสาขาวิชาโท ได้ทั้งจากในคณะและนอกคณะอักษรศาสตร์

รายวิชาบังคับ
- ภูมิทัศน์สารสนเทศ
- การศึกษาผู้ใช้
- หลักการจัดระบบสารสนเทศ
- บริการสารสนเทศ
- ระบบสารสนเทศสำหรับมนุษยศาสตร์
- การจัดการหน่วยงานบริการสารสนเทศ
- ฝึกงาน
รายวิชาเลือก : มีจำนวน 27 หน่วยกิต (9 วิชา) แบ่งตามกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้
– Service & Design
- การออกแบบและพัฒนาเว็บในงานสารสนเทศ
- บริการถาม-ตอบเชิงประจักษ์
- การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ในงานสารสนเทศ
– Content Creation
- ธุรกิจการพิมพ์สมัยใหม่
- วิชาชีพบรรณาธิการ
- เสวนาบรรณาธิการ
- การประมวลสารสนเทศสำเร็จรูป
– Management for Organizations
- แหล่งสารสนเทศทางธุรกิจ
- การจัดการสารสนเทศในสำนักงาน
- การตลาดและการประชาสัมพันธ์สำหรับองค์กรสารสนเทศ
- การจัดการความรู้ในองค์กร
– Research & Innovation
- สถิติเพื่อการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์
- การจัดการข้อมูลวิจัย
- การศึกษาอิสระ
– Information Society
- สังคมสารสนเทศ
- การสอนการรู้สารสนเทศ
- การจัดการจดหมายเหตุ
- การจัดการสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม
– Data & Information Management
- ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศในสำนักงาน
- ระบบค้นคืนสารสนเทศ
- การแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้อยู่ในรูปดิจิทัล
- การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายในงานสารสนเทศ
- การจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด
- การจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศสำหรับห้องสมุด
- การจัดการฐานข้อมูลสำหรับมนุษยศาสตร์
- เครื่องมือสำหรับมนุษยศาสตร์ดิจิทัล
ปล. นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย
กิจกรรมภายในเอก
เอกสารสนเทศศึกษามักจะมีกิจกรรมทัศนศึกษาเพื่อหาความรู้นอกสถานที่อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ทริปของชมรมสารสนเทศศึกษา ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี การไปทัศนศึกษาจะได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ พร้อมทั้งความสนุก เพราะจะได้ร่วมทำกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการได้ลองทำว่าว การไปช่วยจัดหนังสือให้แก่ห้องสมุดแบบเปิด และกิจกรรมจัดทำหนังสือทำมือ การไปทำกิจกรรมเหล่านี้ยังถือเป็นการท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย
ประสบการณ์ภายในเอก
(ครีม, มายด์ #3) หลังจากที่เรียนหลักการและหลักปฏิบัติในรายวิชาต่าง ๆ ทุกคนจะมีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านการลองฝึกปฏิบัติจริงในรายวิชาฝึกงาน (Practicum) ซึ่งเป็นการนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนในสาขาวิชาสารสนเทศศึกษามาฝึกปฏิบัติงานสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมตามความสนใจของตนเอง เช่น การฝึกงานที่ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ หรือหน่วยงานสารสนเทศอื่น ๆ ได้สร้างสรรค์ผลผลิตที่เป็นโครงการ และเป็นประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงที่มีคุณค่าก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา
แนวทางการประกอบอาชีพ
บรรณารักษ์ (Librarian)
นักบริหารเอกสาร (Records Manager)
นักออกแบบและพัฒนาเว็บ (Website Designer)
นักจัดการความรู้ (Knowledge Manager)
นักออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (UI Developer)
นักจดหมายเหตุ (Archivist)
ภัณฑารักษ์เนื้อหา (Content Creator)
ผู้ช่วยนักวิจัย (Research Assistant)
ผู้สร้างเนื้อหาการตลาด (Marketing Content Creator)
บรรณาธิการ (Editor)
ช่องทางการติดต่อ