เอกศิลปการละคร

เกณฑ์การเข้าเอก

        นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 (ภายใน 2 ภาคการศึกษา) จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้อย่างน้อย 1 รายวิชา โดยผลการศึกษาในรายวิชาดังกล่าว หรือรวมกันจะต้องไม่ต่ำกว่า B
          – THEATRE WORKSHOP และ/หรือ
          – PRINCIPAL OF ACTING และ/หรือ
          – INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS

หลักสูตร

1.1 หลักสูตรเอกเดี่ยว หลักสูตรแบ่งได้เป็น 2 หมวด ได้แก่
          1.1.1 หมวดวิชาเฉพาะ (66 หน่วยกิต)
                    1) วิชาบังคับ (26 หน่วยกิต)
                        – INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS
                        – PRINCIPAL OF ACTING
                        – PLAY ANALYSIS
                        – ACTING I
                        – DIRECTING I
                        – SPEECH AND VOICE TRAINING
                        – THEATRE PRODUCTION AND MANAGEMENT
                        – HISTORY OF THEATRE I
                        – STAGE MANAGEMENT (***ลงทะเบียนเรียนได้ตอนปี 3 เทอม 2)
                        – THEATRE WORKSHOP
                    2) วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต ให้เกรดเป็น S/U)
                        – THEATRE PRACTICUM I
                        – THEATRE PRACTICUM II
                    3) วิชาเลือก (40 หน่วยกิต)
                        – วิชาเลือกในสาขา (31 หน่วยกิต) เลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดก็ได้ที่สังกัดในภาคศิลปะการละครตามความสนใจของตนเอง โดยรายวิชาที่เลือกจะต้องไม่เป็นรายวิชาที่ระบุอยู่ในวิชาบังคับ (จำง่าย ๆ คือรายวิชาใดก็ได้ที่ขึ้นต้นด้วยรหัส 2208___ นอกเหนือจากวิชาบังคับทั้ง 26 หน่วยกิต และวิชาบังคับที่ไม่นับหน่วยกิต)
                        – วิชาเลือกนอกสาขา (9 หน่วยกิต) เลือกเรียนรายวิชานอกสาขาในคณะฯ (รายวิชาที่ไม่ได้สังกัดอยู่ในภาคศิลปการละคร จำง่าย ๆ คือรายวิชาใดก็ได้ในคณะอักษรศาสตร์ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยรหัส 2208___ ) และ/หรือ รายวิชาของคณะครุศาสตร์, นิเทศศาสตร์, ศิลปกรรมศาสตร์, จิตวิทยาและสถาปัตยกรรมศาสตร์
          1.1.2 หมวดเลือกเสรี (6 หน่วยกิต)
                    รายวิชาใดก็ได้ทั้งใน/นอกคณะ

          * การลงทะเบียนเรียนในแต่ละเทอมไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจำเป็นต้องเรียนรายวิชานี้ในเทอม/ปีไหน ขึ้นอยู่กับความสนใจและตารางเวลาของแต่ละบุคคลว่าต้องการเรียนแต่ละรายวิชาในเทอมใดบ้าง
          ** หากต้องการเรียนสายใดควรศึกษาไหนดีว่าต้องลงเรียนอย่างไรในแต่ละเทอมบ้าง เนื่องจากหลายวิชาเปิดแค่เทอมต้น/เทอมปลายเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจำเป็นต้องวางแผนให้ดีว่าจะต้องลงเรียนตัวไหนเทอมไหนบ้าง เพื่อให้เก็บหน่วยกิตครบโดยไม่ขาดเทอม
          *** เมื่อเข้าเอกเรียบร้อยแล้ว นิสิตเอกที่ลงเรียนในรายวิชา THEATRE PRODUCTION AND MANAGEMENT จะต้องลงเรียนคนละเทอมกับรายวิชา THEATRE PRACTICUM I (ง่าย ๆ คือไม่สามารถลงเรียนในเทอมเดียวกันได้ นอกจากมีความจำเป็น เช่น เก็บหน่วยกิตไม่ทัน ซึ่งเด็กเอกจะต้องแบ่งจำนวนกันอย่างละครึ่งเพื่อแบ่งกันลงเรียนคนละเทอม) เช่นเดียวกันกับรายวิชา STAGE MANAGEMENT และ วิชา THEATRE PRACTICUM II ที่จะต้องลงเรียนคนละเทอม

 

 

1.2 หลักสูตรวิชาโท (18 หน่วยกิต)
          1.2.1 วิชาบังคับ (4 หน่วยกิต)
                    – PLAY ANALYSIS
                    – THEATRE WORKSHOP
          1.2.2 วิชาบังคับเลือก (6 หน่วยกิต)
                    – PRINCIPAL OF ACTING
                    – WORLD DRAMATIC LITERATURE I
                    – WORLD DRAMATIC LITERATURE II
                    – WORLD DRAMATIC LITERATURE III
                    – ACTING I
                    – SIGHT AND SOUND IN THEATER
                    – HISTORY OF THEATRE I
                    – HISTORY OF THEATRE II
                    – PLAYWRITING I
                    – STAGE MANAGEMENT
          1.2.3 วิชาเลือก (8 หน่วยกิต) เรียนได้ทุกรายวิชารวมถึงรายวิชาบังคับเลือกที่นิสิตยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในฐานะรายวิชาบังคับเลือกด้วย ***ยกเว้นรายวิชาศิลปนิพนธ์

 

           ปล.นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย

กิจกรรมภายในเอก

          ด้วยความที่รายวิชาส่วนมากในหลักสูตรของภาควิชาเป็นรายวิชาภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี ส่งผลให้นิสิตได้ลงมือทำงานจริงอยู่ตลอดเวลา ทั้งงานละครในรายวิชาที่ตนเองลงเรียน และงานละครของคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นละครภาคที่จะมีอย่างน้อย 2 เรื่องต่อภาคการศึกษา ละครของนิสิตปริญญาโทที่มีตลอดภาคการศึกษา ละครศิลปนิพนธ์ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ที่จะลงมือทำกันในภาคการศึกษาตอนปลาย ละครจากองค์กร/กลุ่มการละครด้านนอกที่มายืมสถานที่ (โรงละครชั้น 6) ในการจัดแสดง และละครอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งนิสิตสามารถเลือกทำงานละครในตำแหน่งที่แต่ละโปรดักชั่นต้องการได้ตามความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น stage crew, costume, lighting, actor เป็นต้น

ประสบการณ์ภายในเอก

(แบม #3) 

          การทำงานในโปรดักชันใดโปรดักชันหนึ่งนั้นต้องการคนทำงานเป็นจำนวนมาก และต้องการคนทำงานในหลากหลายตำแหน่ง ดังนั้นนิสิตทุกคนมีโอกาสได้ลองทำงานจริงอย่างแน่นอน แม้ในบางโปรดักชันสเกลงานอาจจะไม่ใหญ่นักก็ตาม

 

          กระบวนการและขั้นตอนการทำโปรดักชันหนึ่งออกมานั้นใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานตั้งแต่ 1 เดือน ไปจนถึง 3 เดือน (หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสเกลของงานละครเรื่องนั้น ๆ) ดังนั้นทุกคนในโปรดักชั่นจะได้ทำความรู้จักกันมากขึ้นและทำให้ได้รู้จักเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง และอาจารย์ ผ่านการทำงาน หากมีความกังวลว่าตนเองไม่เคยมีประสบการณ์การทำงานด้านละครมาก่อนจะทำงานละครได้หรือไม่นั้น ในฐานะตัวแทนของนิสิตจากเอกละครอยากจะบอกว่าไม่ต้องเป็นกังวลในเรื่องดังกล่าว เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีประสบการณ์ทำงานด้านละครมาก่อน ทุกคนล้วนแต่เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน การเรียนเอกละครเป็นเหมือนสนามทดลองที่ทุกคนจะได้ลองทำงานจริง ซึ่งประสบการณ์ที่แต่ละคนจะได้ไปรับนั้นก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานและโปรดักชันที่เลือกทำ

 

          นอกเหนือจากการทำงานในภาค ก็ยังมีงานจากภายนอกมาให้ได้ลองทำอยู่ตลอดเวลา เนื่องด้วยภาควิชามีกลุ่มที่รวบรวมทั้งนิสิตปัจจุบันและนิสิตที่จบไปแล้วอยู่ เมื่อมีงานนอกที่ต้องการคนทำงานเป็นจำนวนมากรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วก็จะมาบอกงานผ่านกลุ่มแชทดังกล่าว หรือหากต้องการฝึกงานที่อื่นนอกเหนือจากนี้ตามความสนใจก็สามารถยื่นเอกสารเองได้โดยตรงเช่นกัน

แนวทางการประกอบอาชีพ

           เนื่องจากหลักสูตรของภาควิชาค่อนข้างมีความหลากหลาย ดังนั้นผู้เรียนสามารถเลือกสาขาได้ตามความสนใจของตนเอง ไม่ว่าจะด้านการแสดง ด้านการกำกับการแสดง ด้านการเขียนบท ด้านการจัดการ ด้านออกแบบทั้งคอสตูม ฉาก แสง เสียง การทำงานภายหลังจากเรียนจบจึงสามารถทำได้ตามความสนใจไม่ว่าจะไปเป็นผู้กำกับ นักแสดง นักเขียนบท นักออกแบบ รวมไปถึงทีมงานเบื้องหลังอื่น ๆ หรือแม้แต่สายงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับละครเวทีแต่ใช้ความรู้และมีหน้าที่การทำงานที่คล้ายคลึงกันในสายงานสื่อสารมวลชน เป็นต้น

แนะนำอาจารย์

อาจารย์ประจำภาควิชา
จารุณี หงส์จารุ (ครูลุค)
          – วิชา INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS
          – วิชา SPEECH AND VOICE TRAINING
          – วิชา SIGHT AND SOUND IN THEATRE
          – วิชา ORAL INTERPRETATION
          – วิชา SINGING FOR THEATRE
          – วิชา MUSICAL THEATRE
          – วิชา SOUND DESIGN

ดังกลม ณ ป้อมเพชร (ครูเฟียต)
          – วิชา INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS
          – วิชา PLAY ANALYSIS
          – วิชา ACTING II
          – วิชา ORAL INTERPRETATION
          – วิชา DIRECTING III

ปริดา มโนมัยพิบูย์ (ครูบัว)
          – วิชา PLAY ANALYSIS
          – วิชา PLAYWRITING I

พันพัสสา ธูปเทียน (ครูหนิง)
          – วิชา ACTING I
          – วิชา DIRECTING II

ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ (ครูหง)
          – วิชา INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS
          – วิชา SIGHT AND SOUND IN THEATRE
          – วิชา STAGECRAFT
          – วิชา SCENE DESIGN I
          – วิชา COSTUME DESIGN I
          – วิชา SCENE DESIGN II
          – วิชา COSTUME DESIGN II

สาวิตา ดิถียนต์ (ครูสาว)
          – วิชา THEATRE WORKSHOP
          – วิชา THAI THEATRE
          – วิชา PLAYWRITING II

ภัสสร์ศุภางค์ คงบำรุง (ครูพราว)
          – วิชา INTRODUCTION TO DRAMATIC ARTS
          – วิชา WORLD DRAMATIC LITERATURE III
          – วิชา DIRECTING I
          – วิชา HISTORY OF THEATRE I
          – วิชา HISTORY OF THEATRE II

 

อาจารย์พิเศษ
ปวิตร มหาสารินันทน์ (ครูป้อม)
          – วิชา WORLD DRAMATIC LITERATURE II
          – วิชา CRITICISM OF THEATRE, FILM AND TELEVISION

สุพัตรา เครือครองสุข
          – วิชา STAGE LIGHTING I
          – วิชา STAGE LIGHTING II

ตรีดาว อภัยวงศ์
          – วิชา PRINCIPAL OF ACTING