เกณฑ์การเข้าโท
กลุ่มวิชาโทของคณะนิเทศศาสตร์สำหรับนิสิตนอกคณะ หลักสูตรปี พ.ศ. 2561 มีทั้งหมด 4 กลุ่มหลัก ที่นิสิตนอกคณะสามารถเลือกเรียนได้ โดยนิสิตที่ประสงค์เรียนเป็นวิชาโทจะต้องลงทะเบียนเรียนในรายวิชาของกลุ่มนั้น ๆ อย่างน้อย 18 หน่วยกิต (สามารถเรียนเกินได้ แต่ห้ามต่ำกว่า 18 หน่วยกิต) และสามารถเลือกได้เพียง 1 กลุ่มวิชาเท่านั้น แต่ละกลุ่มวิชาก็มีเนื้อหาและวิชาเรียนที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีรายวิชาบังคับและวิชาเลือกแยกย่อยที่ต่างกันอีกด้วย
หลักสูตร
1. กลุ่มวิชาโทนิเทศศาสตร์ (Communication Arts)
เนื้อหาที่เรียนก็จะเกี่ยวกับความเป็นนิเทศศาสตร์ในภาพรวม ทั้งประวัติและที่มา เรื่องเกี่ยวกับสื่อในอดีตและปัจจุบันในทุก ๆ รูปแบบอย่างครอบคลุม รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นของสื่อใหม่แบบต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร การมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคใหม่ เนื้อหาที่เรียนส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันด้วย เพราะนิเทศศาสตร์ดำเนินไปพร้อมกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสังคมพร้อมกับเทคโนโลยี
การเรียนการสอนมักจะเน้นให้นิสิตมีส่วนร่วมกับชั้นเรียน และได้กระตุ้นการใช้ความคิดในแง่มุมต่าง ๆ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานในบางรายวิชา การระดมสมองและอภิปรายแบบกลุ่ม (Group Discussion) การวิเคราะห์จากสิ่งที่เรียนมาอย่างมีเหตุผลและตรรกะ โดยมีอาจารย์ประจำวิชาคอยช่วยและสามารถให้คำปรึกษาได้ถ้าหากว่ามีข้อสงสัยหรือต้องการคำอธิบายใด ๆ โดยภาพรวมแล้วก็ทำให้คนที่เรียนวิชาโทนิเทศศาสตร์ในกลุ่มนี้ได้เรียนในรายวิชาที่มีเนื้อหาหลากหลายอย่างทั่วถึง และเป็นกลุ่มวิชาเดียวใน 4 กลุ่มวิชาที่ไม่มีวิชาเลือก
รายวิชาบังคับ มีทั้งหมด 6 วิชา (18 หน่วยกิต) หมายความว่านิสิตที่ลงเรียนกลุ่มวิชาโทนิเทศศาสตร์จำเป็นต้องลงเรียนวิชาของกลุ่มนี้ทุกวิชา ได้แก่
- การรู้เท่าทันข่าวและสารสนเทศ News and Information Literacy
- สื่อมวลชนศึกษา Mass Media Study
- หลักและปรัชญาการสื่อสารของมนุษย์ Principle and Philosophy of Human Communication
- การประชาสัมพันธ์ร่วมสมัย Contemporary Public Relations
- การโฆษณาในโลกสมัยใหม่ Advertising in Modern World
- โลกภาพยนตร์ Movie World
หมายเหตุ นิสิตอักษรศาสตร์ที่เรียนกลุ่มวิชาโทนิเทศศาสตร์ (กลุ่มที่ 1) แต่มีความสนใจในวิชาอื่น ๆ ของโทนิเทศศาสตร์ด้วย สามารถลงเรียนวิชาของกลุ่มอื่นได้ แต่วิชาที่ลงทะเบียนนั้นจะนับเป็นรายวิชาเลือกเสรี เนื่องจากเงื่อนไขของกลุ่มที่ลงเรียนเป็นโทนั้นมีวิชาบังคับเพียง 6 วิชาและไม่มีวิชาเลือก
(ตัวอย่าง) นิสิตเลือกเรียนกลุ่มวิชาโทนิเทศศาสตร์ (กลุ่มที่ 1) แต่อยากเรียนวิชา 2801200 กราฟิกสารสนเทศและการจัดหน้า ของกลุ่มวิชาโทวารสารสนเทศและสื่อใหม่ (กลุ่มที่ 2) วิชา 2801200 ก็จะถูกนับเป็นวิชาเลือกเสรี
2. กลุ่มวิชาโทวารสารสนเทศและสื่อใหม่ (Journalism, Information and New Media)
เป็นกลุ่มวิชาโทที่มีสาขาย่อยออกไปอีก 2 สาขา ได้แก่ สาขาย่อยวารสารศาสตร์ (Journalism Track) และสาขาย่อยสื่อใหม่ ดิจิทัล และสารสนเทศ (New Media, Digital Media and Information Track) หมายความว่าถ้านิสิตที่ประสงค์จะเรียนวิชาในกลุ่มนี้เป็นวิชาโท จะต้องทำการลงทะเบียนเรียนวิชาบังคับของกลุ่มสาขาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ และลงเรียนวิชาบังคับของสาชาย่อย (เลือกเพียง 1 สาขาเท่านั้น) โดยหน่วยกิตที่ลงเรียนทั้งหมดจะต้องไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้
- รายวิชาบังคับสาขา (Required)
- กราฟิกสารสนเทศและการจัดหน้า Infographic and Layout
- ทฤษฎีวารสารสนเทศ Journalism and Information Theories
- การกำกับดูแลสื่อวารสารศาสตร์และสื่อใหม่ Regulation of Journalistic Media and New Media
- รายวิชาบังคับสาขาย่อย (Required) สาขาละ 15 หน่วยกิต
- สาขาย่อยวารสารศาสตร์ (Journalism Track)
- การเขียนเชิงวารสารศาสตร์ Journalistic Writing
- พัฒนาการวารสารสนเทศ Development of Journalism and Information
- การรายงานข่าวเชิงลึก In-depth Reporting
- การบรรณาธิการนิตยสาร Magazine Editing
- วารสารศาสตร์สิ่งพิมพ์และออนไลน์ Print and Online Journalism
- สาขาย่อยสื่อใหม่ ดิจิทัล และสารสนเทศ (New Media, Digital Media and Information Track)
- การผลิตสื่อใหม่ New Media Production
- สังคมและวัฒนธรรมดิจิทัล Digital Society and Culture
- การจัดการระบบวารสารสนเทศ Management of Information System
- การออกแบบสารสาหรับสื่อดิจิทัล Content Design for Digital Media
- สื่อใหม่ศึกษา New Media Studies
- สาขาย่อยวารสารศาสตร์ (Journalism Track)
- รายวิชาเลือกสาขา
นอกจากวิชาบังคับแล้วก็ยังสามารถลงเรียนวิชาเลือกของสาขา โดยเลือกจากกลุ่มใดก็ได้ ดังนี้- กลุ่มวิชาแนวปฏิบัติและทักษะวารสารศาสตร์ สื่อดิจิทัล และสื่อใหม่ (Practices and Skills for Journalism, Digital and New Media)
- กลุ่มวิชาทฤษฎีและแนวคิดวารสารศาสตร์ (Theories and Concepts in Journalism)
- กลุ่มวิชาทฤษฎีและแนวคิดสื่อสารมวลชน/สารสนเทศ(Theories and Concepts in Mass Communication/Information)
- กลุ่มวิชาทั่วไป (General Courses)
สามารถดูรายชื่อวิชา คำอธิบายเกี่ยวกับรายวิชาและรายละเอียดต่าง ๆ ของสาขาได้ที่ https://www.commarts.chula.ac.th/upload/2018/08/A3A32D3D-FD54-9E61-4B79-089ADDE5EEF4/คู่มือกลุ่มวิชาโทคณะนิเทศศาสตร์_final%2015กค61%20แก้ไขหน้า55-58.pdf
3. กลุ่มวิชาโทวาทนิเทศ (Speech Communication)
นิสิตนอกคณะนิเทศศาสตร์ที่ประสงค์จะเลือกกลุ่มวิชาโทวาทนิเทศ สามารถเลือกเรียนรายวิชาใดก็ได้ของสาขาวิชาวาทนิเทศ (รหัส 2804xxx) ให้ครบ 18 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับสาขา
- การสื่อสารภายในบุคคล Intrapersonal Communication
- การสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่ม Interpersonal and Group Communication
- การพูดต่อสาธารณชน Public Speaking
- ปรัชญาวาทศาสตร์ Philosophy of Rhetoric
- การโต้แย้งแสดงเหตุผลและการโน้มน้าวใจ Argumentation and Persuasion
- การสื่อสารองค์กร Organizational Communication
- การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม Intercultural Communication
- การบริหารการฝึกอบรม Training Management
- การออกแบบสารและวาทนิพนธ์ Speech Design and Composition
- รายวิชาเลือกสาขา
สามารถเลือกเรียนรายวิชาใด จากกลุ่มใดก็ได้ต่อไปนี้
- กลุ่มวิชาวาทศาสตร์และการสื่อสารสาธารณะ (Rhetoric and Public Communication)
- กลุ่มวิชาภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture)
- กลุ่มวิชาวาทนิเทศกับการพัฒนาศักยภาพบุคคล (Speech Communication and Personal Development)
- กลุ่มวิชาการสื่อสารของมนุษย์และเทคโนโลยี (Human Communication and Technology)
- กลุ่มวิชาทั่วไป (General Courses)
สามารถดูรายชื่อวิชา คำอธิบายเกี่ยวกับรายวิชาและรายละเอียดต่าง ๆ ของสาขาได้ที่ https://www.commarts.chula.ac.th/upload/2018/08/A3A32D3D-FD54-9E61-4B79-089ADDE5EEF4/คู่มือกลุ่มวิชาโทคณะนิเทศศาสตร์_final%2015กค61%20แก้ไขหน้า55-58.pdf
4. กลุ่มวิชาโทสื่อสารการแสดง (Performing Arts)
- รายวิชาบังคับสาขา
- ปริทรรศน์สื่อสารการแสดง Performing Arts Overview
- ห้องปฏิบัติการสาหรับสื่อสารการแสดง Performance Laboratory for Acting Communication
- ห้องปฏิบัติการการแสดงสาหรับการกำกับ Performance Laboratory for Directing
- การฝึกฝนและใช้เสียงเชิงวินิจสาร Vocal Training and Oral Interpretation
- การเขียนบทการแสดง Performance Writing
- การบริหารโครงการสื่อสารการแสดง Performing Arts Project Management
- การวิเคราะห์วรรณกรรมการแสดง Performing Arts Literature Analysis
- รายวิชาเลือกสาขา
สามารถเลือกเรียนรายวิชาใด จากกลุ่มใดก็ได้ต่อไปนี้
- กลุ่มวิชาการแสดงและกํากับการแสดง (Acting and Directing)
- กลุ่มวิชาการเขียนบท (Dramaturgy and Script Writing)
- กลุ่มวิชาการออกแบบและสร้างสรรค์การแสดง (Artistic Design and Creation in Performing Arts)
- กลุ่มวิชาการแสดงเชิงวัฒนธรรมสังคมและสื่อสารการแสดงศึกษา (Socio-Cultural Performance and Performing Arts Studies)
- กลุ่มวิชาทั่วไป (General Courses)
สามารถดูรายชื่อวิชา คำอธิบายเกี่ยวกับรายวิชาและรายละเอียดต่าง ๆ ของสาขาได้ที่ https://www.commarts.chula.ac.th/upload/2018/08/A3A32D3D-FD54-9E61-4B79-089ADDE5EEF4/คู่มือกลุ่มวิชาโทคณะนิเทศศาสตร์_final%2015กค61%20แก้ไขหน้า55-58.pdf
ปล.นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย
กิจกรรมภายในเอก
กิจกรรมส่วนใหญ่ในโท (อิงจากสาขาวิชาโทนิเทศศาสตร์กลุ่มที่ 1) จะขึ้นอยู่กับวิชาที่เรียนและอาจารย์ผู้สอน ไม่ได้เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันแบบกลุ่มโทใหญ่ ๆ รวมทุกสาขา ส่วนมากก็อยู่ในคาบเรียน หรืออาจจะมีนอกเวลาเรียนบ้างแต่ก็เป็น assignment ของรายวิชา เช่น การอภิปรายและนำเสนอแบบกลุ่มตามหัวข้อต่าง ๆ
ประสบการณ์ภายในเอก
ปิ่น #3 เราอยู่ในโทนิเทศสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือว่ากลุ่มที่ 1 เป็นสาขาที่มีวิชาบังคับ 6 วิชา ครบ 18 หน่วยกิตพอดีตามที่บังคับ คนส่วนใหญ่ก็จะเลือกเรียนสาขานี้เพราะว่าไม่ต้องเก็บวิชาเยอะ ไม่ต้องเข้าใจอะไรยากมาก เรียนครบก็คือครบหน่วยกิตวิชาโทเลย ทำให้หลายคนก็มักจะเลือกโทนี้ คณะอื่น ๆ ก็เหมือนกัน การเรียนในโทสาขานี้ทำให้ได้เรียนร่วมกับนิสิตจากคณะอื่นด้วย รู้สึกว่าโทนิเทศทำให้เราได้เรียนอะไรที่เราอยากเรียนในด้านนี้ ได้แสดงออกถึงความเป็นตัวเองของเราจริง ๆ ร่วมไปกับสิ่งที่อาจารย์สอนในชั้นเรียน เช่น วิชา Mass Media Study (สื่อมวลชนศึกษา) ได้เรียนเกี่ยวกับสื่อรูปแบบต่าง ๆ การสร้างสรรค์ การนำเสนอสิ่งต่าง ๆ ในสื่อ รวมถึงสื่อใหม่ ตอนเทอมที่เราเรียน (1/63) ท้ายเทอมก็มีโปรเจ็กต์ให้เราลองสร้างสรรค์สื่อของตัวเองออกมาโดยที่สิ่งนั้นจะต้องเป็น original content ของเรา ไม่ต้องทำออกมาเป็นรูปเป็นร่างจริง ๆ แต่ให้ลองดราฟท์ออกมา นำเสนอไอเดีย มู้ดบอร์ด แนวทางของงาน แล้วก็อาจจะลองสร้างแบบจำลองให้อาจารย์ดู โดยมีโจทย์ ณ ตอนนั้นคือ New Normal เป็นช่วงที่โควิดระบาดหนัก ๆ ระลอกแรก ๆ พอดี อาจารย์ให้คำปรึกษาตลอดช่วงทำโปรเจ็กต์ บวกกับอาจารย์แต่ละท่านที่มาสอนในวิชาโทเก่งมาก ๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่มีประสบการณ์การทำงานในสิ่งที่เขามาสอนเราจริง ๆ ทำให้รู้สึกว่าได้เรียนจากคนที่เชี่ยวชาญ เรื่องที่อาจารย์นำมาเล่า มาสอน กับประสบการณ์ของอาจารย์ทำให้การเรียนสนุกมาก รู้สึกอินไซต์ แบบเหมือนเราเป็นวงใน บางทีก็มีการบรรยายโดยวิทยากรจากองค์กรภายนอก จากประสบการณ์ที่เราได้เรียนมาก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสารสนเทศ เกี่ยวกับ Literacy แล้วก็มีวิทยากรจากบริษัทที่ทำเอเจนซี่ทางด้านการประชาสัมพันธ์ ดูแลภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ บริษัทต่าง ๆ ก็ได้เรียนเรื่องการประชาสัมพันธ์ จัดการวิกฤตที่เกิดขึ้นกับแบรนด์ การแก้ปัญหา การพัฒนา ฯลฯ เรื่องเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ก็จะได้เรียนในวิชาการประชาสัมพันธ์ร่วมสมัย (Contemporary Public Relations) ที่พูดถึงมาสองวิชาเป็นวิชาที่เราเลือกมาว่าชอบที่สุดสองอันดับจาก 6 วิชา เพราะว่าส่วนตัวเราสนใจเรื่องการสร้างสรรค์งานเพราะชอบการทำงานสายครีเอทีฟ การมาเรียนวิชาโทนิเทศเลยทำให้รู้สึกว่าได้เรียนอะไรที่ชอบแล้วก็มีความสุขมาก
แนวทางการประกอบอาชีพ
การนำความรู้จากคณะอักษรศาสตร์กับวิชาโทนิเทศศาสตร์มาบูรณาการทำให้มองเห็นลู่ทางในการไปต่อกับเส้นทางข้างหน้าได้หลากหลายมาก เชื่อว่าหลายคนที่สนใจและเลือกเรียนโทนิเทศศาสตร์ก็อาจจะมีแนวทางที่สนใจอยู่บ้างแล้ว การมาเรียนวิชาโทจึงเหมือนเป็นการที่ช่วยให้ได้มองเห็นสิ่งที่ตัวเองชอบ ถนัด และทำได้ดีชัดเจนขึ้น การนำไปประกอบอาชีพนอกจากจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียนมาแล้วก็ยังขึ้นอยู่กับความสนใจด้วย
วิชาเอกจากคณะอักษรศาสตร์ทำให้มีความได้เปรียบในงานที่ต้องใช้ความรู้ด้านภาษา สังคม และมนุษยศาสตร์ และความรู้จากวิชาโทนิเทศนิเทศศาสตร์ก็ทำให้คุ้นชินกับสายงานในด้านสื่อ การผลิตสื่อ การสื่อสารและนำเสนอ การสร้างสรรค์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์และการทำงานกับสาธารณชน ซึ่งเมื่อมีทั้งสองอย่างนี้ ก็ยิ่งทำให้ทางเลือกที่มีเปิดกว้างยิ่งขึ้น เช่น การทำงานกับ PR Agency ที่มีทั้งไทยและต่างชาติ นิตยสาร สำนักพิมพ์ บริษัทและองค์กรเอกชนต่าง ๆ ที่นอกจากจะมีความสามารถด้านภาษาแล้วก็ยังสามารถนำ ความรู้ด้านการสื่อสาร การสร้างสรรค์ต่าง ๆ จากวิชาโทมาใช้ได้ แทนที่จะเป็นการทำงานที่ใช้ทักษะความรู้ด้านอักษรศาสตร์เพียงอย่างเดียว อาจลองจินตนาการถึงคนที่มีความสามารถ 2 in 1 ซึ่งความหลากหลายของสิ่งที่เรียนมาก็ทำให้มีโอกาสในการได้รับการจ้างงานสูงกว่าในกรณีที่คู่แข่งมีความสามารถแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง และยังสามารถปรับตัวเข้ากับสายงานต่าง ๆ ที่สนใจ ที่เกี่ยวข้องกับสายอักษรศาสตร์/มนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์และสายนิเทศศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย
ช่องทางการติดต่อ