เกณฑ์การเข้าเอก
ต้องลงทะเบียนเรียน 3 รายวิชาดังต่อไปนี้ (นับเป็นวิชา Gen Lang ได้)
– French I (ภาษาฝรั่งเศส 1)
– French II (ภาษาฝรั่งเศส 2)
– French III (ภาษาฝรั่งเศส 3)
หากจะเข้าเอก วิชา French I และ II เฉลี่ยต้องได้ C+ (2.50) ขึ้นไป
หลักสูตร
หลักสูตรของเอกฝรั่งเศส เป็นโปรแกรมเอก-โท
วิชาจะประกอบไปด้วยวิชาด้านทักษะ และวรรณคดี
วิชาบังคับเอก 18 หน่วยกิต :
– French Grammatical Structure (โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาฝรั่งเศส)
– French Civilization (อารยธรรมฝรั่งเศส)
– French Composition (การเขียนภาษาฝรั่งเศส)
– Oral French (การพูดภาษาฝรั่งเศส)
– French Literature (วรรณคดีฝรั่งเศส)
– French Research Writing (การค้นคว้าและเขียนรายงานภาษาฝรั่งเศส)
วิชาบังคับเลือก 30 หน่วยกิต เช่น:
– French Phonetics (สัทศาสตร์ฝรั่งเศส)
– French Visual Arts (ทัศนศิลป์ฝรั่งเศส)
– French-Thai Translation I (การแปลฝรั่งเศส-ไทย 1)
– French for Journalism I (ภาษาฝรั่งเศสด้านการหนังสือพิมพ์ 1)
– French Drama (บทละครฝรั่งเศส)
– Selected Study in French Culture (การศึกษาเฉพาะเรื่องด้านวัฒนธรรมฝรั่งเศส)
– Selected Study in French Ideas (การศึกษาเฉพาะเรื่องด้านความคิดฝรั่งเศส)
– Selected French Authors (นักประพันธ์ฝรั่งเศสที่เลือกสรร)
– French for Business (ภาษาฝรั่งเศสด้านธุรกิจ)
– French for Tourism (ภาษาฝรั่งเศสด้านการท่องเที่ยว)
*หมายเหตุ บางวิชาอาจจะไม่ได้เปิดสอนทุกปีการศึกษา
รายละเอียดฉบับเต็มที่: www.arts.chula.ac.th/02program/curriculum/major61/French-12.pdf
ปล. นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย
กิจกรรมภายในเอก
– การเสวนาต่าง ๆ ตามวาระโอกาสในช่วงนั้น ๆ เช่น กิจกรรมเสวนา “Notre-Dame de Paris จาก Victor Hugo ถึงวันนี้” เมื่อปี 2562 หรือ “อ่านฝรั่งเศส 2564: 75 ปี เจ้าชายน้อย”
– ทัศนศึกษาเชิงวัฒนธรรมฝรั่งเศส อาจเกี่ยวเนื่องกับรายวิชาที่เรียน (หากจังหวะตรงกัน) เช่น การจัดกิจกรรมชมนิทรรศการ Vincent van Gough ให้แก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชา French Visual Arts ในปี 2563 และการชมละครเวทีเรื่อง The Father (Le Père) ที่อาจารย์ในภาคเป็นผู้แปลบทจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย ในปี 2564
– การเข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการต่าง ๆ เช่น โครงการแข่งขันความเป็นเลิศทางภาษาฝรั่งเศสระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร หรือ การแข่งขันภาษาฝรั่งเศสโดยสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย (ATPF) ซึ่งอาจารย์ในภาคฯ คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนนิสิตเสมอ
ประสบการณ์ภายในเอก
(Kao #ปี4)
มีการฝึกงานในบริษัทและองค์กรต่าง ๆ เช่น Alliance Française de Bangkok, L’Officiel Thailand, GroundControl, True, กระทรวงการต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ทางภาคฯ ไม่มีบังคับการฝึกงานให้จบตามหลักสูตรแต่อย่างใด
แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพได้ทุกแขนง ทั้งในมหาวิทยาลัย องค์กรรัฐ และบริษัทเอกชนต่าง ๆ หรือจะไปศึกษาต่อต่างประเทศก็ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ก่อนหรือหลังเรียนจบปี 4 ควรสอบวัดระดับภาษาฝรั่งเศส ขั้นต่ำ DELF B2 ไว้ เพื่อยืนยันถึงความสามารถทางภาษา และนำไปใช้สมัครเรียนต่อ/ทำงานได้
ช่องทางการติดต่อ