เกณฑ์การเข้าเอก
แบบเลือกวิชาเอก (เลือกวิชาเอกเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2)
ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ไม่ต่ำกว่า 2.00 หากต่ำกว่าที่กำหนดจะพิจารณาเป็นรายคนไป
ไม่มีรายวิชาเฉพาะที่ต้องเรียนก่อนเข้าสังกัดเอก
แบบยื่นแฟ้มสะสมผลงานเข้ารอบคัดเลือกนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการ สาขาภูมิศาสตร์ เข้าศึกษา (รอบ 1)
เป็นนิสิตเอกภูมิศาสตร์ตั้งแต่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ไม่ต้องเลือกวิชาเอกเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2
ต้องเข้าศึกษาวิชาเอกวิชาภูมิศาสตร์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิชาเอกได้
รายละเอียดสำหรับปีการศึกษา 2565
คุณสมบัติและเงื่อนไข :
มีสัญชาติไทย
กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เป็นผู้แทนศูนย์ภูมิศาสตรโอลิมปิก
เกณฑ์ :
GPAX :
ผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องมี GPAX 5 ภาคการศึกษา รวมไม่ต่ำกว่า 3.25 และแยกตามรายวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องมี GPAX 6 ภาคการศึกษา รวมไม่ต่ำกว่า 3.25 และแยกตามรายวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไม่ต่ำกว่า 3.00
ผลการเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ :
GPAX รวม 5 หรือ 6 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.25 หรือ
TOELF (iBT) ไม่ต่ำกว่า 40 คะแนน หรือ
IELTS (Academic) ไม่ต่ำกว่า 5 คะแนน หรือ
CUTEP ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน
ผลคะแนนทดสอบใช้ย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี
แบบสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ เลือกสาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ (รอบ 3)
เป็นนิสิตเอกภูมิศาสตร์ตั้งแต่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ไม่ต้องเลือกวิชาเอกเมื่อขึ้นชั้นปีที่ 2
ต้องเข้าศึกษาวิชาเอกวิชาภูมิศาสตร์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิชาเอกได้
รายละเอียดสำหรับปีการศึกษา 2565
คุณสมบัติของผู้สมัคร :
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
GPAX (ม.4-ม.6) ไม่ต่ำกว่า 2.75 (ไม่นำไปคิดคะแนน)
เกณฑ์ :
PAT 1 (คณิตศาสตร์) ร้อยละ 25
9 วิชาสามัญ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 25
9 วิชาสามัญ วิชาภาษาอังกฤษ ร้อยละ 25
9 วิชาสามัญ วิชาสังคม ร้อยละ 25
หลักสูตร
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
โครงสร้างหลักสูตร วิชาเอก
– วิชาเลือก 30 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร วิชาโท
– วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ เช่น
– Physical Systems of the Environment (บังคับสำหรับวิชาโท)
– Remote Sensing I
– Geographic Information System I
– Introduction to Human Geography (บังคับสำหรับวิชาโท)
– Resources and Environment
– Principles of Cartography (บังคับสำหรับวิชาโท)
– Senior Project in Geography
รายวิชาเลือก เช่น
– Economic Geography
– Introduction to Geography of Settlement
– Geography of Tourism
– Geography of ASEAN Tourism
– Climate Change and Environmental Management
สามารถศึกษารายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ) พ.ศ. 2561 – Department of Geography (chula.ac.th)
ปล.นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย
กิจกรรมภายในเอก
(นิสิตชั้นปีที่ 4)
– งานสัมมนาทางภูมิศาสตร์
– การออกภาคสนาม
– การบรรยายจากวิทยากรตามแต่ละรายวิชา
ประสบการณ์ภายในเอก
(นิสิตชั้นปีที่ 3 และ นิสิตชั้นปีที่ 4)
– การฝึกงาน
– ไม่มีผลต่อการจบการศึกษา เป็นการฝึกงานเพื่อหาประสบการณ์
– สถานที่ฝึกงานที่ทางสาขาติดต่อได้
– ESRI Thailand
– กรมผังเมือง
– กรมแผนที่ทหาร
– อื่น ๆ
แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถเข้าทำงานในฐานะ นักภูมิศาสตร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักผังเมือง นักพัฒนาชุมชน อาจารย์ นักวิจัย และอื่น ๆ ได้อีกหลายงาน
ช่องทางการติดต่อ