โทรัฐศาสตร์

เกณฑ์การเข้าโท

  • เป็นนิสิตในโปรแกรมเอก-โท อาทิ ภาควิชาภาษาตะวันตก (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาเลียน ภาษาสเปน) ภาควิชาภาษาตะวันออก (ภาษาเกาหลี ไทย) ภาควิชาศิลปะการละคร ภาควิชาปรัชญา ภาควิชาสารนิเทศ เป็นต้น
  • แจ้งความจำนงลงรายชื่อล่วงหน้าที่ฝ่ายวิชาการของคณะรัฐศาสตร์ ก่อนเริ่มการศึกษากลุ่มวิชาโท 1 ภาคการศึกษา
  • การลงทะเบียนเรียนให้นิสิตปรึกษาอาจารย์ประจําวิชาก่อน และรับชั้นเรียนละไม่เกิน 60 คน ยกเว้นวิชาบังคับ

*หมายเหตุ สามารถย้ายวิชาโทได้ภายหลัง

หลักสูตร

  • จํานวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด 18 หน่วยกิต
  • รายวิชาบังคับ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ INTRO TO POL SCI (3 หน่วยกิต)

 

          นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาต่าง ๆ ให้ครบอย่างน้อย 15 หน่วยกิต ได้จากกลุ่มวิชาต่าง ๆ (คละกลุ่มได้) ดังนี้

 

2.1 กลุ่มวิชาการปกครอง

  1. รัฐและสังคม STATE/SOCIETY
  2. การเมืองไทยสมัยใหม่ MODERN THAI POL
  3. ปรัชญาการเมือง POL PHILO
  4. ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ COMPA DEM REGI
  5. การเมืองเรื่องการพัฒนา POL DEV
  6. การเมืองการปกครองท้องถิ่นและภูมิภาค LOC REGIO POL GOV
  7. รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง CON/POL INST
  8. การปกครองและการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ GOV & POL SE ASIA
  9. พฤติกรรมทางการเมือง POL BEHAVIOR
  10. เพศกับการเมือง GEND/POL

2.2 กลุ่มวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ INTRO IR
  2. ความรุนแรงในการเมืองโลกยุคใหม่ VIOL MOD WLD POL
  3. การเจรจาต่อรองระหว่างประเทศ INTL NEG
  4. ประเด็นปัญหาความมั่นคงในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนา REG SEC ISS DVCs
  5. ยุทธศาสตร์ศึกษา STRATEGIC STUDIES
  6. อาเซียนในการเมืองโลก ASEAN WRLD POL
  7. การเมืองการปกครองของจีน CHINESE GOVT&POL
  8. นโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ FGN POLI SEASIA
  9. นโยบายต่างประเทศของจีน CHINESE FORGN POL
  10. นโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น JAPAN FORGN POL
  11. นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา US FOREIGN POLICY
  12. นโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง FORGN POL MIDEAST
  13. ความมั่นคงในการเมืองโลก SECURITY WRLD POL
  14. นโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ FORGN POL S ASIA
  15. การเมืองในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ POL INTL ECON REL
  16. การเมืองโลกผ่านสื่อภาพยนตร์ GLOBAL POL FILM
  17. นโยบายต่างประเทศของประเทศในยุโรปและรัสเซีย FGN POL EUR/RUS
  18. ความขัดแย้งระหว่างประเทศ INTL CON
  19. เศรษฐกิจการเมืองโลกในชีวิตประจําวัน GPE EVERYDAY LIFE

2.3 กลุ่มวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

  1. มานุษยวิทยาธุรกิจ BUSI ANTHRO
  2. อาชญาวิทยา CRIMINOLOGY

2.4 กลุ่มวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  1. ความรู้เบื้องตนเกี่ยวกับการบริหารการคลังสาธารณะ INTRO PUB FIN ADM
  2. ระบบการบริหารงานของไทย THAI ADM SYSTEM
  3. การบริหารและสังคม ADMIN/SOCIETY
  4. การบริหารงานบุคคล PERSON ADM
  5. นโยบายสาธารณะ PUBLIC POLICY
  6. สถิติสําหรับนักบริหาร STAT FOR ADM
  7. เทคนิคและวิธีการปรับปรุงการบริหาร TECH/ METH ADM IMP
  8. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HUM RES DEV
  9. กระบวนการจัดการงบประมาณของรัฐ PUB BUD MGT PROC
  10. ทฤษฎีองค์การสาธารณะ ORG THEO

ปล.นิสิตควรตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากรายวิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ในบางวิชานิสิตควรติดต่ออาจารย์ผู้สอนก่อนทำการลงทะเบียนเรียนด้วย

ประสบการณ์ภายในโท

(นิสิตโทรัฐศาสตร์ #3)

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ 

รูปแบบการเรียน : lecture และมีงานโปรเจกต์ 1 ชิ้น คือ ให้นิสิตจับกลุ่มในชั้นเรียนทำโปสเตอร์หัวข้อใดก็ได้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ หรือการเมืองการปกครอง อาทิ คณะราษฎร์และประวัติศาสตร์การชุมนุม เพศ LGBTQ+ อุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีใต้กับอำนาจอ่อน (Soft power) ฯลฯ

รายวิชานี้เกี่ยวกับ ความหมาย ความเป็นมา และขอบข่ายของการศึกษารัฐศาสตร์ (เน้นหนักไปทางทฤษฎีการเมืองและกระแสหลัก) แนวคิดหลักในการศึกษาทางรัฐศาสตร์ ได้แก่ การเมืองเปรียบเทียบ รัฐและระบบราชการ การกําหนดนโยบายสาธารณะ การเมืองระหว่างประเทศ และความคิดทางการเมือง ระบบการเมือง ลัทธิและอุดมการณ์ทางการเมือง อาทิ รัฐศาสตร์คืออะไร  สามารถพิสูจน์ได้หรือไม่ เกิดคำนี้ขึ้นครั้งแรกในสมัยไหน องค์ประกอบของรัฐสี่ประการมีคืออะไร อุดมการณ์ทางการเมืองของแต่ละขั้วเป็นอย่างไร เช่น แบบคอมมิวนิสต์ แบบสังคมนิยม แบบเสรีนิยม แบบฟาสชิสม์ ฯลฯ ความหมาย องค์ประกอบ แนวทาง และหลักการของประชาธิปไตยเป็นอย่างไร กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง การเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีอะไรบ้าง

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

รูปแบบการเรียน : lecture & discuss 

หมายเหตุ : reading materials ทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ

รายวิชานี้เกี่ยวกับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศท้ังในมิติเชิงวิเคราะห์และเชิงประจักษ์แนวคิด แนวทางการศึกษา และระดับการวิเคราะห์ที่สำคัญซึ่งใช้เป็นหลักสำหรับการอธิบายและทำความเข้าใจความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โครงสร้างสถาบันและกระบวนการพื้นฐานที่กำกับหรือรองรับปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐด้วยกัน และระหว่างรัฐกับตัวแสดงอื่น เครื่องมือและวิธีการที่ตัวแสดงใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเด็นร่วมสมัยและความท้าทายใหม่ในการเมืองโลก ยกตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจการเมืองโลกกับชีวิตประจำวันของเรา : กระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน (เนื้อหมูและโทรศัพท์มือถือ iPhone) โดยอาณาจักรนายทุนที่ขูดรีดทั้งแรงงานคนและแรงงานสัตว์ เศรษฐกิจการเมืองโลกกับปัญหาประชากรล้นเกิน ขั้วตรงข้ามของทุน : ปัญหาประชากรโลกล้นเกิน (Surplus population) และทุนนิยมข้ามชาติ (TCC-Transnational Capitalist Class) อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำสุดโต่งจากระบบทุนนิยม 

เศรษฐกิจการเมืองโลกกับปัญหาการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ: ระบบความคิดที่ว่ามนุษย์ไม่เท่ากัน และพหุวัฒนธรรมนิยมหรือภาษา PC เป็นการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติแบบกลับหัวกลับหาง หรือกระทั่งการ์ตูนดิสนีย์ สอดแทรกเนื้อหาการเหยียดสีผิวและถูกใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อในยุคสงครามเย็น

 

การเมืองโลกผ่านสื่อภาพยนตร์

รูปแบบการเรียน : lecture & ชมภาพยนตร์ในชั้นเรียน & discuss 

หมายเหตุ : reading materials ส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ

รายวิชานี้เกี่ยวกับ การศึกษาเศรษฐกิจการเมืองโลกผ่านภาพยนตรคัดสรรซึ่งมีประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองโลกและสะท้อนค่านิยมที่แตกต่าง อุดมการณ์ ผลประโยชน์ และจุดยืนทางจริยธรรมของตัวแสดงที่มีสถานะ และ ภูมิหลังแตกต่างกัน บทบาทของภาพยนตร์ในฐานะสื่อที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดและ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างทัศนคติ การรับรู้ วิธีคิด และความเชื่อฝังใจที่คนทั่วไปมีต่อตัวแสดงและปัญหาต่าง ๆ ในการเมืองโลก

 

นโยบายต่างประเทศของประเทศในยุโรปและรัสเซีย 

รูปแบบการเรียน : lecture & discuss

หมายเหตุ : reading materials และการเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ

รายวิชานี้เกี่ยวกับ ปัจจัยภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการกําหนดนโยบายต่างประเทศของประเทศในยุโรปและรัสเซีย กระบวนการกําหนดนโยบายตางประเทศของประเทศที่สําคัญ ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคนับตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์กับประเทศมหา    อํานาจนอกภูมิภาคและประเทศกําลังพัฒนาและผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ บทบาทของอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียในสหประชาชาติเยอรมนีฝรั่งเศส และอังกฤษกับการบูรณาการของยุโรปการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและผลกระทบ ประเด็นปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพได้ทุกแขนง ทั้งในมหาวิทยาลัย บริษัทเอกชนต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรรัฐทั้งในและระหว่างประเทศ อาทิ สำนักงาน, สถาบัน, เทศบาล ฯลฯ 

กระทรวง : กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถานทูต หรือองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol)ธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่องค์การห้ามอาวุธเคมี (OPCW) สหประชาชาติ (UN) กลุ่มธนาคารโลก (WBG) องค์การการค้าโลก (WTO)

ช่องทางการติดต่อ