ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมวงสนทนาถึงนัยยะ “การมองโลกในแง่ดี” ในบริบทสังคมร่วมสมัย ในหัวข้อ “เมื่อไฟลามทุ่ง ลาเวนเดอร์: แนวคิดการมองโลกในแง่ “ดีดี๊ดี” ที่ “ร้ายเหลือทน” ของ Lauren Berlant

ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับเพจ REVIEW เวิ่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมวงสนทนาถึงนัยยะ “การมองโลกในแง่ดี” ในบริบทสังคมร่วมสมัย ในหัวข้อ “เมื่อไฟลามทุ่ง ลาเวนเดอร์: แนวคิดการมองโลกในแง่ “ดีดี๊ดี” ที่ “ร้ายเหลือทน” ของ Lauren Berlant

ในวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคมนี้ เข้าถึงได้สองช่องทางที่ Facebook Page Review เวิ่น และเพจ CompLit Chula เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป

โดยแขกรับเชิญในครั้งนี้ ได้แก่ อ. ดร.ชัยรัตน์ พลมุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“จะมาชวนลองตั้งคำถามกันว่า ในด้านหนึ่ง แม้ว่าการใช้ชีวิตตั้งเป้าหมายที่จะไปให้ถึง แนวคิด “ชีวิตที่ดี” รวมถึงตั้งรับประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในแง่ดี ดูเป็นหนทางที่จะทำให้ชีวิต “สงบสุข” และนำไปสู่ “ชีวิตดี ๆ ” แต่ในอีกด้านหนึ่งสำหรับนักวิชาการในทางมนุษยศาสตร์ และมานุษยวิทยามองว่า การมองโลกในแง่ดี และการกระเสือกกระสนหาชีวิตที่ดีตามที่สังคมนิยาม ดูจะเป็นเหมือนการศิโรราบและติดกับดักของสังคม โดยที่เราไม่เคยตั้งคำถามใด ๆ ไปโดยปริยาย Lauren Berlant นักวิชาการอเมริกัน ได้นำเสนอมิติในมุมมองของการมองโลกในแง่ดี ไว้ในหนังสือ Cruel Optimism ของเธอเมื่อปี 2011 ซึ่งเป็นหนังสือที่สั่นสะเทือนวงการวิชาการอเมริกา ให้หันมาตั้งคำถามและมองมิติของสังคม การเมือง วัฒนธรรม อเมริกันในปัจจุบันแบบใหม่ และแนวคิดดังกล่าวยังส่งอิทธิพลไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย”

[post-views]