ภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัลเช่นนี้ ความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างให้เราได้มองและทำความเข้าใจโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดนนี้อีกด้วย การเรียนภาษาอังกฤษผ่านวรรณกรรมเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มให้การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เป็นเพียงการมีเครื่องมือสื่อสาร แต่เพิ่มศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกด้วย นิยายวิทยาศาสตร์ อาทิ Twilight Zone, The Outer Limits และ Black Mirror’s Nosedive มีเนื้อหาที่สนุกสนาน น่าตื่นเต้น ทันสมัย เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและมีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคม เช่น ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงเป็นตัวบทที่ดีที่สามารถนำมาใช้ศึกษาภาษาอังกฤษทั้งด้านเนื้อหาและภาษาได้เป็นอย่างดี
จึงได้จัดโครงการอบรม “เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ (ระดับสูง)” แก่ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับสูง (ผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับสูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า) โดยจะมีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งเป็นกลุ่ม เป็นคู่ รายบุคคล เช่น การอ่านนิยาย/ เรื่องสั้น ดูละคร/ ซีรีส์ แล้วอภิปรายหรือทำกิจกรรมต่างๆ
อบรมในรูปแบบ (ออนไลน์) ทุกวันจันทร์ และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 19 เมษายน – 9 มิถุนายน 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ราคาท่านละ 3,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม
Click เพื่อลงทะเบียน
***ผู้ใช้งานใหม่ โปรดลงทะเบียนสร้าง account ก่อน
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ประธานคณะกรรมการโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 พื้นที่อาคารจุฬานิวาสโดยพบผู้ติดเชื้อ 20 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ภาคส่วนต่างๆได้ดูแลอย่างใกล้ชิด
– ปิดรับสมัครแล้ว – คอร์สอบรมภาษาต่างประเทศสำหรับบุคคลทั่วไป รอบต้นปี 2564
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จัดโครงการอบรมภาษาต่างประเทศสำหรับบุคคลภายนอก เพื่อตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้ยังใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อความสะดวก ปลอดภัย ของผู้สอนและผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคน
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 31 ธันวาคม 2563
ปัจจุบันอุตสาหกรรมงานแปลอาศัยความช่วยเหลือจากเครื่องมือหรือโปรแกรมช่วยแปล (Computer Assisted Translation tools : CAT tools) จำนวนมาก แนวทางการแปลโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแปล (Machine-assisted human translation หรือ MAHT) เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจงานแปลและนักแปลอย่างยิ่งเนื่องจากสร้างข้อได้เปรียบเรื่องราคา เพิ่มความเร็วในการทำงาน และช่วยควบคุมคุณภาพงานแปลได้ดีกว่าการแปลโดยใช้มนุษย์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีสถาบันสอนการใช้โปรแกรมช่วยแปลที่แพร่หลาย มีเพียงบริษัทแปลที่สอนวิธีการใช้โปรแกรมช่วยแปลให้กับนักแปลเป็นการภายในเท่านั้น นักแปลอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพทางภาษาที่ไม่สังกัดหน่วยงานใดๆ จึงต้องเรียนรู้แนวคิดและวิธีการใช้เครื่องมือช่วยแปลด้วยตนเอง
โครงการอบรมโปรแกรมช่วยแปลเบื้องต้น (CAT Tools) นี้ มุ่งให้ความรู้ผู้เรียนเรื่องแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมช่วยแปล (CAT Tools) เช่น หน่วยความจำคำแปล (Translation Memory หรือ TM) คลังคำศัพท์ (Term Base หรือ TB) การจัดเรียงคำแปล (Alignment) ผ่านโปรแกรมช่วยแปลที่เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรม 4 โปรแกรม คือ SDL Trados Studio 2019, SDL Multiterm, MemoQ 9.1 และ Memsource (Cloud-based) ผู้เรียนจะได้เพิ่มความรู้ในทางทฤษฎีและได้ลองใช้งานโปรแกรมทั้งสี่ในทางปฏิบัติขั้นพื้นฐานเต็มรูปแบบ
หัวข้อในการอบรม
– ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการแปล
– องค์ประกอบพื้นฐานในโปรแกรมช่วยแปล
– ฟังก์ชันพื้นฐานในโปรแกรมช่วยแปล
– โปรแกรม TRADOS 2019
– โปรแกรม MULTITERM
– โปรแกรม MemoQ 9.1
– โปรแกรม Memsource
ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2564 ถึงวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 9.00-12.00 น. จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง
ค่าอบรมรวมเอกสารประกอบการอบรม คนละ 7,500 บาท
ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน สามารถใช้โปรแกรม MS Office หรือโปรแกรมพื้นฐานอื่นๆ โดยไม่มีอุปสรรค ต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนตัวในการใช้เรียนเนื่องจากเป็นการสอนการใช้โปรแกรมเป็นหลัก
ข้อกำหนดซอฟต์แวร์ขั้นต่ำ (System Requirement)
Click เพื่อลงทะเบียน
***ผู้ใช้งานใหม่ โปรดลงทะเบียนสร้าง account ก่อน
อาหารยอดนิยมจากประเทศต่างๆ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความเป็นมาอย่างไรไปหาคำตอบกันใน : Food Explorer โดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: หลายคนสงสัยว่า สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร มีความหมายว่าอย่างไร ถึงรากถึงโคนมีคำตอบมาให้ แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ไปชมกันเลย
คุณจะไม่พลาดเรื่องเด็ดๆ ส่งถึงมือคุณโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
: สาระความรู้จากหนังสือ มีอะไรเด็ดๆมาบอกเล่ากันบ้าง ไปดูกันเลย
คุณจะไม่พลาดเรื่องเด็ดๆ ส่งถึงมือคุณโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ยั้งคิด : ดำเนินรายการโดย ตุ๊กตา จมาพร นิสิตเก่าภาควิชาปรัชญา อธิบายกัน
การเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS)
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ที่อยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถานีสยาม (Siam Station) และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium Station) จากนั้นท่านสามารถใช้บริการรถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเดินทางเข้ามาในมหาวิทยาลัยได้
การเดินทางโดยรถไฟฟ้ามหานคร (MRT)
ท่านสามารถโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) มายังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ โดยลงที่สถานีสามย่าน (Samyan Station) เมื่อใช้ทางออกหมายเลข 2 จะเจออาคารจัตุรัสจามจุรี ซึ่งเป็นอาคารของมหาวิทยาลัยที่ท่านจะสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการสังเกต เพื่อเดินทางไปยังจุดอื่นๆ ต่อไป ซึ่งท่านสามารถเดิน หรือโดยสารรถประจำทาง เพื่อความสะดวกไปยังสถานที่ต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้
การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขสมก
สายรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ที่ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีมากมาย หลายสายรอบมหาวิทยาลัย โดยสามารถแบ่งเส้นทางเดินรถตามสายถนนทั้ง 4 สาย ดังนี้
-ถนนพระราม 1 สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 11 25 54 73 73ก 79 และ 204
-ถนนพระราม 4 สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 21 34 47 50 67 93 และ 141
-ถนนพญาไท สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 27 29 36 36 ก 65 และ 501
-ถนนอังรีดูนังต์ สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 16 21 และ 141
ผู้เรียนทุกท่านสามารถมาลงทะเบียนรับหนังสือและตารางห้องเรียนได้ที่ โถงชั้น 1 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. เป็นต้นไปในวันเสาร์ วันธรรมดาจะเริ่ม 17.00 น. เป็นต้นไป
ส่วนผู้ที่นำรถยนต์มา สามารถจอดได้ที่อาคารจอดรถ 2 ซึ่งอยู่ติดกับอาคารมหาจักรีสิรินธร โดยมีค่าบริการ ชั่วโมงละ 15 บาท