ในโลกปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำคัญในการสื่อสารระหว่างประเทศ ไม่แต่เพียงกับชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเท่านั้น หากแต่ยังกับผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารอีกด้วย
อันเนื่องมาจากการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นหลักเช่นนี้ ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่รวมทั้งสถาบันสอนภาษา ให้ความสนใจกับการเรียนภาษาอังกฤษเชิงสื่อสารกันมาก จนทำให้การเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษถูกละเลยไป ทั้งที่อันที่จริงแล้ว ไวยากรณ์คืออาภรณ์ของภาษา เป็นหลักภาษาพื้นฐานที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ต่อยอดทางการศึกษาได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยคที่ซับซ้อนแยบคายขึ้น หรือในการเขียน การขาดความรู้ทางไวยากรณ์ที่ดีจะทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นไปโดยมีขีดจำกัดอย่างยิ่ง
อบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม – 21 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
รวม 45 ชั่วโมง ราคาท่านละ 7,500 บาท เริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 26 มิถุนายน 2566
โครงการอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน”
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 20 – 21 มิถุนายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้พัฒนารูปแบบการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน และรูปแบบการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการของ Phonics ที่แสดงความสัมพันธ์ของเสียงกับพยัญชนะ ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ได้รับการวิจัยแล้วว่าช่วยวางพื้นฐานและสร้างความเข้าใจในตัวภาษา เพื่อต่อยอดทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ได้ดียิ่งขึ้น การสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics เริ่มเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียน และเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สมควรวางรากฐานที่ถูกต้องให้ การอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน” จึงเหมาะกับคุณครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองที่สอนภาษาอังกฤษเสริมให้ลูก ๆ เองที่บ้าน และผู้ที่สนใจ Phonics เพื่อต่อยอดทักษะทางภาษาและวิชาชีพ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมความรู้ทางการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อสร้างเครื่องมือการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ให้แก่ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
3. เพื่อสนองนโยบายของคณะอักษรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน
3.หัวข้อการอบรม
– พื้นฐานการเรียนรู้เสียงและภาษาในเด็กปฐมวัย
– เทคนิคการพัฒนาการรับรู้เสียงและการประมวลผลทางเสียงในเด็กปฐมวัย
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
– กฎการประสมเสียงภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน (พยางค์ปิด, พยางค์เปิด, silent -e, word families)
– Sight word พื้นฐาน
– เทคนิคการจัดกิจกรรม Phonics ระดับพื้นฐาน
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม 1 กลุ่ม
5. ระยะเวลาในการอบรม
วันเสาร์ที่ 20 และวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563 เวลา 10:00 – 12.30 น. ผ่าน Application Zoom.US
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 16 มิถุนายน 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 1,990 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์เปรมรินทร์ มิลินทสูต กรรมการ
3. อาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาโปรตุเกสเพื่อการสื่อสาร กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาโปรตุเกสแก่ผู้ที่ไม่มีและมีพื้นฐานความรู้มาก่อน เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้ได้มี ทบทวนหรือเพิ่มเติมความรู้รวมทั้งทักษะการสื่อสารภาษาโปรตุเกส และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและส่วนงานของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาโปรตุเกสขั้นพื้นฐาน: ทักษะการสื่อสารในระดับเบื้องต้น ได้แก่ ฟังเพื่อความเข้าใจ ออกเสียง พูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด อ่านตัวบทขนาดสั้น เขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งไวยากรณ์เบื้องต้น คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การฟังเพื่อความเข้าใจ การออกเสียงการพูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด การอ่านตัวบท การเขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบ โดยใช้ความรู้ทางไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวันที่ได้ศึกษาในไปในระหว่างการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารดังกล่าว
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาโปรตุเกสพื้นฐาน 1 กลุ่ม 1 (ระดับ A1-1) ทุกวันเสาร์เวลา 15.00 – 18.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email: aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาโปรตุเกสขั้นพื้นฐาน 1: ไม่ต้องมีพื้นฐาน
9.ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาโปรตุเกสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม “ฝึกอังกฤษ พิชิตเรียนต่อ (ระดับกลาง)” (ออนไลน์)
จัดโดยภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 25 สิงหาคม 2563
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในทุกวงการ ทั้งการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ในแวดวงธุรกิจ และที่สำคัญใช้ในการศึกษาต่อ ดังจะเห็นได้จากการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรต่างๆ จำเป็นต้องแสดงระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน และเมื่อเข้าไปศึกษาในหลักสูตรแล้วผู้เรียนยังมีความจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม “ฝึกอังกฤษ พิชิตเรียนต่อ (ระดับกลาง)” สำหรับผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับ 4.5 – 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับ 34 – 78 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาต่อ และเพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพิงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ที่ต้องใช้ในการสอบภาษาอังกฤษ เช่น IELTS หรือ ที่ต้องใช้ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
2. เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ที่ต้องใช้ในการเรียนโดยเฉพาะในหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนเป็นหลัก เช่น หลักสูตรนานาชาติ หรือการศึกษาต่อในต่างประเทศ
3. หัวข้อการอบรม
1. การอ่านและทำความเข้าใจตัวบทวิชาการ
2. การเขียนเรียงความขนาดสั้น การเขียนสรุปข้อมูลที่ปรากฏในตาราง แผนภูมิและการแสดงข้อมูลผ่านภาพประเภทอื่นๆ
3. การฟังภาษาอังกฤษที่ปรากฏทั้งในชีวิตประจำวันและเชิงวิชาการ เช่น การบรรยายและสัมมนา
4. การพูด สนทนา โต้ตอบ แสดงความคิดเห็น การเล่าเรื่อง และอภิปรายหัวข้อต่างๆ ที่ได้รับความสนใจอยู่ในปัจจุบัน
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-30 คน เน้นการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ใน
ขณะเดียวกัน ผู้เรียนจะมีโอกาสได้เรียนรู้ผ่านแบบฝึกหัดที่อาจารย์มอบให้ด้วย
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 25 สิงหาคม 2563 รวม 40 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 087-3244991 , 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
เป็นผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับ 4.5 – 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับ 34 – 78 ที่สนใจภาษาอังกฤษ หรือวางแผนจะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย หรือหลักสูตรในต่างประเทศ
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
มีการสอบวัดผลทักษะการอ่าน การฟัง และการเขียนก่อนจบการอบรม
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนจะได้เพิ่มพูนทักษะความสามารถในการตอบคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจตัวบทเชิงวิชาการ
2. ผู้เรียนจะได้เพิ่มพูนทักษะการเขียนสรุปข้อมูลจากตารางและแผนภูมิและการเขียนเรียงความขนาดสั้นในหัวข้อที่หลากหลาย
3. ผู้เรียนจะได้เพิ่มพูนทักษะการฟังเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบทบรรยายเชิงวิชาการและบทสนทนาในชีวิตประจำวัน
4. ผู้เรียนจะได้เพิ่มพูนทักษะการพูด สนทนา และอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม “เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ (ระดับสูง)” กลางปี 2563 (ออนไลน์)
(Learning English through Science Fiction)
จัดโดย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กรกฏาคม 2563
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัลเช่นนี้ ความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างให้เราได้มองและทำความเข้าใจโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดนนี้อีกด้วย การเรียนภาษาอังกฤษผ่านวรรณกรรมเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มให้การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เป็นเพียงการมีเครื่องมือสื่อสาร แต่เพิ่มศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกด้วย นิยายวิทยาศาสตร์ อาทิ Twilight Zone, The Outer Limits และ Black Mirror’s Nosedive มีเนื้อหาที่สนุกสนาน น่าตื่นเต้น ทันสมัย เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและมีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคม เช่น ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงเป็นตัวบทที่ดีที่สามารถนำมาใช้ศึกษาภาษาอังกฤษทั้งด้านเนื้อหาและภาษาได้เป็นอย่างดี ทางภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม “เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ (ระดับสูง)” แก่ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับสูง (ผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับสูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า) เพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพึงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถและความคล่องแคล่วในการพูดและฟังภาษาอังกฤษ
2. เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในตัวบทพูดและเขียน
3. เพื่อพัฒนาทักษาะและความมั่นใจในการอ่านภาษาอังกฤษระดับสูง
4. เพื่อพัฒนาทักษะและความมั่นใจในการเขียน
3. หัวข้อการอบรม
1. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษผ่านบางส่วนของนิยายและเรื่องสั้นของนักเขียน เช่น Isaac Asimov, Ray Bradbury และ Octavia Butler
2. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษผ่านละครทีวีที่มาจากนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น Twilight Zone, The Outer Limits, และ Black Mirror’s Nosedive (S3 E1).
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 25 คน ในห้องเรียนจะมีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งเป็นกลุ่ม เป็นคู่ รายบุคคล เช่น การอ่านนิยาย/ เรื่องสั้น ดูละคร/ ซีรีส์ แล้วอภิปรายหรือทำกิจกรรมต่างๆ
5. ระยะเวลาการอบรม
ทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กรกฏาคม 2563 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : AksornChula@Chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 087-3244991 , 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง คือ เป็นผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL สูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า และสนใจหรือชอบอ่านเรื่องแต่ง
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสาร คนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
จะประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการจัดดำเนินการโดยให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
คณะอักษรศาสตร์จะออกวุฒิบัตรให้เป็นหลักฐานว่าได้ผ่านการอบรมเฉพาะผู้ที่รับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรม
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ผ่านการอบรมจะมีทักษะและความมั่นใจในการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษในระดับสูง
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม “ฟัง-พูดอังกฤษเพื่อชีวิตยุคดิจิทัล (ระดับกลาง)” กลางปี 2563 (ออนไลน์)
จัดโดย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กรกฎาคม 2563
1. หลักการและเหตุผล
การฟังและสนทนาภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัลที่ไร้พรมแดนเช่นนี้ เราจะได้ยินได้ฟังภาษาอังกฤษอยู่ทั่วไป และบ่อยครั้งที่มีความจำเป็นที่จะต้องสนทนาเป็นภาษาอังกฤษอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่บุคคลทั่วไปในสังคมจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้มีความเข้าใจในโลกปัจจุบันอีกด้วย ทางภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม “ฟัง-พูดอังกฤษเพื่อชีวิตยุคดิจิทัล (ระดับกลาง)” แก่ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง (ผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับ 4.5–6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับ 34 – 78) เพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพึงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการฟังภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและที่ปรากฏในสื่อดิจิทัลต่างๆ
2. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและในบริบทต่างๆ
3. เพื่อพัฒนาความรู้ทางคำศัพท์และไวยากรณ์ที่มักใช้ในสังคมร่วมสมัย
3. หัวข้อการอบรม
1. ฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษผ่าน podcast, คลิปจากวิดีโอและรายการวิทยุในหัวข้อร่วมสมัยต่างๆ
2. ฝึกทักษะการพูดในบริบทต่างๆ เช่น การแสดงความคิดเห็นในประเด็นร่วมสมัย การอธิบายเหตุผล การเล่าเรื่องและประสบการณ์ส่วนตัว
3. ฝึกการออกเสียงในระดับคำและระดับประโยคให้ถูกต้อง
4. คำศัพท์ และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับหัวข้อในการฝึกฟังและพูดหรือสนทนา
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-30 คน ในห้องเรียนจะมีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฟังและพูดภาษาอังกฤษ เช่น การอภิปราย เกมส์ โต้วาที บทบาทสมมุติ การนำเสนอ การทำ podcast ของตัวเอง เป็นต้น
5. ระยะเวลาการอบรม
ทุกวันจันทร์ และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กรกฎาคม 2563 รวม 28 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : AksornChula@Chula.ac.th
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง คือ เป็นผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับ 4.5–6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับ 34 – 78 หรือเทียบเท่า
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสาร คนละ 2,800 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
จะประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการจัดดำเนินการโดยให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
คณะอักษรศาสตร์จะออกวุฒิบัตรให้เป็นหลักฐานว่าได้ผ่านการอบรมเฉพาะผู้ที่รับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรม
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ผ่านการอบรมจะช่วยปรับปรุงหรือเพิ่มพูนความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการสนทนาในชีวิตประจำวัน
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว (หลักสูตรออนไลน์)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 27 มีนาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งผลให้คนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมากำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและมีแนวโน้มของความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่สิ่งที่พบคือคนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมากลับยังมีน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการคนไทยที่สามารถใช้ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยวได้ ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกิดความตื่นตัวในด้านการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ด้านสังคมและศิลปวัฒนธรรม ดังนั้น คนไทยที่มีความรู้ภาษาเมียนมาซึ่งประกอบด้วยทักษะด้านการฟัง พูด อ่านและเขียนจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเมียนมาศึกษาในมิติเชิงลึกในด้านต่างๆ ควบคู่ไปด้วยเพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถเปรียบเทียบและเข้าใจลักษณะสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยและเมียนมาได้ สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการ “ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว” ขึ้นเพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะภาษาเมียนมาและองค์ความรู้ด้านเมียนมาศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพให้กับหน่วยงานและผู้ประกอบการไทยที่ต้องใช้ภาษาเมียนมาและเพื่อนำไปใช้ต่อยอดจนเกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ไวยากรณ์เมียนมาที่จำเป็นต่อการสื่อสาร สามารถฟัง พูด อ่านและเขียนตลอดจนมีความรู้ด้านเมียนมาศึกษาอย่างรอบด้าน
2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมเมียนมา อันจะอำนวยประโยชน์ต่อการติดต่อสื่อสาร ดำเนินธุรกิจ กับชาวเมียนมา
3. เพื่อบริการวิชาการให้แก่หน่วยงานและผู้ประกอบการไทยที่สนใจภาษาเมียนมา อันเป็นการเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
3. หัวข้อการอบรม
การอบรมครั้งนี้เน้นฝึกฝนทักษะฟัง พูด อ่านและเขียน ตลอดจนความรู้ด้านเมียนมาศึกษาที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพทางธุรกิจและการท่องเที่ยวรวมถึงการเปรียบเทียบลักษณะสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยและเมียนมา
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอนและสื่อออนไลน์ที่ผู้เรียนสามารถฝึกฝนเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 27 มีนาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02 218 4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
1.ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
2.ภาษาเมียนมาเพื่อธุรกิจและการท่องเที่ยว 2 มีพื้นฐานอักขรวิธี ระบบเสียงและไวยากรณ์ภาษาเมียนมาเบื้องต้น
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมจะได้ฝึกฝนทักษะภาษาเมียนมาเพื่อการสื่อสารและมีความรู้ด้านเมียนมาศึกษาเพื่อนำไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพ
2. โครงการนี้ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลและหน่อยงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะภาษาเมียนมาและความรู้ด้านเมียนมาศึกษา
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาอังกฤษสู่ TOEIC กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำคัญอันดับหนึ่งของโลกก็ว่าได้ ดังจะเห็นได้จากมีการจัดทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษต่างๆมากมายทั่วโลก อาทิ TOEFL Cambridge Proficiency Test หนึ่งในการสอบที่ได้รับความสำคัญเป็นอย่างมากคือ TOEIC หรือ Test of English for International Communication ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ สำหรับประเทศที่ไม่ได้ใช้เป็นภาษาแม่ เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษสากลที่มีสถิติของการนำไปใช้สมัครงานมากที่สุดแบบหนึ่งในโลก เนื่องจาก TOEIC เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถ ตั้งแต่ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษในระดับเริ่มต้น จนถึงผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับสูงที่ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา ในประเทศไทย มีหลายหน่วยงานที่ต้องการผลการสอบ TOEIC เช่น ธุรกิจการบิน การโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การเงิน โรงพยาบาล อุตสาหกรรมยานยนต์ รวมทั้งบริษัทเอกชนต่างๆ โดยนำไปใช้สำหรับพิจารณาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สมัครงาน เลื่อนตำแหน่ง หรือการสอบคัดเลือกไปอบรม สัมมนาในต่างประเทศ เป็นต้น เนื่องจากการสอบ TOEIC มีความสำคัญต่อบุคคลทั่วไปและนำไปใช้ในวงกว้างเช่นที่กล่าวมา ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมความรู้ทางภาษาอังกฤษสำหรับการสอบ TOEIC ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้ภาษาอังกฤษที่เหมาะสมต่อการสอบ TOEIC ต่อผู้เข้าอบรม
2. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ทำข้อสอบ TOEIC โดยมีอาจารย์อธิบายให้ความกระจ่างและชี้แนะแนวทางด้านไวยากรณ์ การอ่าน และการฟัง
3. เพื่อสนองนโยบายของคณะอักษรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน
3.หัวข้อการอบรม
ไวยากรณ์ การอ่าน และทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม 1 กลุ่ม ไม่เกิน 40 คน
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 25 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีความรู้และสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานได้อยู่แล้ว
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ที่เหมาะสมต่อการสอบ TOEIC ต่อผู้เข้าอบรม
2. ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทำข้อสอบ TOEIC โดยมีอาจารย์อธิบายให้ความกระจ่างและชี้แนะแนวทางด้านไวยากรณ์ การอ่าน และการฟัง
3. คณะอักษรศาสตร์ตอบสนองนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. รศ.ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร ต้นปี 2563
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษามาเลย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันคนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยวไปประเทศกลุ่มอาหรับ ส่วนชาวอาหรับก็เดินทางเข้ามาประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการตื่นตัวทางธุรกิจ การค้า และการติดต่อสื่อสาร ภาษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ การเปิดการอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารจึงเป็นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาอาหรับเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน คณะอักษรศาสตร์ ตระหนักถึงบทบาทของคณะ ฯ ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนจึงเปิดอบรมโครงการภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารเกี่ยวข้องกับการต้อนรับหรือติดต่อกับชาวอาหรับ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอันจะส่งผลให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมภาษาอาหรับแก่บุคคลทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอาหรับ เพื่อการสื่อสาร
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ
3. หัวข้อการอบรม
1. ทำความรู้จักและคุ้นเคยกับระบบเสียงของภาษาอาหรับทั้งเสียงสระและพยัญชนะ
2. เรียนรู้คำศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว เช่น การทักทาย การแนะนำตัว การถามทาง และการซื้อของ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การเช่ารถ โรงแรมและที่พัก เป็นต้น
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว ส่วนภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาอาหรับ ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2562 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาอาหรับขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2562 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 6 มกราคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 1 ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 2 ผู้สมัครต้องผ่านภาษาอาหรับพื้นฐาน 1 หรืออาจารย์ผู้สอนอนุญาติ
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,500 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมการเขียนอักษรอาหรับวิจิตร ต้นปี 2563
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษามาเลย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรมีความเป็นมายาวนานที่แสดงถึงศิลปะ วัฒนธรรม ปรัชญาตลอดจนจิตวิญญาณของชาวอาหรับ ศาตร์และศิลป์แขนงนี้ได้รับปฏิบัติการถ่ายทอดกันเรื่อยมานับพันปี ซึ่งเห็นได้จากภาพเขียนตามสถานที่ หนังสือ เอกสาร และสิ่งของต่าง ๆ ที่ปรากฏลวดลายอักษรอาหรับที่สวยงาม ปัจจุบันการเขียนอักษรอาหรับวิจิตรได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการนำอักษรอาหรับวิจิตรไปประยุกต์ใช้ในขีวิตประจำวันในโอกาสต่าง ๆ สร้างมูลค่าให้กับสินค้า และสร้างความประทำใจให้กับผู้พบเห็น การเปิดการอบรมการเขียนอักษรอาหรับวิจิตรเป็นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านการเขียนภาษาอาหรับเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน คณะอักษรศาสตร์ ตระหนักถึงบทบาทของคณะ ฯ ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนจึงเปิดอบรมโครงการการเขียนอักษรอาหรับวิจิตร ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับการเขียนอักษรอาหรับวิจิตร อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมบุคคลทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถในการเขียนอักษรอาหรับแบบต่าง ๆ
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ
3. หัวข้อการอบรม
การเขียนแต่ละแบบมีเนื้อหาเกี่ยวกับ เรียนรู้ประวัติ ความเป็นมา หลักการเขียนอักษรอาหรับแบบมาตรฐานและอักษรอาหรับเชิงวิจิตร ฝึกปฏิบัติเขียนอักษรอาหรับ
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว ส่วนภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบนัสค์ (Nask)ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2563 2563 รวม 30 ชั่วโมง
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบดีวาน (Diwani) ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2563 รวม 30 ชั่วโมง
อักษรอาหรับวิจิตรหรรษา สำหรับเด็ก (5-12 ปี) ทุกวันอาทิตย์ 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน 2563 2563 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 6 มกราคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบนัสค์ (Nask)ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบดีวาน (Diwani) ผู้สมัครต้องผ่านภาษาอาหรับพื้นฐาน 1 หรืออาจารย์ผู้สอนอนุญาติ
อักษรอาหรับวิจิตรหรรษา สำหรับเด็ก (5-12 ปี) ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,500 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาจีนสื่อโสตทัศน์-ประเภทเพลงจีน กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรฎาคม 2564
1 หลักการและเหตุผล
ภาษาจีนกลางจึงเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าภาษาอังกฤษ ปัจจุบันมีผู้สนใจศึกษาภาษาจีนจำนวนมาก คณะอักษรศาสตร์เห็นความสำคัญของกลุ่มผู้เรียนภาษาจีนกลางที่มีความชื่นชอบในบทเพลงป๊อปของจีน และต้องการเรียนรู้ความหมายและฝึกทักษะการฟังภาษาจีนให้คล่องมากขึ้น จึงประสงค์จัดโครงการอบรมทักษะภาษาจีนกลางจากสื่อโสตทัศน์ประเภทเพลงจีนให้แก่กลุ่มผู้เรียนดังกล่าว เพื่อเสริมทักษะทางภาษา สามารถนไปประยุกต์ต่อยอดในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลที่สนใจ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพและหน้าที่การงาน
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของประเทศจีนผ่านบทเพลงจีนให้แก่บุคคลที่สนใจ
3. เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่บุคคลภายนอก
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาจีนกลางจากสื่อโสตทัศน์
1. ฝึกทักษะการฟัง การอ่านและการแปลบทเพลงภาษาจีน
2. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนในบทเพลงที่คัดสรรจากสื่อโสตทัศน์
3. ศึกษาวัฒนธรรมจีนผ่านบทเพลงจากสื่อโสตทัศน์ที่คัดสรรมา
4. วิธีจัดการอบรม
เรียนในห้องเรียนไม่เกิน 15 คน คัดเลือกบทเพลงส่วนหนึ่งโดยอาจารย์ผู้สอนชาวจีน และอีกส่วนจากผู้เรียนในห้อง ผู้เรียนรับชมและรับฟังสื่อโสตทัศน์ประเภทบทเพลง พร้อมฝึกทักษะการฟัง การเข้าใจความหมายและวัฒนธรรม
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00-16.00 น
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ถึง – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ผู้สมัครต้องมีระดับความรู้ภาษาจีนระดับ HSK 3 ขึ้นไป และมีความชื่นชอบในบทเพลงจีน หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 4,500 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาจีนกลางที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศรักษ์ เพชรเชิดชู กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ