ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้จากสื่อต่างๆ เช่น บทความ บทบรรณาธิการ ข่าว podcasts ภาพยนตร์ และสารคดีนอกจากจะช่วยเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเมือง และสังคมรอบโลกแล้ว ยังเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะ การฟัง พูด อ่าน และฝึกการคิดเชิงวิพากษ์อีกด้วย
วัตถุประสงค์
2. เพื่อเพิ่มทักษะความเข้าใจในการอ่านและคำศัพท์ผ่านตัวบทและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ
3. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในบริบทการสนทนาและอภิปราย
4. เพื่อเพิ่มทักษะด้านการใช้วาทศิลป์ เช่น การพูดจูงใจ การพูดในที่สาธารณะ การสนทนา และอภิปราย รวมถึงทักษะอื่นๆ ที่สำคัญในการใช้วาทศิลป์ในชีวิตประจำวัน
ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี 18.00-20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม – 7 ธันวาคม 2566
ราคาท่านละ 3,800 บาท
อาหารไม่ได้เป็นเพียงแค่หนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ทุกคนต้องกินเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตเท่านั้น หากแต่อาหารยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ที่มีความสัมพันธ์กับมิติทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และแม้แต่การเมืองของทุกชนชาติในโลก โดยปราศจากข้อจำกัดทางเวลาด้วย อาหารอิตาเลียนเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเกือบทุกเมนูอาหารนั้น สามารถสะท้อนการเดินทางของอารยธรรมเก่าแก่ ซึ่งเคยดำรงอยู่บนคาบสมุทรอิตาลีมายาวนานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสูตรอาหาร วัตถุดิบ วิธีปรุงอาหารที่มีความหลากหลายไปตามพื้นที่ วิถีการกินดื่มที่แตกต่างกันในแต่ละและยุคสมัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นสำคัญ ที่จะช่วยบอกเล่าร่องรอยประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้ รวมไปถึงกลุ่มคนซึ่งเคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียนยังสามารถบูรณาการเข้ากับองค์ความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร วงการท่องเที่ยว วงการแพทย์ เป็นต้น นับเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการเรียนรู้แบบไร้พรมแดนของศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาภาษาอิตาเลียนเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัย และสอดคล้องกับพลวัฒน์ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมุ่งขยายกรอบการจัดโครงการบริการวิชาการในรูปแบบการอบรมระยะสั้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอิตาเลียนเพิ่มมากขึ้น โดยเสนอเปิดโครงการอบรมชื่อ “Buon appetito! ถอดรหัสสำรับโรมัน” เพื่อตอบรับความสนใจด้านวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียนของผู้เรียนทั่วไป
วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 13:00-16:00 น. จำนวน 3 ชั่วโมง
ราคาท่านละ 500 บาท
โครงการอบรม Learning English through Science Fiction: Beyond the Galaxy
เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์: ข้ามขอบกาแล็กซี่
จัดโดยภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 2 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัล ความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างให้ผู้ศึกษาได้มองและทำความเข้าใจโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดนนี้อีกด้วย การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันจึงมิใช่เป็นเพียงการช่วยให้ผู้เรียนมี “เครื่องมือสื่อสาร” แต่เป็นการเพิ่มศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกด้วยนิยายวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ time travel, alien abduction, genetic manipulation, และ human augmentation ที่คัดสรรเพื่อใช้ในการเรียนการสอนเป็นวรรณกรรมชั้นเอกที่เป็นที่รู้จัก (คลาสสิก) และสมัยใหม่ มีเนื้อหาที่สนุกสนาน น่าตื่นเต้น เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์และมีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคม เช่น ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงเป็นตัวบทที่ดีที่สามารถนำมาใช้ศึกษาภาษาอังกฤษทั้งด้านเนื้อหาและภาษาได้เป็นอย่างดี
ภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดLearning English through Science Fiction: Beyond the Galaxy เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์: ข้ามขอบกาแล็กซี่ แก่ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับสูง (ผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับสูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า ทั้งนี้หากผู้สนใจเรียนไม่เคยสอบวัดผลดังกล่าวแต่มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับสูงหรือใกล้เคียงที่กำหนด สามารถติดต่อสอบถามผู้สอนโดยตรงได้ทาง ajarnjennychula@gmail.com ว่าลงทะเบียนได้หรือไม่) และ เพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพิงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถและความคล่องแคล่วในการพูดและฟังภาษาอังกฤษ
2. เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในตัวบทพูดและเขียน
3. เพื่อพัฒนาทักษะและความมั่นใจในการอ่านภาษาอังกฤษระดับสูง
4. เพื่อพัฒนาทักษะและความมั่นใจในการเขียนนิยายของตนเอง
3. หัวข้อการอบรม
1. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษผ่านบางส่วนของนิยายและเรื่องสั้นของนักเขียน เช่น Philip K. Dick, Ursula K. Le Guin และ Naomi Kritzer
2. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษผ่านละครทีวีที่มาจากนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น Twilight Zone, Black Mirror’s Arkangel (S4 E 2) และ คลิปภาพยนตร์
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 25 คน ในห้องเรียนจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งเป็นกลุ่ม เป็นคู่ รายบุคคล เช่น การอภิปรายและแสดงความเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ การอ่านนิยาย/ เรื่องสั้น หรือ ละครที่ผู้เรียนที่ได้ดูหรือศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าเรียน ทั้งนี้เนื้อหาในการอภิปรายและการทำกิจกรรมในชั้นเรียนจะมาจากคำถามจากอาจารย์ผู้สอนและผู้เข้าอบรบในการเข้าเรียน ผู้สอนขอให้ผู้เรียนทำการบ้านก่อนเข้าเรียนทุกครั้งโดยการดูภาพยนตร์หรืออ่านนิยายที่กำหนดก่อนเรียน โดยงานที่ได้รับแต่ละครั้งจะใช้เวลาเตรียมตัวด้วยตนเองประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้สอนไม่แนะนำผู้เรียนที่อาจจะไม่มีเวลาเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนลงทะเบียนในวิชานี้ เนื่องจากการเรียนการสอนจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และอภิปรายถึงสิ่งที่ได้ดูหรืออ่านด้วยตนเองตามที่ได้รับมอบหมายก่อนเข้าเรียน
5. ระยะเวลาการอบรม
ทุกวันจันทร์ และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน-2 สิงหาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 8 มิถุนายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : AksornChula@Chula.ac.th
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
การเรียนเป็นแบบ online
9. คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้สมัครควรมีเวลาในการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน โดยการดูภาพยนตร์หรืออ่านนิยายที่ได้รับมอบหมายทุกครั้งซึ่งใช้เวลาในการเตรียมตัว 1 ชั่วโมงโดยประมาณต่อครั้งและมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งตามคุณสมบัติทีระบุด้านล่าง
1. เป็นผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับสูง คือ เป็นผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL สูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า และสนใจหรือชอบอ่านเรื่องแต่ง
2. เป็นผู้มีทักษะภาษาอังกฤษในระดับสูงหรือใกล้เคียงที่กำหนดและได้รับความเห็นชอบให้เข้าเรียนจากผู้สอน โดยติดต่อสอบถามผู้สอนได้ที่ ajarnjennychula@gmail.com
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสาร คนละ 3,800 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
จะประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการจัดดำเนินการโดยให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
คณะอักษรศาสตร์จะออกวุฒิบัตรให้เป็นหลักฐานว่าได้ผ่านการอบรมเฉพาะผู้ที่รับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรม
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ผ่านการอบรมจะมีทักษะและความมั่นใจในการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษในระดับสูง
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. ดร.จิตติมา พฤฒิพฤกษ์ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม Writing Enrichment (ออนไลน์)
จัดโดยภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 7 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสาร การมีพื้นฐานการเขียนภาษาอังกฤษที่ดีและเป็นระบบจะช่วยให้การเขียนเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น การเขียนย่อหน้า เรียงความ รายงาน จดหมายธุรกิจ บทความ สัมฤทธิ์ผล ภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม Writing Enrichment โดยการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมพื้นฐานการเขียน ไม่ว่าจะเป็น การเขียนย่อหน้า (paragraphs) ประเภทต่างๆ องค์ประกอบของการเขียนที่ดีและการพัฒนาโครงสร้างการเขียนย่อหน้าเพื่อนำไปปรับใช้ตามความสนใจและความประสงค์ของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้บริการและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพึงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมทักษะพื้นฐานภาษาอังกฤษด้านการเขียนให้กับผู้เข้าอบรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์
3. หัวข้อการอบรม
Topic and concluding sentences, different types of paragraphs, transitions, supporting details, basic essay development และการปรับโครงสร้างย่อหน้าที่เรียนมาเพื่อใช้ให้ตรงตามจุดประสงค์ของผู้เรียนในระดับกลาง (intermediate) ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ที่ทำงานแล้วตามแต่ละสาขาอาชีพ หรือผู้ที่สนใจพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษ
หมายเหตุ เนื้อหาในส่วนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการอบรม โดยผู้สอนจะให้แนวทางในการนำพื้นฐานการเขียนย่อหน้าไปปรับใช้ในการเขียนจดหมาย มิใช่เป็นการสอนการเขียนจดหมายธุรกิจอย่างละเอียดโดยตรง
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-25 คน จำนวน 1 กลุ่ม
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00-11.00 น.
ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 14 สิงหาคม 2564 รวม 20 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
การเรียนเป็นรูปแบบ online
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป และมีพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง (intermediate)
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 3,500 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมเรียนรู้โครงสร้างย่อหน้าประเภทต่างๆ และองค์ประกอบในการเขียนย่อหน้า
2. ผู้เข้าอบรมนำสิ่งที่เรียนไปปรับใช้ในการเขียนตามวัตถุประสงค์ของตนเอง
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.จิตติมา พฤฒิพฤกษ์ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (ออนไลน์)
(English Business Writing)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ ภาควิชาภาษาอังกฤษ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศและในแวดวงธุรกิจ ดังนั้นการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทางด้านธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการเขียนเชิงธุรกิจซึ่งมีรูปแบบ โครงสร้างและการใช้ภาษาอังกฤษที่มีลักษณะเฉพาะ ภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพึงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ สไตล์การเขียน โครงสร้างและการลำดับความคิดที่เหมาะสมสำหรับการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจรูปแบบต่างๆ เช่น อีเมล บันทึก รายงาน และรายงานการประชุม
2. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนที่เหมาะสมสำหรับการเขียนเชิงธุรกิจ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะการเขียนเอกสารที่ใช้ในธุรกิจเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การสอบถาม การร้องเรียน การขอร้อง การแจ้งการโน้มน้าวชักชวน และการตอบเอกสารธุรกิจประเภทต่างๆ
3. หัวข้อการอบรม
1. รูปแบบ สไตล์การเขียน โครงสร้างและการลำดับความคิดที่เหมาะสมสำหรับการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจรูปแบบต่างๆ เช่น อีเมล บันทึก รายงาน และรายงานการประชุม
2. คำศัพท์และสำนวนที่เหมาะสมสำหรับการเขียนเชิงธุรกิจ
3. การเขียนเอกสารที่ใช้ในธุรกิจเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การสอบถาม การร้องเรียน การขอร้อง การแจ้งการโน้มน้าวชักชวน และการตอบเอกสารธุรกิจประเภทต่างๆ
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม 1 กลุ่ม จำนวนผู้เรียนไม่เกิน 25 คน
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน – 27 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
การเรียนเป็นรูปแบบ online
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีหรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีความรู้และสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานได้อยู่แล้ว
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 3,900 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับรูปแบบ สไตล์การเขียน โครงสร้างและการลำดับความคิดที่เหมาะสมสำหรับการเขียนภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจรูปแบบต่างๆ
2. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และสำนวนที่เหมาะสมสำหรับการเขียนเชิงธุรกิจ
3. ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนเอกสารที่ใช้ในธุรกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น อีเมล บันทึก รายงาน และรายงานการประชุม
4. ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนเอกสารที่ใช้ในธุรกิจเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ เช่น การสอบถาม การร้องเรียน การขอร้อง การแจ้งการโน้มน้าวชักชวน และการตอบเอกสารธุรกิจประเภทต่างๆ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.จิตติมา พฤฒิพฤกษ์ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม English through Movies กลางปี 2564
จัดโดยภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 7 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ดังนั้นการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่บุคคลทั่วไปในสังคมจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้วยังมีส่วนช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมตะวันตกอีกด้วย
การจัดอบรมระยะสั้นโดยใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะภาษาอังกฤษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ การฟังและพูด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเพลิดเพลินไปกับเนื้อหาที่นำเสนอในสื่อนั้นๆ พร้อมกับพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม English through Movies เพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพึงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมทักษะภาษาอังกฤษด้านการสื่อสาร (ไวยากรณ์ คำศัพท์ การฟังและพูด) ให้กับผู้เรียนภาษาอังกฤษที่มีทักษะอยู่ในระดับกลาง (intermediate)
3. หัวข้อการอบรม
ในการเรียนแต่ละครั้ง ผู้สอนจะกำหนดให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ก่อนเข้าเรียน โดยครอบคลุมกิจกรรมหรือหัวข้อดังนี้
• กิจกรรมเสริมการเรียนการสอน เช่น การสนทนา ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่คัดสรรแต่ละอาทิตย์
• คำศัพท์หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ที่คัดสรร (เช่น travel, work, home and family, shopping, education)
• ไวยากรณ์ ที่ปรากฏใช้ในภาพยนตร์ที่คัดสรร เช่น tenses, articles, adjectives, conjunctions
หมายเหตุ การชมภาพยนตร์เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง เนื้อหาที่เรียนจะไม่ครอบคลุม การวิเคราะห์หรือการศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์โดยตรง หากผู้เรียนไม่สามารถดูภาพยนตร์เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนยังติดตามเนื้อหาและหัวข้อการอบรมในบทเรียนได้ แต่อาจะไม่สามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์นั้นๆ ในช่วง 10-15 นาทีแรกของการเรียน
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 25 คน จำนวน 1 กลุ่ม
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00-16.00 น.
ระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน – 7 สิงหาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
การเรียนเป็นรูปแบบ online
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 3,700 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมสามารถอ่านบทความภาษาอังกฤษประเภทต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์
3. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และได้ฝึกทักษะที่จำเป็นในการอ่านภาษาอังกฤษ เช่น การระบุใจความสำคัญ การเดาศัพท์ในตัวบท
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.จิตติมา พฤฒิพฤกษ์ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม “เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ (ระดับสูง)” กลางปี 2564 (ออนไลน์)
(Learning English through Science Fiction)
จัดโดย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 19 เมษายน – 9 มิถุนายน 2564
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัลเช่นนี้ ความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนหรือการทำงาน แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหน้าต่างให้เราได้มองและทำความเข้าใจโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดนนี้อีกด้วย การเรียนภาษาอังกฤษผ่านวรรณกรรมเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเติมเต็มให้การเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันมิใช่เป็นเพียงการมีเครื่องมือสื่อสาร แต่เพิ่มศักยภาพในการเป็นพลเมืองโลกด้วย นิยายวิทยาศาสตร์ อาทิ Twilight Zone, The Outer Limits และ Black Mirror’s Nosedive มีเนื้อหาที่สนุกสนาน น่าตื่นเต้น ทันสมัย เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและมีความเชื่อมโยงกับประเด็นทางสังคม เช่น ชนกลุ่มน้อย เป็นต้น นิยายวิทยาศาสตร์จึงเป็นตัวบทที่ดีที่สามารถนำมาใช้ศึกษาภาษาอังกฤษทั้งด้านเนื้อหาและภาษาได้เป็นอย่างดี ทางภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม “เรียนอังกฤษผ่านนิยายวิทยาศาสตร์ (ระดับสูง)” แก่ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับสูง (ผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับสูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า) เพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพิงทางวิชาการแก่ชุมชน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถและความคล่องแคล่วในการพูดและฟังภาษาอังกฤษ
2. เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และไวยากรณ์ที่เหมาะสมกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในตัวบทพูดและเขียน
3. เพื่อพัฒนาทักษะและความมั่นใจในการอ่านภาษาอังกฤษระดับสูง
4. เพื่อพัฒนาทักษะและความมั่นใจในการเขียน
3. หัวข้อการอบรม
1. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษผ่านบางส่วนของนิยายและเรื่องสั้นของนักเขียน เช่น Isaac Asimov, Ray Bradbury และ Octavia Butler
2. ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษผ่านละครทีวีที่มาจากนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น Twilight Zone, The Outer Limits, และ Black Mirror’s Nosedive (S3 E1).
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 25 คน ในห้องเรียนจะมีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ทั้งเป็นกลุ่ม เป็นคู่ รายบุคคล เช่น การอ่านนิยาย/ เรื่องสั้น ดูละคร/ ซีรีส์ แล้วอภิปรายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้ ในการเข้าเรียน ผู้สอนขอให้ผู้เรียนทำการบ้านก่อนเข้าเรียนทุกครั้งโดยการดูภาพยนตร์หรืออ่านนิยายที่กำหนดก่อนเรียน โดยงานที่ได้รับแต่ละครั้งจะใช้เวลาเตรียมตัวด้วยตนเองประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้สอนไม่แนะนำผู้เรียนที่อาจจะไม่มีเวลาเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนลงทะเบียนในวิชานี้ เนื่องจากการเรียนการสอนจะเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และอภิปรายถึงสิ่งที่ได้ดูหรืออ่านด้วยตนเองตามที่ได้รับมอบหมายก่อนเข้าเรียน
5. ระยะเวลาการอบรม
ทุกวันจันทร์ และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 19 เมษายน – 9 มิถุนายน 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 5 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : AksornChula@Chula.ac.th
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
การเรียนเป็นแบบ online
9. คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง คือ เป็นผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับสูงกว่า 6.0 หรือได้คะแนน TOEFL สูงกว่า 78 หรือเทียบเท่า และสนใจหรือชอบอ่านเรื่องแต่ง
มีเวลาในการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนโดยการดูภาพยนตร์หรืออ่านนิยายที่ได้รับมอบหมายทุกครั้งก่อนเรียนซึ่งใช้เวลา 2 ชั่วโมงโดยประมาณต่อครั้ง
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสาร คนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
จะประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการจัดดำเนินการโดยให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
คณะอักษรศาสตร์จะออกวุฒิบัตรให้เป็นหลักฐานว่าได้ผ่านการอบรมเฉพาะผู้ที่รับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรม
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ผ่านการอบรมจะมีทักษะและความมั่นใจในการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษในระดับสูง
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง กรรมการและเลขานุการ
— ปิดรับสมัคร —
โครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย”
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
—————————————–
1. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการแปลและการล่าม เป็นวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ การบริการวิชาการในสาขาวิชาการแปลนั้น จึงเป็นกิจกรรมที่ศูนย์การแปลและการล่ามฯ ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 โดยมีบุคคลภายนอกให้ความสนใจมาเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ศูนย์การแปลและการล่ามฯ จึงจะเปิดโครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย” สำหรับบุคคลภายนอกและผู้ที่สนใจ ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทำเนียบภาษากฎหมาย (ลักษณะและลีลาของภาษากฎหมาย) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการแปลเอกสารกฎหมายประเภทต่างๆ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีการแปลที่สำคัญในการแปลเอกสารกฎหมายซึ่งเป็นการแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้แปลไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย
2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกฝนการถ่ายทอดความหมายจากต้นฉบับทางกฎหมายไปสู่ฉบับแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้องทั้งในด้านความหมายและทำเนียบภาษากฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถใช้ภาษาอังกฤษในรูปแบบ Plain English ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ภาษาในเอกสารกฎหมายแบบมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แทนที่จะใช้ภาษาอังกฤษแบบ Legalese
3. หัวข้อการอบรม
3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทำเนียบภาษากฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.2 ทฤษฎีการแปลสำหรับการแปลเอกสารกฎหมายซึ่งเป็นการแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation)
3.3 ข้อควรพิจารณา ปัญหาที่พบ และแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งการตัดสินใจทางการแปล และการเลือกใช้ทรัพยากรการแปลที่เหมาะสมสำหรับงานแปลเอกสารกฎหมาย
3.4 การฝึกแปลเอกสารกฎหมายสำคัญที่มักมีการว่าจ้างนักแปล เช่น ตัวบทกฎหมาย และเอกสารสัญญา
4. วิธีการจัดอบรม
อบรมในรูปแบบออนไลน์ ดังนี้
4.1 บรรยายหลักการ และทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องกับการแปลเอกสารกฎหมายในฐานะที่เป็นงานแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation)
4.2 ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมาย การตัดสินใจทางการแปล การเลือกใช้ทรัพยากรการแปล การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการแปลตัวบททางด้านกฎหมาย และการบรรณาธิการและประเมินค่างานแปลเอกสารกฎหมาย
5. ระยะเวลาในการอบรม
อบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง
6. สถานที่อบรม
อบรมในรูปแบบออนไลน์
7. ผู้เข้าอบรม
บุคคลทั่วไป นักแปลอิสระ/อาชีพ
8. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าอบรม คนละ 6,500 บาท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน) คณะอักษรศาสตร์จะไม่คืนเงินค่าอบรมที่ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากไม่สามารถเปิดการอบรมได้
9. การประเมินผล
ประเมินผลโดยพิจารณาจากการฝึกปฏิบัติ และการทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์ต้นฉบับ การตีความ การแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการถ่ายทอดความหมายจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมทั้งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยสามารถปรับใช้ความรู้เกี่ยวกับการพิจารณาต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายและทำเนียบภาษากฎหมาย
คณะอักษรศาสตร์ จะออกหนังสือสำคัญให้เป็นหลักฐานแก่ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรม แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองการเข้าอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการ
2. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการและสอบผ่านข้อสอบที่ผู้สอนกำหนดเกณฑ์การผ่านไว้
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรม จะสามารถตีความต้นฉบับทางกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และมีทักษะในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. รศ.ปรีมา มัลลิกะมาส ประธานโครงการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. รศ. ดร.แพร จิตติพลังศรี กรรมการ
4. ผศ. ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ กรรมการ
รายละเอียดโครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย”
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
ครั้งที่ |
วัน / เวลา |
หัวข้อการสอน |
1 | ส. 13 มี.ค. 64 | Introduction to Legal Translation: ชี้แจงลักษณะวิชา / โครงสร้างหลักสูตร และความคาดหวัง และข้อพิจารณาเบื้องต้นในการแปลเอกสารด้านกฎหมาย |
2 |
ส. 20 มี.ค. 64 | Language of the Law: ทำเนียบภาษากฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการแปลเฉพาะทาง (Technical Translation) – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นตัวบทกฎหมาย |
3 |
ส. 27 มี.ค. 64 | แนวคิดเกี่ยวกับ Plain English เปรียบเทียบกับ Legalese และการผลิตเอกสารกฎหมายภาษาอังกฤษ – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นตัวบทกฎหมาย การปรับใช้ความรู้เกี่ยวกับ Plain English ในการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ |
4 |
ส. 3 เม.ย. 64 | Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารสัญญา (1) |
5 |
ส. 10 เม.ย. 64 | Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารสัญญา (2) |
6 |
ส. 17 เม.ย. 64 | Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายธุรกิจ (1) |
7 |
ส. 24 เม.ย. 64 | Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายธุรกิจ (2) |
8 |
ส. 1 พ.ค. 64 | Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายระหว่างประเทศ |
9 |
ส. 8 พ.ค. 64 | สัมมนาเชิงปฏิบัติการ – ฝึกพิจารณา บรรณาธิการและประเมินคุณค่าฉบับแปล |
10 |
ส. 15 พ.ค. 64 | ทดสอบความรู้ตามเนื้อหาที่ได้เรียน |
*รายละเอียดโครงการอบรมนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
โครงการอบรม “Phonics ระดับพื้นฐาน – ระดับกลาง”
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563
1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้พัฒนารูปแบบการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน และรูปแบบการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการของ Phonics ที่แสดงความสัมพันธ์ของเสียงกับพยัญชนะ ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ได้รับการวิจัยแล้วว่าช่วยวางพื้นฐานและสร้างความเข้าใจในตัวภาษา เพื่อต่อยอดทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ได้ดียิ่งขึ้น การสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics เริ่มเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียน และเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สมควรวางรากฐานที่ถูกต้องให้ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมความรู้ทางการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขึ้น ตั้งแต่ในระดับพื้นฐานจนถึงระดับกลาง (การอ่าน-เขียน) การอบรม Phonics จึงเหมาะกับคุณครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองที่สอนภาษาอังกฤษเสริมให้ลูก ๆ เองที่บ้าน และผู้ที่สนใจ Phonics เพื่อต่อยอดทักษะทางภาษาและวิชาชีพ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics
2. เพื่อสร้างเครื่องมือการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ให้แก่ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
3. เพื่อสนองนโยบายของคณะอักษรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน
3. หัวข้ออบรม
1. Phonics ระดับพื้นฐาน
– พื้นฐานเสียงในภาษาอังกฤษ
– การเรียนรู้เสียงและภาษาในเด็กปฐมวัย
– เทคนิคการพัฒนาการรับรู้เสียงและการประมวลผลทางเสียงในเด็ก
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
– กฎการประสมเสียงภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
(พยางค์ปิด, พยางค์เปิด, Silent -e, Word Families)
– Sight Word พื้นฐาน
– เทคนิคการจัดกิจกรรม Phonics ระดับพื้นฐาน
2. Phonics ระดับกลาง
– เสียงที่ซับซ้อนขึ้นในภาษาอังกฤษ
– การออกเสียงภาษาอังกฤษในระดับวลีและประโยค
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับกลาง
(Vowel Combinations, R-controlled, Consonant -le)
– ตัวอย่างการสอน Sight Word ที่ซับซ้อนขึ้น
– คำที่มากกว่า 1 พยางค์
– การสอน Morphemes พื้นฐาน (-s, -ed, -ing)
3. จาก Phonics สู่คำศัพท์
– ประเด็นสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ
– พื้นฐานการเรียนรู้คำศัพท์ของเด็ก
– การ “เข้าใจ” ความหมายคำศัพท์ คืออะไร
– คำศัพท์และความจำในกระบวนการเรียนรู้
– การแบ่งประเภทและการเชื่อมโยงคำศัพท์
– เทคนิคการสอนคำศัพท์สำหรับเด็ก
4. จาก Phonics สู่การอ่าน
– พัฒนาการการเรียนรู้ผ่านการอ่านของเด็ก
– ความสัมพันธ์ระหว่าง “การฟัง” และ “การอ่าน”
– การอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ
– การพัฒนาความคล่องในการอ่าน (Automaticity and Fluency)
– กลยุทธ์การอ่านจับใจความระดับต่าง ๆ
– เทคนิคการสอนอ่านตัวบทรูปแบบต่าง ๆ สำหรับเด็ก
– การปูพื้นฐานคำศัพท์ที่เด็กต้องใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ
– ประเด็นสำคัญในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กไทย
4. คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
5. วัน เวลาจัดงาน
ครั้งที่ |
หัวข้อ |
ผู้สอน |
วันที่ |
เวลา |
ลงทะเบียนได้ถึงวันที่ |
1. | เป๊ะแต่เด็ก: Phonics ระดับพื้นฐาน | อ.ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์
อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล |
ส. 7- อา. 8 พ.ย. 63 |
9.30 – 12.00 น. |
จ. 2 พ.ย. 63 |
2. | เป๊ะแต่เด็ก: Phonics ระดับพื้นฐาน | อ.ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์
อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล |
ส. 14 – อา. 15 พ.ย. 63 |
9.30 – 12.00 น. |
จ. 9 พ.ย. 63 |
3. | เป๊ะแต่เด็ก: Phonics ระดับกลาง | อ.ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์
อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล |
อ. 24 – พ. 25 พ.ย. 63 |
18.00 – 20.30 น. |
พ. 18 พ.ย. 63 |
4. | เป๊ะแต่เด็ก: จาก Phonics สู่คำศัพท์ | อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล
อ.อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ |
จ. 7 – อ. 8 ธ.ค. 63 |
18.00 – 20.30 น. |
พ. 2 ธ.ค. 63 |
5. | เป๊ะแต่เด็ก: จาก Phonics สู่การอ่าน | อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล |
ส. 19 – อา. 20 ธ.ค. 63 |
9.30 – 12.00 น. |
จ. 14 ธ.ค. 63 |
6. กำหนดการรับสมัคร
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534 (4535,4536)
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสารหัวข้อละ 1,990 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์เปรมรินทร์ มิลินทสูต กรรมการ
3. อาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน”
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 20 – 21 มิถุนายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้พัฒนารูปแบบการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน และรูปแบบการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการของ Phonics ที่แสดงความสัมพันธ์ของเสียงกับพยัญชนะ ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ได้รับการวิจัยแล้วว่าช่วยวางพื้นฐานและสร้างความเข้าใจในตัวภาษา เพื่อต่อยอดทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ได้ดียิ่งขึ้น การสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics เริ่มเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียน และเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สมควรวางรากฐานที่ถูกต้องให้ การอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน” จึงเหมาะกับคุณครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองที่สอนภาษาอังกฤษเสริมให้ลูก ๆ เองที่บ้าน และผู้ที่สนใจ Phonics เพื่อต่อยอดทักษะทางภาษาและวิชาชีพ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมความรู้ทางการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อสร้างเครื่องมือการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ให้แก่ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
3. เพื่อสนองนโยบายของคณะอักษรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน
3.หัวข้อการอบรม
– พื้นฐานการเรียนรู้เสียงและภาษาในเด็กปฐมวัย
– เทคนิคการพัฒนาการรับรู้เสียงและการประมวลผลทางเสียงในเด็กปฐมวัย
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
– กฎการประสมเสียงภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน (พยางค์ปิด, พยางค์เปิด, silent -e, word families)
– Sight word พื้นฐาน
– เทคนิคการจัดกิจกรรม Phonics ระดับพื้นฐาน
4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม 1 กลุ่ม
5. ระยะเวลาในการอบรม
วันเสาร์ที่ 20 และวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563 เวลา 10:00 – 12.30 น. ผ่าน Application Zoom.US
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 16 มิถุนายน 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 1,990 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์เปรมรินทร์ มิลินทสูต กรรมการ
3. อาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ