Category Archive ภาษาตะวันตก

ByAksorn Chula

ภาษาโปรตุเกสเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรออนไลน์)

โครงการอบรมภาษาโปรตุเกสเพื่อการสื่อสาร กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม

2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาโปรตุเกสแก่ผู้ที่ไม่มีและมีพื้นฐานความรู้มาก่อน เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้ได้มี ทบทวนหรือเพิ่มเติมความรู้รวมทั้งทักษะการสื่อสารภาษาโปรตุเกส และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและส่วนงานของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3. หัวข้อการอบรม
ภาษาโปรตุเกสขั้นพื้นฐาน: ทักษะการสื่อสารในระดับเบื้องต้น ได้แก่ ฟังเพื่อความเข้าใจ ออกเสียง พูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด อ่านตัวบทขนาดสั้น เขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งไวยากรณ์เบื้องต้น คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การฟังเพื่อความเข้าใจ การออกเสียงการพูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด การอ่านตัวบท การเขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบ โดยใช้ความรู้ทางไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวันที่ได้ศึกษาในไปในระหว่างการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารดังกล่าว

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาโปรตุเกสพื้นฐาน 1 กลุ่ม 1 (ระดับ A1-1) ทุกวันเสาร์เวลา 15.00 – 18.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email: aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาโปรตุเกสขั้นพื้นฐาน 1: ไม่ต้องมีพื้นฐาน

9.ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาโปรตุเกสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการศึกษาขั้นสูงต่อไป

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี              ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ          กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ              กรรมการและเลขานุการ

ByAksorn Chula

“ฟัง-พูดอังกฤษเพื่อชีวิตยุคดิจิทัล(ระดับกลาง)” (ออนไลน์)

โครงการอบรม “ฟัง-พูดอังกฤษเพื่อชีวิตยุคดิจิทัล (ระดับกลาง)” กลางปี 2563 (ออนไลน์)
จัดโดย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กรกฎาคม 2563

1. หลักการและเหตุผล
การฟังและสนทนาภาษาอังกฤษมีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกยุคดิจิทัลที่ไร้พรมแดนเช่นนี้ เราจะได้ยินได้ฟังภาษาอังกฤษอยู่ทั่วไป และบ่อยครั้งที่มีความจำเป็นที่จะต้องสนทนาเป็นภาษาอังกฤษอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้แก่บุคคลทั่วไปในสังคมจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้มีความเข้าใจในโลกปัจจุบันอีกด้วย ทางภาควิชาภาษาอังกฤษจึงเห็นสมควรที่จะจัดโครงการอบรม “ฟัง-พูดอังกฤษเพื่อชีวิตยุคดิจิทัล (ระดับกลาง)” แก่ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง (ผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับ 4.5–6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับ 34 – 78) เพื่อเป็นการให้บริการแก่ชุมชนและสนับสนุนปณิธานของมหาวิทยาลัยในการเป็นแหล่งพึ่งพึงทางวิชาการแก่ชุมชน

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการฟังภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและที่ปรากฏในสื่อดิจิทัลต่างๆ
2. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและในบริบทต่างๆ
3. เพื่อพัฒนาความรู้ทางคำศัพท์และไวยากรณ์ที่มักใช้ในสังคมร่วมสมัย

3. หัวข้อการอบรม
1. ฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษผ่าน podcast, คลิปจากวิดีโอและรายการวิทยุในหัวข้อร่วมสมัยต่างๆ
2. ฝึกทักษะการพูดในบริบทต่างๆ เช่น การแสดงความคิดเห็นในประเด็นร่วมสมัย การอธิบายเหตุผล การเล่าเรื่องและประสบการณ์ส่วนตัว
3. ฝึกการออกเสียงในระดับคำและระดับประโยคให้ถูกต้อง
4. คำศัพท์ และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับหัวข้อในการฝึกฟังและพูดหรือสนทนา

4. วิธีจัดการอบรม
จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 20-30 คน ในห้องเรียนจะมีกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฟังและพูดภาษาอังกฤษ เช่น การอภิปราย เกมส์ โต้วาที บทบาทสมมุติ การนำเสนอ การทำ podcast ของตัวเอง เป็นต้น

5. ระยะเวลาการอบรม
ทุกวันจันทร์ และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 30 กรกฎาคม 2563 รวม 28 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : AksornChula@Chula.ac.th

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับกลาง คือ เป็นผู้ที่ได้คะแนน IELTS ในระดับ 4.5–6.0 หรือได้คะแนน TOEFL ในระดับ 34 – 78 หรือเทียบเท่า

9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสาร คนละ 2,800 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
จะประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในการจัดดำเนินการโดยให้ผู้เข้ารับการอบรมกรอกแบบประเมินเมื่อเสร็จสิ้นการอบรม
คณะอักษรศาสตร์จะออกวุฒิบัตรให้เป็นหลักฐานว่าได้ผ่านการอบรมเฉพาะผู้ที่รับการอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรม

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ผ่านการอบรมจะช่วยปรับปรุงหรือเพิ่มพูนความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการสนทนาในชีวิตประจำวัน

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ                          ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ         กรรมการ
3. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                       กรรมการ
4. นางภัคภร พตด้วง                                           กรรมการและเลขานุการ

ByAdministrator

เยอรมันเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรออนไลน์)

โครงการอบรมภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสาร กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม

2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาเยอรมันแก่ผู้ที่ไม่มีและมีพื้นฐานความรู้มาก่อน เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้ได้มี ทบทวนหรือเพิ่มเติมความรู้รวมทั้งทักษะการสื่อสารภาษาเยอรมัน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและส่วนงานของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3. หัวข้อการอบรม
ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน: ทักษะการสื่อสารในระดับเบื้องต้น ได้แก่ ฟังเพื่อความเข้าใจ ออกเสียง พูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด อ่านตัวบทขนาดสั้น เขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งไวยากรณ์เบื้องต้น คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การฟังเพื่อความเข้าใจ การออกเสียงการพูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด การอ่านตัวบท การเขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบ โดยใช้ความรู้ทางไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวันที่ได้ศึกษาในไปในระหว่างการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารดังกล่าว

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1 กลุ่ม 1 (ระดับ A1-1) ทุกวันจันทร์ ,พุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1 กลุ่ม 2 (ระดับ A1-1) ทุกวันเสาร์เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 2 (ระดับ A1-2) ทุกวันเสาร์เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 3 (ระดับ A1-3 ) ทุกวันเสาร์เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 4 (ระดับ A1-4 ) ทุกวันเสาร์เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 5 (ระดับ A2-1) ทุกวันเสาร์เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 8 (ระดับ A2-4) ทุกวันเสาร์เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
คอร์สอบรมไวยากรณ์ภาษาเยอรมันระดับสูง (ระดับ B2-C1 ตามมาตรฐานยุโรป)
ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email: aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 1: ไม่ต้องมีพื้นฐาน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 2: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ระดับ A1-1 (ซึ่งตรงกับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4) มาก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 3: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 4: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 5: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 8: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– คอร์สอบรมไวยากรณ์ภาษาเยอรมันระดับสูง (ระดับ B2-C1 ตามมาตรฐานยุโรป) : ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน

9.ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1 คนละ 4,000 บาท (รวมหนังสือ)
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 2-8 คนละ 3,000 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
ค่าธรรมเนียมคอร์สอบรมไวยากรณ์ภาษาเยอรมันระดับสูง (ระดับ B2-C1) คนละ 4,000 บาท
(รวมเอกสารการอบรม)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาเยอรมันที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ใน
การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการศึกษาขั้นสูงต่อไป

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. อาจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส                     ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                    กรรมการและเลขานุการ

ByAdministrator

ไวยากรณ์อังกฤษ

โครงการอบรมพื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ ต้นปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 8 พฤษภาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
ในโลกปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำคัญในการสื่อสารระหว่างประเทศ ไม่แต่เพียงกับ ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเท่านั้น หากแต่ยังกับผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารอีกด้วย
อันเนื่องมาจากการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นหลักเช่นนี้ ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่รวมทั้งสถาบันสอนภาษา ให้ความสนใจกับการเรียนภาษาอังกฤษเชิงสื่อสารกันมาก จนทำให้การเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษถูกละเลยไป ทั้งที่อันที่จริงแล้ว ไวยากรณ์คืออาภรณ์ของภาษา เป็นหลักภาษาพื้นฐานที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ต่อยอดทางการศึกษาได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยคที่ซับซ้อนแยบคายขึ้น หรือในการเขียน การขาดความรู้ทางไวยากรณ์ที่ดีจะทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นไปโดยมีขีดจำกัดอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงจัดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคม ตามปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสำคัญของการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และมีพื้นความรู้ทางไวยากรณ์ที่ดีขึ้น

3. หัวข้อการอบรม
พื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ
การอบรมไวยากรณ์ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน รูปแบบประโยคต่าง ๆ และการศึกษาคำศัพท์จากบริบท โดยเน้นการทำแบบฝึกหัดและความเข้าใจโครงสร้างภาษาอังกฤษจากเรื่องอ่านที่คัดสรรมา

4. วิธีการจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยาย และการทำแบบฝึกหัด

5. ระยะเวลาของการอบรม
พื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2564 รวม 45 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02 218 4534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9. คุณสมบัติผู้รับการอบรม
พื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ ผู้เข้ารับการอบรมควรจะต้องมีวุฒิอย่างต่ำ ม. 3

10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสารคนละ 5,600 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนสามารถใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ดียิ่งขึ้น
2. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่รู้จักของคนในสังคมในฐานะแหล่งความรู้ทางภาษาของประเทศ

13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                     ประธานกรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤศ เอียมหฤท                กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                         กรรมการและเลขานุการ

ByAdministrator

ภาษาฝรั่งเศส (ออนไลน์)

โครงการอบรมภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลภายนอก (ระดับพื้นฐาน 1 และพื้นฐาน 2)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น ด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการดังกล่าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้นำในเรื่องการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส จึงควรตอบสนองความต้องการของสังคมในเรื่องนี้

2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสแก่ผู้เริ่มเรียน และผู้ที่มีพื้นฐานเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนของตน

3. หัวข้อการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น

4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่ง ได้แก่ การฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียน โดยอาศัยสิ่งที่เรียนจากภาคทฤษฎี

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน

9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ราคา 4,500 บาท (รวมหนังสือ) หรือราคา 4,000 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน และขั้นพื้นฐาน 4 ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับหนังสือสำคัญพร้อมวุฒิบัตรไว้เป็นหลักฐาน

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์               ประธานกรรมการ
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                            กรรมการ
3.เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                                กรรมการและเลขานุการ

โครงการอบรมภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลภายนอก (ระดับพื้นฐาน 3 และพื้นฐาน 4)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น ด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการดังกล่าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้นำในเรื่องการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส จึงควรตอบสนองความต้องการของสังคมในเรื่องนี้

2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสแก่ผู้เริ่มเรียน และผู้ที่มีพื้นฐานเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนของตน

3. หัวข้อการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น

4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่ง ได้แก่ การฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียน โดยอาศัยสิ่งที่เรียนจากภาคทฤษฎี

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน

9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ราคา 6,000 บาท (รวมหนังสือ) หรือราคา 5,500 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน และขั้นพื้นฐาน 4 ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับหนังสือสำคัญพร้อมวุฒิบัตรไว้เป็นหลักฐาน

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์                 ประธานกรรมการ
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                             กรรมการ
3.เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                                 กรรมการและเลขานุการ