“การแปลเอกสารกฎหมาย”

ByAksorn Chula

“การแปลเอกสารกฎหมาย”

— ปิดรับสมัคร —
โครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย”

จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
—————————————–

1. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการแปลและการล่าม เป็นวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ การบริการวิชาการในสาขาวิชาการแปลนั้น จึงเป็นกิจกรรมที่ศูนย์การแปลและการล่ามฯ ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 โดยมีบุคคลภายนอกให้ความสนใจมาเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ศูนย์การแปลและการล่ามฯ จึงจะเปิดโครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย” สำหรับบุคคลภายนอกและผู้ที่สนใจ ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทำเนียบภาษากฎหมาย (ลักษณะและลีลาของภาษากฎหมาย) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการแปลเอกสารกฎหมายประเภทต่างๆ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีการแปลที่สำคัญในการแปลเอกสารกฎหมายซึ่งเป็นการแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้แปลไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย
2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกฝนการถ่ายทอดความหมายจากต้นฉบับทางกฎหมายไปสู่ฉบับแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้องทั้งในด้านความหมายและทำเนียบภาษากฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถใช้ภาษาอังกฤษในรูปแบบ Plain English ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ภาษาในเอกสารกฎหมายแบบมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แทนที่จะใช้ภาษาอังกฤษแบบ Legalese

3. หัวข้อการอบรม
3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทำเนียบภาษากฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.2 ทฤษฎีการแปลสำหรับการแปลเอกสารกฎหมายซึ่งเป็นการแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation)
3.3 ข้อควรพิจารณา ปัญหาที่พบ และแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งการตัดสินใจทางการแปล และการเลือกใช้ทรัพยากรการแปลที่เหมาะสมสำหรับงานแปลเอกสารกฎหมาย
3.4 การฝึกแปลเอกสารกฎหมายสำคัญที่มักมีการว่าจ้างนักแปล เช่น ตัวบทกฎหมาย และเอกสารสัญญา

4. วิธีการจัดอบรม
อบรมในรูปแบบออนไลน์ ดังนี้
4.1 บรรยายหลักการ และทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องกับการแปลเอกสารกฎหมายในฐานะที่เป็นงานแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation)
4.2 ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมาย การตัดสินใจทางการแปล การเลือกใช้ทรัพยากรการแปล การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการแปลตัวบททางด้านกฎหมาย และการบรรณาธิการและประเมินค่างานแปลเอกสารกฎหมาย

5. ระยะเวลาในการอบรม
อบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง

6. สถานที่อบรม
อบรมในรูปแบบออนไลน์

7. ผู้เข้าอบรม
บุคคลทั่วไป นักแปลอิสระ/อาชีพ

8. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าอบรม คนละ 6,500 บาท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน) คณะอักษรศาสตร์จะไม่คืนเงินค่าอบรมที่ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากไม่สามารถเปิดการอบรมได้

9. การประเมินผล
ประเมินผลโดยพิจารณาจากการฝึกปฏิบัติ และการทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์ต้นฉบับ การตีความ การแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการถ่ายทอดความหมายจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมทั้งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยสามารถปรับใช้ความรู้เกี่ยวกับการพิจารณาต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายและทำเนียบภาษากฎหมาย
คณะอักษรศาสตร์ จะออกหนังสือสำคัญให้เป็นหลักฐานแก่ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรม แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองการเข้าอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการ
2. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการและสอบผ่านข้อสอบที่ผู้สอนกำหนดเกณฑ์การผ่านไว้

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรม จะสามารถตีความต้นฉบับทางกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และมีทักษะในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. รศ.ปรีมา มัลลิกะมาส                                  ประธานโครงการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                  กรรมการ
3. รศ. ดร.แพร จิตติพลังศรี                             กรรมการ
4. ผศ. ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ                          กรรมการ

รายละเอียดโครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย”
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564

ครั้งที่

วัน / เวลา
9.00 – 12.00 น.

หัวข้อการสอน

   1 ส. 13 มี.ค. 64 Introduction to Legal Translation: ชี้แจงลักษณะวิชา / โครงสร้างหลักสูตร และความคาดหวัง และข้อพิจารณาเบื้องต้นในการแปลเอกสารด้านกฎหมาย

2

ส. 20 มี.ค. 64 Language of the Law: ทำเนียบภาษากฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการแปลเฉพาะทาง (Technical Translation) – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นตัวบทกฎหมาย

3

ส. 27 มี.ค. 64 แนวคิดเกี่ยวกับ Plain English เปรียบเทียบกับ Legalese และการผลิตเอกสารกฎหมายภาษาอังกฤษ – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นตัวบทกฎหมาย การปรับใช้ความรู้เกี่ยวกับ Plain English ในการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

4

ส. 3 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารสัญญา (1)

5

ส. 10 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารสัญญา (2)

6

ส. 17 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายธุรกิจ (1)

7

ส. 24 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายธุรกิจ (2)

8

ส. 1 พ.ค. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายระหว่างประเทศ

9

ส. 8 พ.ค. 64 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ – ฝึกพิจารณา บรรณาธิการและประเมินคุณค่าฉบับแปล

10

ส. 15 พ.ค. 64 ทดสอบความรู้ตามเนื้อหาที่ได้เรียน

*รายละเอียดโครงการอบรมนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

About the author

Aksorn Chula administrator