ภาษาสันสกฤตเรียนง่าย (หลักสูตรออนไลน์)

ByAdministrator

ภาษาสันสกฤตเรียนง่าย (หลักสูตรออนไลน์)

โครงการอบรมภาษาสันสกฤตเรียนง่าย กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาโบราณของอินเดีย ที่มีอายุเก่าแก่ถึงประมาณ 3,500 ปี เป็นภาษาของชนชั้นสูง เช่น วรรณพราหมณ์ เป็นภาษาทางวิชาการ มีวรรณคดีจำนวนมากที่ประพันธ์เป็นภาษาสันสกฤต หลายเรื่องเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทย อาทิ รามายณะ มหาภารตะ เป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบัน จะผู้ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาพูดไม่มากในประเทศอินเดีย แต่ภาษาสันสกฤตก็ยังคงมีความสำคัญ และดำรงความเป็นนภาษาราชการภาษาหนึ่ง มีความพยายามที่จะฟื้นฟูภาษาสันสกฤตให้เป็นภาษาพูดที่ใช้ในการสื่อสาร (spoken Sanskrit) และในภาษาอินเดียปัจจุบัน มีคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตจำนวนมาก การที่จะเรียนภาษาอินเดียปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี ให้มีประสิทธิภาพและลึกซึ้ง จึงควรที่จะมีความรู้ภาษาสันสกฤตในบริบทของไทย มีศัพท์มากมายที่เป็นคำยืมภาษาสันสกฤต อีกทั้งวรรณคดีไทยมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับวรรณคดีสันสกฤต การศึกษาภาษาสันสกฤตจึงมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งในการเข้าใจภาษาและวรรณคดี รวมทั้งวัฒนธรรมไทย ที่มีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมอินเดียมาแต่โบราณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ทางการศึกษาในการบริการวิชาการแก่สังคม โดยจัดอบรมวิชาการต่างๆ ให้แก่บุคลากรภายใน และบุคคลภายนอกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการด้านภาษาสันสกฤตเรียนง่ายให้แก่บุคคลทั่วไปขึ้น เพื่อให้บุคคลที่สนใจภาษาและวัฒนธรรมอินเดียมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาสันสกฤตสำหรับศึกษาต่อในระดับสูง

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและอ่านอักษรเทวนครี และเรียนรู้ไวยากรณ์สันสกฤตเบื้องต้น
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านประโยค และย่อหน้าที่เป็นภาษาสันสกฤตอย่างง่าย
3. เพื่อบริการวิชาการให้แก่บุคคลทั่วไปผู้สนใจภาษาสันสกฤต และเผยแพร่ความรู้สู่สังคม

3. หัวข้อการอบรม
การอบรมครั้งนี้ เน้นศึกษาไวยากรณ์สันสกฤตเบื้องต้น และทำความเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ และนำไวยากรณ์ที่เรียนมาใช้อ่านประโยค หรือ ย่อหน้าที่เป็นภาษาสันสกฤตอย่างง่ายได้ อันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาขั้นสูงขึ้นต่อไป

4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน สื่อเสียงและภาพ

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาสันสกฤต ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
พื้นฐาน 2 เรียนจบพื้นฐาน 1 หรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน

9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาสันสกฤตสำหรับศึกษาต่อในระดับสูง

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                         ประธานกรรมการ
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว         กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                             กรรมการและเลขานุการ

About the author

Administrator administrator