“ล่ามการประชุมเบื้องต้น”

ByAksorn Chula

“ล่ามการประชุมเบื้องต้น”

**รับจำนวนจำกัด ลงสมัครคอร์สกรุณาติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อน**
โครงการอบรม “ล่ามการประชุมเบื้องต้น”

จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และ ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน – 8 สิงหาคม 2563
—————————————–

1. หลักการและเหตุผล
โครงการนี้เป็นโครงการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการล่าม สำหรับผู้สนใจจะปฏิบัติงานล่ามการประชุม (Conference Interpreting) หรือผู้ที่เคยเรียนการแปลแบบล่ามพูดตามมาแล้ว มีการสอนโดยสังเขปในทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการแปลล่ามการประชุม ซึ่งรวมถึงการแปลแบบล่ามพูดตาม การแปลแบบล่ามพูดพร้อม และการแปลล่ามจากเอกสาร ผู้เรียนจะได้ทราบเกี่ยวกับทฤษฎีการแปลแบบล่าม ได้พัฒนาทักษะการค้นหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการปฏิบัติหน้าที่ล่าม ได้อภิปรายกลวิธีการแก้ปัญหาในการแปล และประเด็นทางจริยธรรมในวิชาชีพล่าม เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะระดับสูงในการแปลแบบล่ามต่อไป โดยมีเป้าหมายมุ่งจะพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ทางด้านทฤษฏีควบคู่ไปกับความสามารถในการทำงานล่าม

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการแปลแบบล่าม
2.2 พัฒนาทักษะการค้นหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการปฏิบัติหน้าที่ล่าม
2.3 สามารถแก้ไขปัญหาในการแปล และประเด็นทางจริยธรรมในวิชาชีพล่ามได้ในระดับหนึ่ง

3. หัวข้อการอบรม
3.1 ความหมายและลักษณะของการแปลแบบล่ามการประชุม
3.2 การฝึกทักษะเพื่อแปลแบบล่ามพูดตามและล่ามพูดพร้อม
3.3 กลวิธีการแปลแบบล่ามพูดตามและล่ามพูดพร้อม
3.4 การแปลแบบล่ามพูดพร้อมในองค์การระหว่างประเทศ
3.5 การแปลแบบล่ามพูดพร้อมในภาคธุรกิจ
3.6 การแปลแบบล่ามพูดพร้อมในภาควิชาการ
3.7 การแปลแบบล่ามจากเอกสาร

4. วิธีการจัดอบรม
4.1 การบรรยาย
4.2 ฝึกปฏิบัติ
4.3 ฝึกการล่ามจำลองสถานการณ์จริง

5. ระยะเวลาในการอบรม
อบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563 ถึงวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563
เวลา 9.00-12.00 น. จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง

6. สถานที่อบรม
ห้องประชุม 814 และห้องปฏิบัติการล่ามภาษา 705 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7. ผู้เข้าอบรม
นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป

8. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าอบรมรวมเอกสารประกอบการอบรม คนละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) คณะอักษรศาสตร์จะไม่คืนเงินค่าอบรมที่ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากไม่สามารถเปิดการอบรมได้

9. การประเมินผล
ประเมินผลโดยพิจารณาจากการฝึกปฏิบัติ และการทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดสารด้วยการล่ามจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จะออกหนังสือสำคัญให้เป็นหลักฐานแก่ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรม แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองการเข้าอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการ
2. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการและสอบผ่านข้อสอบที่ผู้สอนกำหนดเกณฑ์การผ่านไว้

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับล่ามการประชุมเบื้องต้น ทั้งยังได้ฝึกฝนทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการแปลล่ามการประชุม สามารถฟังจับความและถ่ายทอดข้อความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้พูด

11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. รศ. ปรีมา มัลลิกะมาส                       ประธานโครงการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ         กรรมการ
3. ผศ. ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ                 กรรมการ
4. ผศ. ดร.แพร จิตติพลังศรี                   กรรมการ

About the author

Aksorn Chula administrator