ภาษาจีนกลาง(หลักสูตรออนไลน์)

ByAdministrator

ภาษาจีนกลาง(หลักสูตรออนไลน์)

โครงการอบรมภาษาจีนกลางสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคง การเมือง และเศรษฐกิจของโลก องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ภาษาจีนกลางเป็นหนึ่งในภาษาราชการที่ใช้ในการประชุมหรือสัมมนาต่างๆขององค์การฯ ภาษาจีนกลางจึงเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย คณะอักษรศาสตร์เห็นว่าภาษาจีนกลางเป็นสื่อกลางสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และทัศนคติในแง่มุมต่างๆของชาวจีนได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางคณะอักษรศาสตร์จึงมีความประสงค์จะจัดโครงการอบรมภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประกอบวิชาชีพและการศึกษา

2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลที่สนใจ เพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาจีนให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ และหน้าที่การงาน
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของประเทศจีนให้แก่บุคคลที่สนใจ
3. เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่บุคคลภายนอก

3. หัวข้อการอบรม
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1
1. ฝึกทักษะการฟัง การอ่านออกเสียง และการเขียนสัทอักษรภาษาจีน
2. ฝึกเขียนตัวอักษรจีน และแต่งประโยคอย่างง่าย
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องกับการทักทาย ขอบคุณ และการกล่าวคำอำลาเพื่อให้สามารถสนทนาและถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวเป็นภาษาจีนได้
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่ไม่ต้องอาศัยสัทอักษรจีน
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อน
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การถามจำนวน การอวยพรต่างๆ เป็นต้น
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน 2
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นพื้นฐาน 2 เช่น ประโยค ba ประโยคเปรียบเทียบขั้นกว่า เป็นต้น
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน 2 เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การบอกทิศทาง การเปรียบเทียบ การถามระยะเวลา เป็นต้น
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน 3
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นพื้นฐาน 3 เช่น ประโยคกรรมวาจก การใช้คำบ่งทิศทางในการแสดงความหมายโดยนัย เป็นต้น
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน 3 เช่น การบอกตำแหน่งแหล่งที่ การบอกทิศทางที่ซับซ้อนขึ้น การไปโรงพยาบาล เป็นต้น
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน 4
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นพื้นฐาน 4
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน 4
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นกลาง 1
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นกลาง 1
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นกลาง 1
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1
1. ฝึกทักษะการพูด การฟังภาษาจีนกลางของผู้มีระดับความรู้ HSK 3 ขึ้นไป
2. ฝึกสนทนาในหัวข้อที่กำหนดให้
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2
1. ฝึกทักษะการพูด การฟังภาษาจีนกลางของผู้มีระดับความรู้ HSK 3 ขึ้นไป
2. ฝึกสนทนาในหัวข้อที่กำหนดให้
ภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร 4
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3
2. ฝึกการอ่านจับใจความ อภิปรายและเขียนเรียงความในหัวข้อที่กำหนดให้

4. วิธีจัดการอบรม
บรรยายโดยอาจารย์ผู้สอน ประกอบด้วยภาคทฤษฏี ได้แก่อักขระ พยัญชนะ ระบบเสียง ไวยากรณ์ เป็นต้น และภาคปฏิบัติ ได้แก่ การฝึกออกเสียง การพูด การฟัง การสนทนาด้วยคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น พร้อมทั้งการทำแบบฝึกหัด

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ  เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร 4 วันเสาร์ ทุกเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ผ่านระบบออนไลน์

9. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 1 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 4 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นกลาง 1 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาภาษาจีนกลางขั้นกลาง 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาการสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน

10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

11. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน

12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาจีนกลางที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป

13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ เอกอัจฉริยา              ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                                 กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศรักษ์ เพชรเชิดชู                กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัญญพร จาวะลา                   กรรมการ
5. อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ ช้างบุญชู                                   กรรมการ
6. อาจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี                                       กรรมการ
7. อาจารย์ ดร.พิชญา วิภาวีนุกูล                                    กรรมการ

About the author

Administrator administrator

You must be logged in to post a comment.