โครงการอบรมเรียนรู้ภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนา
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาทิเบตเป็นหนึ่งในภาษาที่ใช้แปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และปกรณ์ต่างๆ จากภาษาถิ่นอินเดีย โดยเฉพาะภาษาสันสกฤต การแปลคัมภีร์เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ศาสนาพุทธได้รับการเผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินทิเบตครั้งแรก การแปลคัมภร์ภาษาทิเบตได้รับการอุปถัมภ์โดยกษัตริย์ทิเบตอย่างจริงจังในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 งานแปลเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมและจัดเรียงอยู่ในพระไตรปิฎกพากย์ทิเบต ซึ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ กันจูร์ (หรือ bKa’-‘gyur) แปลว่า “พระสูตรแปล” ประกอบไปด้วยพุทธวจนะในรูปของพระสูตรต่างๆ เกือบทั้งหมดมีต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต แบ่งออกเป็น พระวินัย (Dul ba ), พระสูตร (mDo) และคัมภีร์ตันตระ (rGyud) ซึ่งมีพระสูตรทั้งของฝ่ายมหายานและเถรวาทที่สำคัญ อาทิ พระสูตรปรัชญาปารมิตา พระสูตรสายอวตังสกะ และพระสูตรสายรัตนกูฏ อีกส่วนหนึ่ง คือ เตนจูร์ (bsTan-‘gyur) หรือ “ศาสตร์แปล” ประกอบไปด้วยอรรถกา ศาสตร์ และปกรณ์วิเศษต่างๆ รวมถึงคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม ของทั้งสายมหายาน และนอกสายมหายาน สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้เล็งเห็นความสำคัญของภาษาทิเบตที่ใช้ในการแปลคัมภีร์พุทธศาสนา จึงมีความประสงค์ที่จะเปิดอบรมภาษาทิเบตให้แก่สาธารณชนที่ต้องการศึกษาภาษานี้อันเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพุทธและเป็นการเปิดโลกทัศน์ความรู้ด้านพุทธศาสน์ศึกษา
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเขียน ระบบเสียง และไวยากรณ์ภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนา
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านและแปลประโยคภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนาระดับพื้นฐานได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการอ่านคัมภีร์พุทธศาสนาที่แปลเป็นภาษาทิเบต
3. หัวข้อการอบรม
ไวยากรณ์ภาษาทิเบตเพื่อพุทธศาสน์ศึกษา : ระบบการเขียนและระบบเสียง ชนิดของคำ คำช่วยและหน้าที่ อุปสรรคและปัจจัย โครงสร้างประโยคพื้นฐาน การอ่านและการแปลประโยคมูลฐานภาษาทิเบตเป็นภาษาไทย
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2563 รวม 30 ชั่วโมง
-19 กย 63 ห้องเรียน
– 26 กย 63 ห้องเรียน
– 3 ตค 63 ห้องเรียน
– 10 ตค 63 ห้องเรียน
– 17 ตค 63 ออนไลน์
– 31 ตค 63 ออนไลน์
– 7 พย 63 ออนไลน์
– 14 พย 63 ออนไลน์
– 21 พย 63 ออนไลน์
– 28 พย 63 ห้องเรียน
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
– คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ออนไลน์
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,750 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมจะได้มีพื้นความรู้เกี่ยวกับภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนาสำหรับการศึกษาในขั้นสูงต่อไป
2. ผู้เข้าอบรมจะสามารถอ่านและแปลภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนาในระดับพื้นฐานได้
3. ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้คัมภีร์พุทธศาสนาที่แปลเป็นภาษาทิเบต
4. โครงการนี้ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลและหน่อยงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะภาษาทิเบตเพื่อพุทธศาสน์ศึกษา
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. อาจารย์ ดร.สมพรนุช ตันศรีสุข กรรมการ
4.อาจารย์ ดร. ณัชพล ศิริสวัสดิ์ กรรมการและเลขานุการ
You must be logged in to post a comment.
About the author