โครงการอบรมภาษาฮินดีพื้นฐาน กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐอินเดีย และเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันเข้าใจได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล บังคลาเทศ ภูฏาน เป็นต้น ชาวอินเดียที่ใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ได้อพยพไปตั้งรกรากใหม่ในหลายๆประเทศทั่วโลกจนมีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศนั้นๆ จึงพบว่ามีผู้ใช้ภาษาฮินดีสื่อสารกันมากกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก ประเทศอินเดียในปัจจุบันมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน ภาษาฮินดีจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น อินเดียก็อยู่ในกลุ่มประเทศ AEC +6 ด้วย
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอินเดียมาอย่างยาวนานมากกว่า 2,000 ปี ส่วนในทางการทูตนั้น รัฐบาลของทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาแล้วถึง 67 ปี (พ.ศ.2557) ในปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยมีสมาคมนักธุรกิจชาวอินเดียและชุมชนชาวอินเดียอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งเกือบทั้งหมดยังนิยมใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษากลางในการสื่อสารกัน นักธุรกิจไทยก็เข้าไปลงทุนธุรกิจในอินเดียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการท่องเที่ยว และพบว่ามีแนวโน้มการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้ในเรื่องภาษาและความเข้าใจในวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ทางการศึกษาในการบริการวิชาการแก่สังคม โดยจัดอบรมวิชาการต่างๆ ให้แก่บุคลากรภายใน และบุคคลภายนอกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการด้านภาษาฮินดีขั้นพื้นฐานแก่บุคคลทั่วไปขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจภาษาและวัฒนธรรมอินเดียมีพื้นฐานความรู้ภาษาฮินดีและวัฒนธรรมอินเดียเพื่อนำไปใช้สื่อสารและสำหรับศึกษาในระดับสูงต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในทักษะด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ การฟังและการสนทนาที่จำเป็นสำหรับใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมอินเดีย
3. เพื่อบริการวิชาการให้แก่บุคคลทั่วไปผู้สนใจภาษาฮินดี และเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
3. หัวข้อการอบรม
การอบรมครั้งนี้ เน้นศึกษาบทสนทนาเป็นหลักเพื่อการนำไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง และทำความเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์พร้อมกันไปด้วย โดยเน้นบทสนทนาเบื้องต้นอย่างง่ายอันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาขั้นสูงขึ้นต่อไป
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน สื่อเสียงและภาพ
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฮินดีพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.30 – 12.30 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฏาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฮินดีเพื่อการท่องเที่ยว ทุกวันเสาร์ เวลา 13.30 – 16.30 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฏาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฮินดี ขั้นพื้นฐาน 2 มีพื้นฐานมาประมาณ 30 ชั่วโมงหรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน
ภาษาฮินดีเพื่อการท่องเที่ยว มีพื้นฐานมาประมาณ 30 ชั่วโมงหรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมรู้ เข้าใจและสามารถสื่อสารกันด้วยภาษาฮินดีง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน และอาจนำไปต่อยอดเพื่อการศึกษาต่อ และติดต่อกับชาวต่างประเทศที่พูดภาษาฮินดีได้
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผศ.ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ประธานกรรมการ
2. รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
You must be logged in to post a comment.
About the author