โครงการอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร ต้นปี 2563
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษามาเลย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันคนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยวไปประเทศกลุ่มอาหรับ ส่วนชาวอาหรับก็เดินทางเข้ามาประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการตื่นตัวทางธุรกิจ การค้า และการติดต่อสื่อสาร ภาษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ การเปิดการอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารจึงเป็นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาอาหรับเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน คณะอักษรศาสตร์ ตระหนักถึงบทบาทของคณะ ฯ ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนจึงเปิดอบรมโครงการภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารเกี่ยวข้องกับการต้อนรับหรือติดต่อกับชาวอาหรับ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอันจะส่งผลให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมภาษาอาหรับแก่บุคคลทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอาหรับ เพื่อการสื่อสาร
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ
3. หัวข้อการอบรม
1. ทำความรู้จักและคุ้นเคยกับระบบเสียงของภาษาอาหรับทั้งเสียงสระและพยัญชนะ
2. เรียนรู้คำศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว เช่น การทักทาย การแนะนำตัว การถามทาง และการซื้อของ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การเช่ารถ โรงแรมและที่พัก เป็นต้น
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว ส่วนภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาอาหรับ ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2562 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาอาหรับขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2562 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 6 มกราคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 1 ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 2 ผู้สมัครต้องผ่านภาษาอาหรับพื้นฐาน 1 หรืออาจารย์ผู้สอนอนุญาติ
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,500 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมการเขียนอักษรอาหรับวิจิตร ต้นปี 2563
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษามาเลย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรมีความเป็นมายาวนานที่แสดงถึงศิลปะ วัฒนธรรม ปรัชญาตลอดจนจิตวิญญาณของชาวอาหรับ ศาตร์และศิลป์แขนงนี้ได้รับปฏิบัติการถ่ายทอดกันเรื่อยมานับพันปี ซึ่งเห็นได้จากภาพเขียนตามสถานที่ หนังสือ เอกสาร และสิ่งของต่าง ๆ ที่ปรากฏลวดลายอักษรอาหรับที่สวยงาม ปัจจุบันการเขียนอักษรอาหรับวิจิตรได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการนำอักษรอาหรับวิจิตรไปประยุกต์ใช้ในขีวิตประจำวันในโอกาสต่าง ๆ สร้างมูลค่าให้กับสินค้า และสร้างความประทำใจให้กับผู้พบเห็น การเปิดการอบรมการเขียนอักษรอาหรับวิจิตรเป็นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านการเขียนภาษาอาหรับเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน คณะอักษรศาสตร์ ตระหนักถึงบทบาทของคณะ ฯ ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนจึงเปิดอบรมโครงการการเขียนอักษรอาหรับวิจิตร ให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับการเขียนอักษรอาหรับวิจิตร อันจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมบุคคลทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถในการเขียนอักษรอาหรับแบบต่าง ๆ
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ
3. หัวข้อการอบรม
การเขียนแต่ละแบบมีเนื้อหาเกี่ยวกับ เรียนรู้ประวัติ ความเป็นมา หลักการเขียนอักษรอาหรับแบบมาตรฐานและอักษรอาหรับเชิงวิจิตร ฝึกปฏิบัติเขียนอักษรอาหรับ
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว ส่วนภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบนัสค์ (Nask)ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2563 2563 รวม 30 ชั่วโมง
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบดีวาน (Diwani) ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 4 เมษายน 2563 รวม 30 ชั่วโมง
อักษรอาหรับวิจิตรหรรษา สำหรับเด็ก (5-12 ปี) ทุกวันอาทิตย์ 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน 2563 2563 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 6 มกราคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบนัสค์ (Nask)ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตรแบบดีวาน (Diwani) ผู้สมัครต้องผ่านภาษาอาหรับพื้นฐาน 1 หรืออาจารย์ผู้สอนอนุญาติ
อักษรอาหรับวิจิตรหรรษา สำหรับเด็ก (5-12 ปี) ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,500 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
About the author