โครงการอบรมภาษาญี่ปุ่นสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 – 2 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้ที่สนใจเรียนเป็นจำนวนมาก นอกจากเพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทย วัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาเป็นเวลานาน การประกาศยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นให้แก่ชาวไทยเพื่อท่องเที่ยวและพำนักระยะสั้นที่ทำให้ชาวไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ยังมีปัจจัยใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่การที่ในพ.ศ.2562 ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มนโยบายรับแรงงานชาวต่างชาติโดยขยายกรอบไปจนถึงแรงงานแบบไม่มีฝีมือ (unskilled labor) ให้เข้าไปทำงานในประเทศเพื่อทดแทนแรงงานชาวญี่ปุ่นที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก เนื่องมาจากการที่ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ปัจจุบันผู้สนใจภาษาญี่ปุ่นมีขอบเขตกว้างขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศญี่ปุ่นด้วยด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จึงประสงค์จะจัดโครงการอบรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว แต่เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้ยังไม่สามารถจัดการอบรมในห้องเรียนแบบปกติได้ จึงจะเปลี่ยนจากรูปแบบมาเป็นการอบรมผ่านระบบออนไลน์ 100% เพื่อความปลอดภัยของผู้สอนและผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคน และคงประสิทธิภาพการเรียนการสอนไว้ให้มากที่สุด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในระดับพื้นฐานและขั้นกลาง
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับญี่ปุ่นทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาญี่ปุ่น 1 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน ประโยคและคำศัพท์พื้นฐาน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น รวมทั้งการเขียนตัวอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 1 บทที่ 1-6) |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน ประโยคและคำศัพท์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น เช่น การผันคำคุณศัพท์(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 1 บทที่ 7-12) |
ภาษาญี่ปุ่น 3 (วันเสาร์ ) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น เช่น การผันรูปกริยา ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐาน(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 2 บทที่ 13-19และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 4 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม เมื่อเรียนจบจะมีความรู้เทียบเท่ากับระดับ N5(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 2 บทที่ 20-25และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 5 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 3 บทที่ 26-31และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 6 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 3 บทที่ 32-38และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 7(วันเสาร์) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 4 บทที่ 39-43และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 8(วันเสาร์) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 4 บทที่ 44-50และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง1 |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 เน้นความเข้าใจและเปรียบเทียบการใช้ไวยากรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ฝึกอ่านบทอ่านขนาดกลาง และแปลประโยคเป็นภาษาญี่ปุ่น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา ก้าวไกลไปกับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 บทที่ 1 และ 2) |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 เน้นการใช้เทคนิค shadowing ที่ช่วยพัฒนาสำเนียงและทำนองเสียงภาษาญี่ปุ่น สามารถพูดโต้ตอบบทสนทนาง่ายๆ ได้ทันที อีกทั้งยังได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่จากเนื้อหาหัวข้อสนทนาใกล้ตัว เช่น อาหารการกิน ครอบครัว แล้วนำคำศัพท์มาฝึกแต่งประโยค |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 (วันเสาร์) |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 เน้นการใช้เทคนิค shadowing ที่ช่วยพัฒนาทำนองเสียงให้ฟังดูเป็นภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น สามารถหยิบยกเนื้อหาหัวข้อสนทนาใกล้ตัวขึ้นมาพูดคุย รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับคู่สนทนาในการสนทนาที่ยาวขึ้นได้ |
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายประกอบการฝึกสนทนา โดยใช้ตำรา สื่อเสียงและภาพ และเชิญวิทยากรเจ้าของภาษาตามสมควร
5. ระยะเวลาและรูปแบบการอบรม
รูปแบบการอบรม ออนไลน์ผ่านระบบซูม (Zoom) 100%
คอร์สวันเสาร์ ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง ( หยุดวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 )
ชื่อคอร์ส |
เวลา |
ราคา |
ภาษาญี่ปุ่น 1 (กลุ่มเช้า) |
9.00 – 12.00 น. |
3,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (กลุ่มเช้า) |
||
ภาษาญี่ปุ่น 3 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 4 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 5 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 6 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 7 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 8 |
||
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 |
||
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 |
9.00 – 12.00 น. |
3,300 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 1 (กลุ่มบ่าย) |
13.00 – 16.00 น. |
3,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (กลุ่มบ่าย) |
คอร์สวันธรรมดา (จันทร์และพุธ) ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง ( หยุดวันที่ 26 พ.ค. , 26 ก.ค. และ 28 ก.ค. 2564 )
ชื่อคอร์ส |
เวลา |
ราคา |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (กลุ่มวันธรรมดา) |
18.00 – 20.00 น. |
4,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 4 (กลุ่มวันธรรมดา) |
||
ภาษาญี่ปุ่น 5 (กลุ่มวันธรรมดา) |
คอร์สวันธรรมดา (อังคารและพฤหัสบดี) ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 29 กรกฎาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง (หยุดวันที่ 3 มิ.ย. และ 27 ก.ค. 2564 )
ชื่อคอร์ส |
เวลา |
ราคา |
ภาษาญี่ปุ่น 1 (กลุ่มวันธรรมดา) |
18.00 – 20.00 น. |
4,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 6 (กลุ่มวันธรรมดา) |
||
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 |
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. เบอร์ติดต่อ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ผ่านระบบออนไลน์
9. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาญี่ปุ่น 1 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 1 (วันธรรมดา) ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาและไม่จำเป็นต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่น แต่ต้องอ่านตัวอักษรภาษาอังกฤษได้
ภาษาญี่ปุ่น 2 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 2 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 1 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 3 (วันเสาร์) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 2 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 4 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 4 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 3 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 5 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 5 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 4 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 6 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 6 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 5 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 7 (วันเสาร์) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 6 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 8 (วันเสาร์) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 7 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 8 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ – คันจิ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือมีความรู้ตำรา Minna no Nihongo ถึงบทที่ 25 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 ผ่านการอบรมคอร์สสนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือมีความรู้ตำรา Minna no Nihongo ถึงบทที่ 30 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 30 ชั่วโมง ราคา 3,000 บาท*
ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 40 ชั่วโมง ราคา 4,000 บาท*
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 ราคา 3,300 บาท**
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 ราคา 4,000 บาท
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 ราคา 3,000 บาท***
*ค่าธรรมเนียมนี้ไม่รวมค่าตำรา “Minna no Nihongo” “คัดเขียนเรียนญี่ปุ่น” และ“เรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง”
**ค่าธรรมเนียมนี้รวมค่าตำราและค่าจัดส่งภายในประเทศแล้ว
***ค่าธรรมเนียมนี้รวมเอกสารประกอบการสอนแล้ว (อาจารย์ผู้สอนจะส่งไฟล์ให้ผู้เรียนโดยตรงทางอีเมล)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในระดับพื้นฐานและขั้นกลาง
2. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับญี่ปุ่นทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
About the author