โครงการอบรมภาษาสเปนสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาสเปนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาสเปนแก่ผู้เริ่มเรียนหรือผู้ที่มีพื้นความรู้มาแล้ว เพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการใช้ภาษานี้มีความรู้หรือทบทวนเพิ่มเติมและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับปรุงใช้ในงานส่วนตัว ของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 1 , 2,3 การจัดอบรมประกอบด้วย ภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ภาคปฏิบัติมีการฝึกออกเสียงและสนทนาโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติ ซึ่งได้แก่การฝึกฟังสำเนียงของเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเป็นทางวีดีทัศน์และอาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นชาวสเปน การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรม
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 3 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4535-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 1 ผู้สมัครไม่มีพื้นฐาน
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องสอบผ่านภาษาสเปนขั้นพื้นฐาน 1
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องสอบผ่านภาษาสเปนขั้นพื้นฐาน 2
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ ราคา 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาสเปนที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์นรุตม์ เจ้าสกุล กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกิจ พู่พวง กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษารัสเซียสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษารัสเซียเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษารัสเซียแก่ผู้เริ่มเรียน เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้มีความรู้ และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในงานส่วนของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษารัสเซีย 1
ฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรภาษารัสเซีย ไวยากรณ์เบื้องต้นและบทสนทนาภาษารัสเซียในชีวิตประจำวัน (เป็นวิชาพื้นฐาน สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษารัสเซียมาก่อน)
ภาษารัสเซีย 2
ศึกษาไวยากรณ์การก 1 (Nominative case), การก 4 (Accusative case), การก 6 (Prepositional case) ในรูปเอกพจน์และไวยากรณ์เรื่องอื่นๆ (เป็นวิชาพื้นฐาน ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ชม.)
ภาษารัสเซีย 3
ศึกษาไวยากรณ์การก 2 (Genitive case), การก 3 (Dative case), การก 5 (Instrumental case) ในรูปเอกพจน์ การใช้กริยาสมบูรณ์ ไม่สมบูรณ์ และไวยากรณ์เรื่องอื่นๆ (ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ชม.)
ภาษารัสเซีย 4
ศึกษาการกต่างๆ ในรูปพหูพจน์ การใช้ Direct และ Indirect Speech และไวยากรณ์ขั้นสูงเรื่องอื่นๆ (ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 ชม.)
4. วิธีจัดการอบรม
รูปแบบสอนออนไลน์
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษารัสเซีย 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 17 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
ภาษารัสเซีย 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 17 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
ภาษารัสเซีย 3 ทุกวันอาทิตย์ 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
ภาษารัสเซีย 4 ทุกวันอาทิตย์ 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
– ภาษารัสเซีย 1 เป็นวิชาพื้นฐาน สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษารัสเซียมาก่อน
– ภาษารัสเซีย 2 เป็นวิชาพื้นฐาน ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ชม.
– ภาษารัสเซีย 3 ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ชม.
– ภาษารัสเซีย 4 ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 ชม.
ทุกวิชาสอนโดยอาจารย์ชาวไทย
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 2,700 บาทต่อคอร์ส
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการ จะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษารัสเซียที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา เพ็ชรรักษ์ ประธานกรรมการ
2. รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลภายนอก (ระดับพื้นฐาน 1 และพื้นฐาน 2)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น ด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการดังกล่าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้นำในเรื่องการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส จึงควรตอบสนองความต้องการของสังคมในเรื่องนี้
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสแก่ผู้เริ่มเรียน และผู้ที่มีพื้นฐานเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนของตน
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่ง ได้แก่ การฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียน โดยอาศัยสิ่งที่เรียนจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ราคา 4,500 บาท (รวมหนังสือ) หรือราคา 4,000 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน และขั้นพื้นฐาน 4 ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับหนังสือสำคัญพร้อมวุฒิบัตรไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ ประธานกรรมการ
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3.เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลภายนอก (ระดับพื้นฐาน 3 และพื้นฐาน 4)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น ด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการดังกล่าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้นำในเรื่องการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส จึงควรตอบสนองความต้องการของสังคมในเรื่องนี้
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสแก่ผู้เริ่มเรียน และผู้ที่มีพื้นฐานเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนของตน
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่ง ได้แก่ การฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียน โดยอาศัยสิ่งที่เรียนจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ราคา 6,000 บาท (รวมหนังสือ) หรือราคา 5,500 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน และขั้นพื้นฐาน 4 ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับหนังสือสำคัญพร้อมวุฒิบัตรไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ ประธานกรรมการ
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3.เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาอิตาเลียนสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาอิตาเลียนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาอิตาเลียนแก่ผู้เริ่มเรียน หรือผู้ที่มีพื้นความรู้มาแล้ว เพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้มีความรู้หรือทบทวนเพิ่มเติม และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับปรุงใช้ในงานส่วนของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน1 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 2 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติ ซึ่งได้แก่การฝึกฟังสำเนียงของเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเป็นทางวีดีทัศน์และอาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
วันธรรมดา
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@Chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 2 ต้องผ่านระดับพื้นฐาน 1 ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่สมัคร
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 4,000 บาท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาอิตาเลียนที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.วิลาสินีย์ แฝงยงค์ กรรมการ
3.อาจารย์ ดร.ปาจารีย์ ทาชาติ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาฮินดีพื้นฐาน กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐอินเดีย และเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันเข้าใจได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียใต้ เช่น ปากีสถาน เนปาล บังคลาเทศ ภูฏาน เป็นต้น ชาวอินเดียที่ใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ได้อพยพไปตั้งรกรากใหม่ในหลายๆประเทศทั่วโลกจนมีบทบาททางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศนั้นๆ จึงพบว่ามีผู้ใช้ภาษาฮินดีสื่อสารกันมากกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลก ประเทศอินเดียในปัจจุบันมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน ภาษาฮินดีจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น อินเดียก็อยู่ในกลุ่มประเทศ AEC +6 ด้วย
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอินเดียมาอย่างยาวนานมากกว่า 2,000 ปี ส่วนในทางการทูตนั้น รัฐบาลของทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาแล้วถึง 67 ปี (พ.ศ.2557) ในปัจจุบันพบว่าในประเทศไทยมีสมาคมนักธุรกิจชาวอินเดียและชุมชนชาวอินเดียอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งเกือบทั้งหมดยังนิยมใช้ภาษาฮินดีเป็นภาษากลางในการสื่อสารกัน นักธุรกิจไทยก็เข้าไปลงทุนธุรกิจในอินเดียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการท่องเที่ยว และพบว่ามีแนวโน้มการแลกเปลี่ยนการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้ในเรื่องภาษาและความเข้าใจในวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ทางการศึกษาในการบริการวิชาการแก่สังคม โดยจัดอบรมวิชาการต่างๆ ให้แก่บุคลากรภายใน และบุคคลภายนอกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการด้านภาษาฮินดีขั้นพื้นฐานแก่บุคคลทั่วไปขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจภาษาและวัฒนธรรมอินเดียมีพื้นฐานความรู้ภาษาฮินดีและวัฒนธรรมอินเดียเพื่อนำไปใช้สื่อสารและสำหรับศึกษาในระดับสูงต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในทักษะด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ การฟังและการสนทนาที่จำเป็นสำหรับใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมอินเดีย
3. เพื่อบริการวิชาการให้แก่บุคคลทั่วไปผู้สนใจภาษาฮินดี และเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
3. หัวข้อการอบรม
การอบรมครั้งนี้ เน้นศึกษาบทสนทนาเป็นหลักเพื่อการนำไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันได้จริง และทำความเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์พร้อมกันไปด้วย โดยเน้นบทสนทนาเบื้องต้นอย่างง่ายอันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาขั้นสูงขึ้นต่อไป
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน สื่อเสียงและภาพ
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฮินดีพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.30 – 12.30 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฏาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฮินดีเพื่อการท่องเที่ยว ทุกวันเสาร์ เวลา 13.30 – 16.30 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฏาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฮินดี ขั้นพื้นฐาน 2 มีพื้นฐานมาประมาณ 30 ชั่วโมงหรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน
ภาษาฮินดีเพื่อการท่องเที่ยว มีพื้นฐานมาประมาณ 30 ชั่วโมงหรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมรู้ เข้าใจและสามารถสื่อสารกันด้วยภาษาฮินดีง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน และอาจนำไปต่อยอดเพื่อการศึกษาต่อ และติดต่อกับชาวต่างประเทศที่พูดภาษาฮินดีได้
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผศ.ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ประธานกรรมการ
2. รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร ปลายปี 2561
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษามาเลย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 24 พฤศจิกายน 2561
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันคนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยวไปประเทศกลุ่มอาหรับ ส่วนชาวอาหรับก็เดินทางเข้ามาประเทศไทย เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดการตื่นตัวทางธุรกิจ การค้า และการติดต่อสื่อสาร ภาษาจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ การเปิดการอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารจึงเป็นการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาอาหรับเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน คณะอักษรศาสตร์ ตระหนักถึงบทบาทของคณะ ฯ ในการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนจึงเปิดอบรมโครงการภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารเกี่ยวข้องกับการต้อนรับหรือติดต่อกับชาวอาหรับ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอันจะส่งผลให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่ออบรมภาษาอาหรับแก่บุคคลทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอาหรับ เพื่อการสื่อสาร
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ
3. หัวข้อการอบรม
1. ทำความรู้จักและคุ้นเคยกับระบบเสียงของภาษาอาหรับทั้งเสียงสระและพยัญชนะ
2. เรียนรู้คำศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว เช่น การทักทาย การแนะนำตัว การถามทาง และการซื้อของ การแลกเปลี่ยนเงินตรา การเช่ารถ โรงแรมและที่พัก เป็นต้น
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนและประโยคต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในการท่องเที่ยว ส่วนภาคปฏิบัติ เป็นการฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยความรู้ที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาอาหรับ ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 24 พฤศจิกายน 2561 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาอาหรับขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 24 พฤศจิกายน 2561 รวม 30 ชั่วโมง
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตร 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 24 พฤศจิกายน 2561 รวม 30 ชั่วโมง
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตร 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 15 กันยายน – 24 พฤศจิกายน 2561 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 27 สิงหาคม 2561
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
1. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 แล้วส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการโอนเงิน (Download ข้อมูลจาก www.AksornChula.com หัวข้อ “วิธีการสมัคร”) มาที่ศูนย์บริการบริการวิชาการตามช่องทางต่อไปนี้
1.1 สแกน หรือ ถ่ายภาพหลักฐานการโอนเงินพร้อมใบสมัครที่ชัดเจน ส่งเข้า email มาที่ aksornchula@chula.ac.th
2. ในวันเปิดเรียนให้นำเอกสารหลักฐานตัวจริงมายืนให้กับเจ้าหน้าที่บริเวณจุดรับลงทะเบียน
8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 1 ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร 2 ผู้สมัครต้องผ่านภาษาอาหรับพื้นฐาน 1 หรืออาจารย์ผู้สอนอนุญาติ
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตร 1 ไม่ต้องมีพื้นฐานภาษาอาหรับ
การเขียนอักษรอาหรับวิจิตร 2 มีพื้นฐานภาษาอาหรับมาบ้าง
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 4,500 บาท (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้น)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด และไม่อนุญาตให้เปลี่ยนภาษาที่ลงสมัครเสร็จสิ้นแล้ว นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่เป็นการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เกี่ยวกับภาษาอาหรับไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ หมัดสะและ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมเรียนรู้ภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนา
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2563
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาทิเบตเป็นหนึ่งในภาษาที่ใช้แปลคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และปกรณ์ต่างๆ จากภาษาถิ่นอินเดีย โดยเฉพาะภาษาสันสกฤต การแปลคัมภีร์เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ศาสนาพุทธได้รับการเผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินทิเบตครั้งแรก การแปลคัมภร์ภาษาทิเบตได้รับการอุปถัมภ์โดยกษัตริย์ทิเบตอย่างจริงจังในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 งานแปลเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมและจัดเรียงอยู่ในพระไตรปิฎกพากย์ทิเบต ซึ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ กันจูร์ (หรือ bKa’-‘gyur) แปลว่า “พระสูตรแปล” ประกอบไปด้วยพุทธวจนะในรูปของพระสูตรต่างๆ เกือบทั้งหมดมีต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤต แบ่งออกเป็น พระวินัย (Dul ba ), พระสูตร (mDo) และคัมภีร์ตันตระ (rGyud) ซึ่งมีพระสูตรทั้งของฝ่ายมหายานและเถรวาทที่สำคัญ อาทิ พระสูตรปรัชญาปารมิตา พระสูตรสายอวตังสกะ และพระสูตรสายรัตนกูฏ อีกส่วนหนึ่ง คือ เตนจูร์ (bsTan-‘gyur) หรือ “ศาสตร์แปล” ประกอบไปด้วยอรรถกา ศาสตร์ และปกรณ์วิเศษต่างๆ รวมถึงคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม ของทั้งสายมหายาน และนอกสายมหายาน สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้เล็งเห็นความสำคัญของภาษาทิเบตที่ใช้ในการแปลคัมภีร์พุทธศาสนา จึงมีความประสงค์ที่จะเปิดอบรมภาษาทิเบตให้แก่สาธารณชนที่ต้องการศึกษาภาษานี้อันเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพุทธและเป็นการเปิดโลกทัศน์ความรู้ด้านพุทธศาสน์ศึกษา
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบเขียน ระบบเสียง และไวยากรณ์ภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนา
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านและแปลประโยคภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนาระดับพื้นฐานได้
3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการอ่านคัมภีร์พุทธศาสนาที่แปลเป็นภาษาทิเบต
3. หัวข้อการอบรม
ไวยากรณ์ภาษาทิเบตเพื่อพุทธศาสน์ศึกษา : ระบบการเขียนและระบบเสียง ชนิดของคำ คำช่วยและหน้าที่ อุปสรรคและปัจจัย โครงสร้างประโยคพื้นฐาน การอ่านและการแปลประโยคมูลฐานภาษาทิเบตเป็นภาษาไทย
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน
5. ระยะเวลาในการอบรม
ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 19 กันยายน – 28 พฤศจิกายน 2563 รวม 30 ชั่วโมง
-19 กย 63 ห้องเรียน
– 26 กย 63 ห้องเรียน
– 3 ตค 63 ห้องเรียน
– 10 ตค 63 ห้องเรียน
– 17 ตค 63 ออนไลน์
– 31 ตค 63 ออนไลน์
– 7 พย 63 ออนไลน์
– 14 พย 63 ออนไลน์
– 21 พย 63 ออนไลน์
– 28 พย 63 ห้องเรียน
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
– คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ออนไลน์
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,750 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมจะได้มีพื้นความรู้เกี่ยวกับภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนาสำหรับการศึกษาในขั้นสูงต่อไป
2. ผู้เข้าอบรมจะสามารถอ่านและแปลภาษาทิเบตเพื่ออ่านวรรณกรรมพุทธศาสนาในระดับพื้นฐานได้
3. ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้คัมภีร์พุทธศาสนาที่แปลเป็นภาษาทิเบต
4. โครงการนี้ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลและหน่อยงานที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะภาษาทิเบตเพื่อพุทธศาสน์ศึกษา
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. อาจารย์ ดร.สมพรนุช ตันศรีสุข กรรมการ
4.อาจารย์ ดร. ณัชพล ศิริสวัสดิ์ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาจีนกลางสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคง การเมือง และเศรษฐกิจของโลก องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ภาษาจีนกลางเป็นหนึ่งในภาษาราชการที่ใช้ในการประชุมหรือสัมมนาต่างๆขององค์การฯ ภาษาจีนกลางจึงเป็นภาษาสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่าภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนยังเป็นประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย คณะอักษรศาสตร์เห็นว่าภาษาจีนกลางเป็นสื่อกลางสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต และทัศนคติในแง่มุมต่างๆของชาวจีนได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางคณะอักษรศาสตร์จึงมีความประสงค์จะจัดโครงการอบรมภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลภายนอก เพื่อถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการประกอบวิชาชีพและการศึกษา
2. วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้ภาษาจีนกลางให้แก่บุคคลที่สนใจ เพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษาจีนให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ และหน้าที่การงาน
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในประเพณีและวัฒนธรรมอันดีของประเทศจีนให้แก่บุคคลที่สนใจ
3. เพื่อตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่บุคคลภายนอก
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1
1. ฝึกทักษะการฟัง การอ่านออกเสียง และการเขียนสัทอักษรภาษาจีน
2. ฝึกเขียนตัวอักษรจีน และแต่งประโยคอย่างง่าย
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องกับการทักทาย ขอบคุณ และการกล่าวคำอำลาเพื่อให้สามารถสนทนาและถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวเป็นภาษาจีนได้
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่ไม่ต้องอาศัยสัทอักษรจีน
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อน
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การถามจำนวน การอวยพรต่างๆ เป็นต้น
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน 2
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นพื้นฐาน 2 เช่น ประโยค ba ประโยคเปรียบเทียบขั้นกว่า เป็นต้น
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน 2 เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การบอกทิศทาง การเปรียบเทียบ การถามระยะเวลา เป็นต้น
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน 3
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นพื้นฐาน 3 เช่น ประโยคกรรมวาจก การใช้คำบ่งทิศทางในการแสดงความหมายโดยนัย เป็นต้น
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน 3 เช่น การบอกตำแหน่งแหล่งที่ การบอกทิศทางที่ซับซ้อนขึ้น การไปโรงพยาบาล เป็นต้น
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน 4
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นพื้นฐาน 4
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นพื้นฐาน 4
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าขั้นกลาง 1
2. ฝึกการเขียนและแต่งประโยคที่ซับซ้อนกว่าขั้นกลาง 1
3. ศึกษาศัพท์และสำนวนภาษาจีนที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวันในวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นกว่าขั้นกลาง 1
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1
1. ฝึกทักษะการพูด การฟังภาษาจีนกลางของผู้มีระดับความรู้ HSK 3 ขึ้นไป
2. ฝึกสนทนาในหัวข้อที่กำหนดให้
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2
1. ฝึกทักษะการพูด การฟังภาษาจีนกลางของผู้มีระดับความรู้ HSK 3 ขึ้นไป
2. ฝึกสนทนาในหัวข้อที่กำหนดให้
ภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร 4
1. ฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่านภาษาจีนกลางในระดับที่สูงกว่าภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3
2. ฝึกการอ่านจับใจความ อภิปรายและเขียนเรียงความในหัวข้อที่กำหนดให้
4. วิธีจัดการอบรม
บรรยายโดยอาจารย์ผู้สอน ประกอบด้วยภาคทฤษฏี ได้แก่อักขระ พยัญชนะ ระบบเสียง ไวยากรณ์ เป็นต้น และภาคปฏิบัติ ได้แก่ การฝึกออกเสียง การพูด การฟัง การสนทนาด้วยคำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น พร้อมทั้งการทำแบบฝึกหัด
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2 วันธรรมดา ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2 วันเสาร์ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร 4 วันเสาร์ ทุกเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ผ่านระบบออนไลน์
9. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 1 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นพื้นฐาน 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 1 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นพื้นฐาน 4 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง ขั้นกลาง 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาจีนกลางขั้นกลาง 1 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาภาษาจีนกลางขั้นกลาง 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
การสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาการสนทนาสื่อสารภาษาจีนกลาง 1หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาจีนกลาง เพื่อการสื่อสาร 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาภาษาจีนกลางเพื่อการสื่อสาร 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาจีนกลางที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ เอกอัจฉริยา ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศรักษ์ เพชรเชิดชู กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัญญพร จาวะลา กรรมการ
5. อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ ช้างบุญชู กรรมการ
6. อาจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี กรรมการ
7. อาจารย์ ดร.พิชญา วิภาวีนุกูล กรรมการ
โครงการอบรมภาษาเกาหลีสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่น ๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว เป็นต้น ในปัจจุบันนี้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้ภาษาเกาหลีขั้นพื้นฐานแก่บุคคลที่สนใจเพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมและวงการธุรกิจที่มีความต้องการผู้ที่มีความรู้ทางภาษาเกาหลีเพิ่มขึ้น
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน
3. เพื่อเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัย ในการให้บริการทางวิชาการแก่บุคคลภายนอก
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาเกาหลี ระดับต้น 1
1. คำศัพท์และไวยากรณ์ระดับต้น 1 และการนำไปใช้
2. ศึกษาวัฒนธรรมเกาหลีจากบทเรียน
ภาษาเกาหลี ระดับต้น 2
1. คำศัพท์และไวยากรณ์ระดับต้น 2 และการนำไปใช้
2. ศึกษาวัฒนธรรมเกาหลีจากบทเรียน
ภาษาเกาหลี ระดับต้น 3
1. คำศัพท์และไวยากรณ์ระดับต้น 3 และการนำไปใช้
2. ศึกษาวัฒนธรรมเกาหลีจากบทเรียน
ภาษาเกาหลี ระดับต้น 4
1. คำศัพท์และไวยากรณ์ระดับต้น 4 และการนำไปใช้
2. ศึกษาวัฒนธรรมเกาหลีจากบทเรียน
ภาษาเกาหลี ระดับกลาง 1
1. คำศัพท์และไวยากรณ์ระดับกลาง 1 และการนำไปใช้
2. ศึกษาวัฒนธรรมเกาหลีจากบทเรียน
เตรียมสอบวัดระดับภาษาเกาหลี TOPIK II
1. ฝึกทำข้อสอบวัดระดับภาษาเกาหลีระดับ TOPIK II พาร์ทการอ่าน การฟัง และการเขียน สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาเกาหลีระดับกลางถึงระดับสูง
2. เรียนรู้คำศัพท์และไวยากรณ์ระดับต้นเพื่อใช้เตรียมตัวในการทำข้อสอบวัดระดับภาษาเกาหลีระดับกลางและระดับสูง
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่งได้แก่ การฝึกฟังสำเนียงและการฝึกสนทนาโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
– เรียนทุกวันเสาร์ (รอบเช้า)
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 1 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 2 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 3 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 4 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– เรียนทุกวันเสาร์ (รอบบ่าย)
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 1 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 2 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 3 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 4 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
-ภาษาเกาหลีระดับกลาง 1 เรียนทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– เรียนทุกวันจันทร์และวันพุธ
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 1 เรียนทุกวันจันทร์และวันพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– เรียนทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 1 เรียนทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 6 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
– ภาษาเกาหลีระดับต้น 2 เรียนทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 6 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email: aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาเกาหลีระดับต้น 2 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาเกาหลีระดับต้น 1 หรือมีความรู้เทียบเท่า
ภาษาเกาหลีระดับต้น 3 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาเกาหลีระดับต้น 2 หรือมีความรู้เทียบเท่า
ภาษาเกาหลีระดับต้น 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาเกาหลีระดับต้น 3 หรือมีความรู้เทียบเท่า
ภาษาเกาหลีระดับกลาง 1 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาเกาหลีระดับต้น 4 หรือมีความรู้เทียบเท่า
เตรียมสอบวัดระดับภาษาเกาหลี TOPIK II ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาเกาหลีระดับกลาง 1 หรือมีความรู้เทียบเท่า
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาเกาหลีที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. อาจารย์ธเนศ สายจิตบริสุทธิ์ ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ