Author Archive Aksorn Chula

ByAksorn Chula

“การแปลเอกสารกฎหมาย”

— ปิดรับสมัคร —
โครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย”

จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
—————————————–

1. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการแปลและการล่าม เป็นวัตถุประสงค์หลักในการจัดตั้งศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ การบริการวิชาการในสาขาวิชาการแปลนั้น จึงเป็นกิจกรรมที่ศูนย์การแปลและการล่ามฯ ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 โดยมีบุคคลภายนอกให้ความสนใจมาเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ศูนย์การแปลและการล่ามฯ จึงจะเปิดโครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย” สำหรับบุคคลภายนอกและผู้ที่สนใจ ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทำเนียบภาษากฎหมาย (ลักษณะและลีลาของภาษากฎหมาย) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการแปลเอกสารกฎหมายประเภทต่างๆ ตลอดจนแนวคิดและทฤษฎีการแปลที่สำคัญในการแปลเอกสารกฎหมายซึ่งเป็นการแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้แปลไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย
2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกฝนการถ่ายทอดความหมายจากต้นฉบับทางกฎหมายไปสู่ฉบับแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้ถูกต้องทั้งในด้านความหมายและทำเนียบภาษากฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถใช้ภาษาอังกฤษในรูปแบบ Plain English ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ภาษาในเอกสารกฎหมายแบบมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แทนที่จะใช้ภาษาอังกฤษแบบ Legalese

3. หัวข้อการอบรม
3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทำเนียบภาษากฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.2 ทฤษฎีการแปลสำหรับการแปลเอกสารกฎหมายซึ่งเป็นการแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation)
3.3 ข้อควรพิจารณา ปัญหาที่พบ และแนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งการตัดสินใจทางการแปล และการเลือกใช้ทรัพยากรการแปลที่เหมาะสมสำหรับงานแปลเอกสารกฎหมาย
3.4 การฝึกแปลเอกสารกฎหมายสำคัญที่มักมีการว่าจ้างนักแปล เช่น ตัวบทกฎหมาย และเอกสารสัญญา

4. วิธีการจัดอบรม
อบรมในรูปแบบออนไลน์ ดังนี้
4.1 บรรยายหลักการ และทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องกับการแปลเอกสารกฎหมายในฐานะที่เป็นงานแปลเฉพาะทาง (Specialised Translation)
4.2 ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมาย การตัดสินใจทางการแปล การเลือกใช้ทรัพยากรการแปล การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการแปลตัวบททางด้านกฎหมาย และการบรรณาธิการและประเมินค่างานแปลเอกสารกฎหมาย

5. ระยะเวลาในการอบรม
อบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564
เวลา 9.00-12.00 น. จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง

6. สถานที่อบรม
อบรมในรูปแบบออนไลน์

7. ผู้เข้าอบรม
บุคคลทั่วไป นักแปลอิสระ/อาชีพ

8. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าอบรม คนละ 6,500 บาท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน) คณะอักษรศาสตร์จะไม่คืนเงินค่าอบรมที่ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากไม่สามารถเปิดการอบรมได้

9. การประเมินผล
ประเมินผลโดยพิจารณาจากการฝึกปฏิบัติ และการทดสอบความสามารถในการวิเคราะห์ต้นฉบับ การตีความ การแก้ไขปัญหา การตัดสินใจและการถ่ายทอดความหมายจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมทั้งการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษโดยสามารถปรับใช้ความรู้เกี่ยวกับการพิจารณาต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายและทำเนียบภาษากฎหมาย
คณะอักษรศาสตร์ จะออกหนังสือสำคัญให้เป็นหลักฐานแก่ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรม แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองการเข้าอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการ
2. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการและสอบผ่านข้อสอบที่ผู้สอนกำหนดเกณฑ์การผ่านไว้

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรม จะสามารถตีความต้นฉบับทางกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และมีทักษะในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย และจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. รศ.ปรีมา มัลลิกะมาส                                  ประธานโครงการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                  กรรมการ
3. รศ. ดร.แพร จิตติพลังศรี                             กรรมการ
4. ผศ. ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ                          กรรมการ

รายละเอียดโครงการอบรม “การแปลเอกสารกฎหมาย”
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันเสาร์ที่ 13 มีนาคม ถึงวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564

ครั้งที่

วัน / เวลา
9.00 – 12.00 น.

หัวข้อการสอน

   1 ส. 13 มี.ค. 64 Introduction to Legal Translation: ชี้แจงลักษณะวิชา / โครงสร้างหลักสูตร และความคาดหวัง และข้อพิจารณาเบื้องต้นในการแปลเอกสารด้านกฎหมาย

2

ส. 20 มี.ค. 64 Language of the Law: ทำเนียบภาษากฎหมายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และการแปลเฉพาะทาง (Technical Translation) – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นตัวบทกฎหมาย

3

ส. 27 มี.ค. 64 แนวคิดเกี่ยวกับ Plain English เปรียบเทียบกับ Legalese และการผลิตเอกสารกฎหมายภาษาอังกฤษ – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นตัวบทกฎหมาย การปรับใช้ความรู้เกี่ยวกับ Plain English ในการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

4

ส. 3 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารสัญญา (1)

5

ส. 10 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารสัญญา (2)

6

ส. 17 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายธุรกิจ (1)

7

ส. 24 เม.ย. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายธุรกิจ (2)

8

ส. 1 พ.ค. 64 Discourse Analysis เอกสารกฎหมาย กระบวนการตัดสินใจและแปลเอกสารกฎหมาย – ฝึกพิจารณาและแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารกฎหมายระหว่างประเทศ

9

ส. 8 พ.ค. 64 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ – ฝึกพิจารณา บรรณาธิการและประเมินคุณค่าฉบับแปล

10

ส. 15 พ.ค. 64 ทดสอบความรู้ตามเนื้อหาที่ได้เรียน

*รายละเอียดโครงการอบรมนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ByAksorn Chula

วิธีการใช้งานโปรแกรม Zoom

  • สำหรับผู้ใช้งานผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค
  • สำหรับผู้ใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ iPad
ByAksorn Chula

โครงการอบรม “Phonics ระดับพื้นฐาน – ระดับกลาง”

โครงการอบรม “Phonics ระดับพื้นฐาน – ระดับกลาง”
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563

1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้พัฒนารูปแบบการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน และรูปแบบการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการของ Phonics ที่แสดงความสัมพันธ์ของเสียงกับพยัญชนะ ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ได้รับการวิจัยแล้วว่าช่วยวางพื้นฐานและสร้างความเข้าใจในตัวภาษา เพื่อต่อยอดทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ได้ดียิ่งขึ้น การสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics เริ่มเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียน และเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สมควรวางรากฐานที่ถูกต้องให้ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมความรู้ทางการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขึ้น ตั้งแต่ในระดับพื้นฐานจนถึงระดับกลาง (การอ่าน-เขียน) การอบรม Phonics จึงเหมาะกับคุณครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองที่สอนภาษาอังกฤษเสริมให้ลูก ๆ เองที่บ้าน และผู้ที่สนใจ Phonics เพื่อต่อยอดทักษะทางภาษาและวิชาชีพ

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics
2. เพื่อสร้างเครื่องมือการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ให้แก่ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
3. เพื่อสนองนโยบายของคณะอักษรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน

3. หัวข้ออบรม
1. Phonics ระดับพื้นฐาน
– พื้นฐานเสียงในภาษาอังกฤษ
– การเรียนรู้เสียงและภาษาในเด็กปฐมวัย
– เทคนิคการพัฒนาการรับรู้เสียงและการประมวลผลทางเสียงในเด็ก
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
– กฎการประสมเสียงภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
(พยางค์ปิด, พยางค์เปิด, Silent -e, Word Families)
– Sight Word พื้นฐาน
– เทคนิคการจัดกิจกรรม Phonics ระดับพื้นฐาน

2. Phonics ระดับกลาง
– เสียงที่ซับซ้อนขึ้นในภาษาอังกฤษ
– การออกเสียงภาษาอังกฤษในระดับวลีและประโยค
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับกลาง
(Vowel Combinations, R-controlled, Consonant -le)
– ตัวอย่างการสอน Sight Word ที่ซับซ้อนขึ้น
– คำที่มากกว่า 1 พยางค์
– การสอน Morphemes พื้นฐาน (-s, -ed, -ing)

3. จาก Phonics สู่คำศัพท์
– ประเด็นสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ
– พื้นฐานการเรียนรู้คำศัพท์ของเด็ก
– การ “เข้าใจ” ความหมายคำศัพท์ คืออะไร
– คำศัพท์และความจำในกระบวนการเรียนรู้
– การแบ่งประเภทและการเชื่อมโยงคำศัพท์
– เทคนิคการสอนคำศัพท์สำหรับเด็ก

4. จาก Phonics สู่การอ่าน
– พัฒนาการการเรียนรู้ผ่านการอ่านของเด็ก
– ความสัมพันธ์ระหว่าง “การฟัง” และ “การอ่าน”
– การอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ
– การพัฒนาความคล่องในการอ่าน (Automaticity and Fluency)
– กลยุทธ์การอ่านจับใจความระดับต่าง ๆ
– เทคนิคการสอนอ่านตัวบทรูปแบบต่าง ๆ สำหรับเด็ก
– การปูพื้นฐานคำศัพท์ที่เด็กต้องใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ
– ประเด็นสำคัญในการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กไทย

4. คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป

5. วัน เวลาจัดงาน

ครั้งที่

หัวข้อ          

ผู้สอน

วันที่   

เวลา

ลงทะเบียนได้ถึงวันที่

1. เป๊ะแต่เด็ก: Phonics ระดับพื้นฐาน อ.ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล

ส. 7- อา. 8 พ.ย. 63

9.30 – 12.00 น.

จ. 2 พ.ย. 63

2. เป๊ะแต่เด็ก: Phonics ระดับพื้นฐาน อ.ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล

ส. 14 – อา. 15 พ.ย. 63

9.30 – 12.00 น.

จ. 9 พ.ย. 63

3. เป๊ะแต่เด็ก: Phonics ระดับกลาง อ.ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์

อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล

อ. 24 – พ. 25 พ.ย. 63

18.00 – 20.30 น.

พ. 18 พ.ย. 63

4. เป๊ะแต่เด็ก: จาก Phonics สู่คำศัพท์ อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล

อ.อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ

จ. 7 – อ. 8 ธ.ค. 63

18.00 – 20.30 น.

พ. 2 ธ.ค. 63

5. เป๊ะแต่เด็ก: จาก Phonics สู่การอ่าน อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล

ส. 19 – อา. 20 ธ.ค. 63

9.30 – 12.00 น.

จ. 14 ธ.ค. 63


6. กำหนดการรับสมัคร
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534 (4535,4536)

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป

9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสารหัวข้อละ 1,990 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10.หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                   ประธานกรรมการ
2. อาจารย์เปรมรินทร์ มิลินทสูต                       กรรมการ
3. อาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์                   กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                       กรรมการและเลขานุการ

ByAksorn Chula

โครงการอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน” หลักสูตรออนไลน์

โครงการอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน”
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 20 – 21 มิถุนายน 2563

1. หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้พัฒนารูปแบบการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน และรูปแบบการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้คือ การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้หลักการของ Phonics ที่แสดงความสัมพันธ์ของเสียงกับพยัญชนะ ซึ่งการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ได้รับการวิจัยแล้วว่าช่วยวางพื้นฐานและสร้างความเข้าใจในตัวภาษา เพื่อต่อยอดทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้ได้ดียิ่งขึ้น การสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics เริ่มเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียน และเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่สมควรวางรากฐานที่ถูกต้องให้ การอบรม “Phonics ขั้นพื้นฐาน” จึงเหมาะกับคุณครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองที่สอนภาษาอังกฤษเสริมให้ลูก ๆ เองที่บ้าน และผู้ที่สนใจ Phonics เพื่อต่อยอดทักษะทางภาษาและวิชาชีพ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรให้มีการจัดอบรมความรู้ทางการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขึ้น

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อสร้างเครื่องมือการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics ให้แก่ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป
3. เพื่อสนองนโยบายของคณะอักษรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สาธารณชน

3.หัวข้อการอบรม
– พื้นฐานการเรียนรู้เสียงและภาษาในเด็กปฐมวัย
– เทคนิคการพัฒนาการรับรู้เสียงและการประมวลผลทางเสียงในเด็กปฐมวัย
– เสียงพยัญชนะและสระในภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน
– กฎการประสมเสียงภาษาอังกฤษระดับพื้นฐาน (พยางค์ปิด, พยางค์เปิด, silent -e, word families)
– Sight word พื้นฐาน
– เทคนิคการจัดกิจกรรม Phonics ระดับพื้นฐาน

4. วิธีจัดการอบรม
จัดการอบรมเป็นกลุ่ม 1 กลุ่ม

5. ระยะเวลาในการอบรม
วันเสาร์ที่ 20 และวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2563 เวลา 10:00 – 12.30 น. ผ่าน Application  Zoom.US

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 16 มิถุนายน 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไป

9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมและค่าเอกสาร คนละ 1,990 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                  ประธานกรรมการ
2. อาจารย์เปรมรินทร์ มิลินทสูต                      กรรมการ
3. อาจารย์ ดร. ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์                  กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                      กรรมการและเลขานุการ

ByAksorn Chula

โครงการบริการวิชาการชุด “จากแฟ้มสู่ไฟล์“

โครงการบริการวิชาการชุด “จากแฟ้มสู่ไฟล์“
จัดโดยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2563

1. หลักการและเหตุผล
การดำเนินภารกิจทุกประเภทเกี่ยวข้องกับการสร้าง การจัดเก็บ และการใช้ประโยชน์จากเอกสารดังนั้นเพื่อให้การจัดการดูแลและจัดเก็บรักษาเอกสารที่เกิดจากการปฏิบัติภารกิจเป็นระบบ ง่ายต่อการเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้สะดวกในอนาคต ผู้รับผิดชอบจำเป็นต้องเข้าใจหลักการ แนวคิด และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนั้นเอกสารสำคัญที่จัดเก็บเหล่านี้ ในอนาคตยังมีคุณค่าในฐานะจดหมายเหตุที่แสดงถึงความเป็นมา พัฒนาการการดำเนินงาน และการตัดสินใจเรื่องสำคัญของผู้บริหารองค์กร อันแสดงให้เห็นถึงความมีธรรมาภิบาล เอกสารจดหมายเหตุจึงนับเป็นแหล่งความรู้เพื่อการศึกษา ค้นคว้าวิจัย และอ้างอิงของนักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตเพื่อต่อยอดปรับปรุงปัจจุบันสู่การพัฒนาในอนาคต  อย่างไรก็ตามเนื่องจากการตระหนักถึงบทบาท และความสำคัญของการจัดเก็บเอกสาร และจดหมายเหตุอย่างเป็นระบบเพื่อการใช้งานในระยะยาว และการใช้ประโยชน์จากจดหมายเหตุเพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ ยังมีอยู่ในวงจำกัด ประกอบกับสมรรถนะของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลให้การจัดเก็บรักษา และการเข้าถึงเอกสารและจดหมายเหตุกระทำได้หลากหลาย สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ และผู้สนใจมีโอกาสติดตามความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องจึงนับว่ามีประโยชน์ยิ่ง ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงประโยชน์ดังกล่าว จึงจัดโครงการบริการวิชาการ ชุด“จากแฟ้มสู่ไฟล์“ ซึ่งครอบคลุม 4 หัวข้อ ดังนี้
1.1 จากเอกสารสู่ธรรมาภิบาล และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
1.2 จาก Desktop ที่รกสู่ Desktop ที่รัก
1.3 จดหมายเหตุ: การใช้ และ ประโยชน์
1.4 เปลี่ยนโฉมเอกสารโบราณสู่หลักฐานดิจิทัล

2. วิธีการจัด
บรรยาย อภิปราย เสวนา และฝึกปฏิบัติ

3. ระยะเวลา
หัวข้อ“จากเอกสารสู่ธรรมาภิบาล และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์”
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2563 เวลา 9.00-16.30 น.
หัวข้อ .”จาก Desktop ที่รกสู่ Desktop ที่รัก”
วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2563 เวลา 9.00-16.30 น.
หัวข้อ”จดหมายเหตุ: การใช้ และ ประโยชน์”
วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2563 เวลา 9.00-16.30 น.
หัวข้อ”เปลี่ยนโฉมเอกสารโบราณสู่หลักฐานดิจิทัล”
วันจันทร์ที่ 20-วันพุธที่ 22 เมษายน 2563 เวลา 9.00-16.30 น.

4. สถานที่
ห้อง 401/11 และ 711 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. ค่าธรรมเนียมการสมัคร
ค่าธรรมเนียมการสมัครเข้าอบรมแตกต่างกันไปตามหัวข้อดังนี้
หัวข้อ“จากเอกสารสู่ธรรมาภิบาล และ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” – 1,000.00 บาท
หัวข้อ .”จาก Desktop ที่รกสู่ Desktop ที่รัก.” -1,500.00 บาท
หัวข้อ”จดหมายเหตุ: การใช้ และ ประโยชน์”- 1,000.00 บาท
หัวข้อ”เปลี่ยนโฉมเอกสารโบราณสู่หลักฐานดิจิทัล”- 4,500.00 บาท
ค่าธรรมเนียมการอบรมสำหรับผู้สมัคร 3 หัวข้อ 1,2,3 (3,300 บาท)
ค่าธรรมเนียมการอบรมสำหรับผู้สมัคร 3 หัวข้อ 1,2,4 (6,600 บาท)
ค่าธรรมเนียมการอบรมสำหรับผู้สมัคร 3 หัวข้อ 1,3,4 ( 6,200 บาท)
ค่าธรรมเนียมการอบรมสำหรับผู้สมัคร 3 หัวข้อ 2,3,4 ( 6,600 บาท)
ค่าธรรมเนียมการอบรมสำหรับผู้สมัคร 3 หัวข้อ 1,2,3,4 ( 7,500 บาท)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการสมัครเข้าอบรม เว้นแต่ไม่อาจเปิดอบรมได้

6. ข้อมูลการรับสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.AksornChula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

7. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 15 มีนาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
เว็บไซต์ www.AksornChula.com
email : aksornchula@chula.ac.th
หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886

8. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.1 ผู้ปฏิบัติงานตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของเอกสาร และจดหมายเหตุ สามารถพัฒนาระบบการจัดเก็บเอกสารที่มีคุณภาพได้อย่างเหมาะสมกับบริบทองค์กรและสภาพแวดล้อมในสังคม ก่อให้เกิดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเอกสารและจดหมายเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 องค์กรต่าง ๆ ในสังคมรับรู้และเห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากจดหมายเหตุเพื่อต่อยอดการพัฒนากิจกรรมด้านต่าง ๆ

10.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความสำคัญในการจัดการข้อมูลและเอกสารกับการสร้างธรรมาภิบาล
2. ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์กับนักวิชาการและบุคคลอื่น ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและเอกสารกับการสร้างธรรมาภิบาล

11.คณะกรรมการดำเนินโครงการ
1. หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์                ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ                     กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์จินดารัตน์ เบอรพันธุ์            กรรมการ
4. อาจารย์ ดร.นยา สุจฉายา                               กรรมการ
5. อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต                       กรรมการ
6. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ                          กรรมการและเลขานุการ

ByAksorn Chula

“ล่ามการประชุมเบื้องต้น”

**รับจำนวนจำกัด ลงสมัครคอร์สกรุณาติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อน**
โครงการอบรม “ล่ามการประชุมเบื้องต้น”

จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ และ ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 6 มิถุนายน – 8 สิงหาคม 2563
—————————————–

1. หลักการและเหตุผล
โครงการนี้เป็นโครงการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการล่าม สำหรับผู้สนใจจะปฏิบัติงานล่ามการประชุม (Conference Interpreting) หรือผู้ที่เคยเรียนการแปลแบบล่ามพูดตามมาแล้ว มีการสอนโดยสังเขปในทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการแปลล่ามการประชุม ซึ่งรวมถึงการแปลแบบล่ามพูดตาม การแปลแบบล่ามพูดพร้อม และการแปลล่ามจากเอกสาร ผู้เรียนจะได้ทราบเกี่ยวกับทฤษฎีการแปลแบบล่าม ได้พัฒนาทักษะการค้นหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการปฏิบัติหน้าที่ล่าม ได้อภิปรายกลวิธีการแก้ปัญหาในการแปล และประเด็นทางจริยธรรมในวิชาชีพล่าม เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการฝึกทักษะระดับสูงในการแปลแบบล่ามต่อไป โดยมีเป้าหมายมุ่งจะพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ทางด้านทฤษฏีควบคู่ไปกับความสามารถในการทำงานล่าม

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการแปลแบบล่าม
2.2 พัฒนาทักษะการค้นหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในการปฏิบัติหน้าที่ล่าม
2.3 สามารถแก้ไขปัญหาในการแปล และประเด็นทางจริยธรรมในวิชาชีพล่ามได้ในระดับหนึ่ง

3. หัวข้อการอบรม
3.1 ความหมายและลักษณะของการแปลแบบล่ามการประชุม
3.2 การฝึกทักษะเพื่อแปลแบบล่ามพูดตามและล่ามพูดพร้อม
3.3 กลวิธีการแปลแบบล่ามพูดตามและล่ามพูดพร้อม
3.4 การแปลแบบล่ามพูดพร้อมในองค์การระหว่างประเทศ
3.5 การแปลแบบล่ามพูดพร้อมในภาคธุรกิจ
3.6 การแปลแบบล่ามพูดพร้อมในภาควิชาการ
3.7 การแปลแบบล่ามจากเอกสาร

4. วิธีการจัดอบรม
4.1 การบรรยาย
4.2 ฝึกปฏิบัติ
4.3 ฝึกการล่ามจำลองสถานการณ์จริง

5. ระยะเวลาในการอบรม
อบรมทุกวันเสาร์ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563 ถึงวันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2563
เวลา 9.00-12.00 น. จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง

6. สถานที่อบรม
ห้องประชุม 814 และห้องปฏิบัติการล่ามภาษา 705 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7. ผู้เข้าอบรม
นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป

8. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าอบรมรวมเอกสารประกอบการอบรม คนละ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) คณะอักษรศาสตร์จะไม่คืนเงินค่าอบรมที่ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากไม่สามารถเปิดการอบรมได้

9. การประเมินผล
ประเมินผลโดยพิจารณาจากการฝึกปฏิบัติ และการทดสอบความสามารถในการถ่ายทอดสารด้วยการล่ามจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จะออกหนังสือสำคัญให้เป็นหลักฐานแก่ผู้ที่ได้เข้ารับการอบรม แบ่งเป็น 2 ประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองการเข้าอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการ
2. ผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการอบรม คือ ผู้ที่มีเวลาในการเข้าอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาการอบรมทั้งโครงการและสอบผ่านข้อสอบที่ผู้สอนกำหนดเกณฑ์การผ่านไว้

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรม จะได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับล่ามการประชุมเบื้องต้น ทั้งยังได้ฝึกฝนทักษะเบื้องต้นที่ใช้ในการแปลล่ามการประชุม สามารถฟังจับความและถ่ายทอดข้อความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้พูด

11. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยมีคณะกรรมการดำเนินการอบรมดังนี้
1. รศ. ปรีมา มัลลิกะมาส                       ประธานโครงการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ         กรรมการ
3. ผศ. ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ                 กรรมการ
4. ผศ. ดร.แพร จิตติพลังศรี                   กรรมการ

ByAksorn Chula

ภาษาโปรตุเกสเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรออนไลน์)

โครงการอบรมภาษาโปรตุเกสเพื่อการสื่อสาร กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564

1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม

2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาโปรตุเกสแก่ผู้ที่ไม่มีและมีพื้นฐานความรู้มาก่อน เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้ได้มี ทบทวนหรือเพิ่มเติมความรู้รวมทั้งทักษะการสื่อสารภาษาโปรตุเกส และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและส่วนงานของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3. หัวข้อการอบรม
ภาษาโปรตุเกสขั้นพื้นฐาน: ทักษะการสื่อสารในระดับเบื้องต้น ได้แก่ ฟังเพื่อความเข้าใจ ออกเสียง พูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด อ่านตัวบทขนาดสั้น เขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งไวยากรณ์เบื้องต้น คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การฟังเพื่อความเข้าใจ การออกเสียงการพูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด การอ่านตัวบท การเขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบ โดยใช้ความรู้ทางไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวันที่ได้ศึกษาในไปในระหว่างการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารดังกล่าว

5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาโปรตุเกสพื้นฐาน 1 กลุ่ม 1 (ระดับ A1-1) ทุกวันเสาร์เวลา 15.00 – 18.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง

6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email: aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36

7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์

8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาโปรตุเกสขั้นพื้นฐาน 1: ไม่ต้องมีพื้นฐาน

9.ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้

10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาโปรตุเกสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการศึกษาขั้นสูงต่อไป

12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี              ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ          กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ              กรรมการและเลขานุการ

ByAksorn Chula

Aksorn Chula Channel

อาหารยอดนิยมจากประเทศต่างๆ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความเป็นมาอย่างไรไปหาคำตอบกันใน : Food Explorer  โดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ออกสำรวจเกร็ดความรู้ของเมนูอาหารที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน อย่าง “เต้าหู้” ก่อนจะมาเป็นก้อนถั่วเหลืองที่ปรุงอาหารหลากเมนูนี้ มีที่มาอย่างไร และยังเปิดโลกความรู้ ว่าเต้าหู้กับวิถีชาวจีนนั้นผูกผันแน่นแฟ้นมากแค่ไหน
สีของชาที่แตกต่างทำให้ชามีเอกลักษณ์อย่างไร สำรวจโลกอาหารจากธรรมเนียมการดื่มชาแบบดั้งเดิม จนเปลี่ยนแปลงไปเป็นเครื่องดื่มที่นิยมไปทั่วโลก
ถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์แล้ว มารู้จักขนมไหว้พระจันทร์ประเภทต่างๆ ในประเทศจีนกัน จะน่าทานแค่ไหน ลองคลิกดูกันเลย
ขาหมูเยอรมัน หนึ่งในอาหารที่รู้จักกันดีของคนไทย จริงๆ แล้วมีลักษณะอย่างไร ? แล้วทำไมอาหารชนิดนี้ยังเกี่ยวข้องกับรองเท้าสเก็ตน้ำแข็งอีกด้วย
โซบะ อาหารเส้นยอดนิยมของชาวญี่ปุ่น ทำไมโซบะเป็นอาหารยอดฮิตสำหรับการลดน้ำหนัก? โซบะอยู่คู่กับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมานานจนมีประเพณีการปฏิบัติหลายอย่างที่เกี่ยวกับโซบะ
โรตีในอินเดียไม่ได้ทอดกรอบราดนมข้นอย่างที่เห็นกันบ่อย ๆ แล้วถ้าไปอินเดียแล้วสั่งโรตีจะได้อาหารหน้าตาเป็นอย่างไร
ไส้กรอกเยอรมันนั้นไม่สามารถนิยามได้ด้วยรูปร่าง รสชาติ ส่วนประกอบ หรือความละเอียดของไส้ได้เพียงอย่างเดียว เพราะไส้กรอกเยอรมันมีมากกว่าพันชนิด มาดูกันว่าเราสามารถแบ่งชนิดของไส้กรอกเยอรมันได้อย่างไรบ้าง
Masala เป็นสิ่งที่ทำให้อาหารอินเดียมีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แต่จริงๆ แล้ว Masala คืออะไร เรามีคำตอบให้คุณ
อาหารเกาหลีมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อาหารเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเกาหลีอย่างใกล้ชิด รวมถึงสำนวนในภาษาเกาหลีอีกด้วย
ปาเอญ่า (Paella) อาหารขึ้นชื่อจากประเทศสเปน อาหารชนิดนี้คืออะไร มาฟังนิสิตสาขาวิชาภาษาสเปนสัมภาษณ์เชฟกัน
ByAksorn Chula

Aksorn Chula Channel ช่องสาระความรู้อักษรศาสตร์

: หลายคนสงสัยว่า สิ่งนั้นมาจากอะไร สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร มีความหมายว่าอย่างไร ถึงรากถึงโคนมีคำตอบมาให้ แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ไปชมกันเลย

คำว่า “เมฆ” มีที่มาจากอะไร มีความหมายว่าอะไร แล้วเมฆประเภทสำคัญๆ มีอะไรบ้าง ถึงรากถึงโคนมีคำตอบให้คุณ
กระดาษเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ช่วยถ่ายทอดความคิดออกไปอย่างกว้างไกล ถึงรากถึงโคนจะเล่าที่มาของกระดาษที่อยู่คู่กับมนุษย์มากว่า 5,000 ปีให้ฟัง
ถึงรากถึงโคน ตอนนี้เอาใจผู้ชอบการทำนายโชคชะตา หนึ่งในวิธีที่พบเห็นบ่อยตามศาลเจ้าคือ “เซียมซี” การเสี่ยงเซียมซีมีที่มาอย่างไร และมีวิธีการอย่างไรกันแน่
ระบบวรรณะในอินเดียมีที่มาอย่างไร? แล้วการแต่งงานข้ามวรรณะ ลูกจะต้องเป็นจัณฑาล จริงหรือไม่?
พระพิฆเนศเป็นผู้ใด เหตุใดจึงได้รับการบูชาจากคนหลากหลายสาขาอาชีพ คลิกหาคำตอบได้เลย
พระอวโลกิเตศวรหรือพระกวนอิมนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไรติดตามได้ในรายการถึงรากถึงโคน ตอน เจ้าแม่กวนอิม
นอกจากหนังสือ มาดูกันว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศอะไรอีกบ้าง
แม่น้ำเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับชุมชนจำนวนมากทั่วโลก แต่แม่น้ำบางสายก็มีน้ำตลอดปี ในขณะที่แม่น้ำบางสายก็มีช่วงแล้งน้ำ ในทะเลทรายที่แห้งแล้งไม่มีฝนตกเป็นเวลานาน แต่แม่น้ำที่ไหลผ่านทะเลทรายบางสายกลับมีน้ำไหลผ่าน ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นไปได้อย่างไร ถึงรากถึงโคนมีคำตอบให้คุณ
“ลาตินอเมริกา” หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำนี้ แต่จริงๆ แล้วคำว่า “ลาตินอเมริกา” มีความหมายอย่างไร ถึงรากถึงโคนมีคำตอบ มาให้
ByAksorn Chula

Aksorn Chula Channel ช่องสาระความรู้อักษรศาสตร์

คุณจะไม่พลาดเรื่องเด็ดๆ ส่งถึงมือคุณโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

: สาระความรู้จากหนังสือ มีอะไรเด็ดๆมาบอกเล่ากันบ้าง ไปดูกันเลย

เรียนรู้จากหนังสือสักเล่ม ไปพร้อมๆ กับครูทอม จักรกฤต โยมพยอม ผู้รักการเดินทางและหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้เขา “อยู่ญี่ปุ่นอย่างหมาป่า”
มุมมองชีวิตที่น่าสนใจกับ ตุ๊กตา จมาพร และหนังสือที่เธออยากแบ่งปัน “กล้าที่จะถูกเกลียด”
กั้ง วรกร ศิริสรณ์ อยากแบ่งปันหนังสือนวนิยายแนว Dystopia เรื่อง “Fahrenheit 451” กับทุกคน ทำไมกั้งถึงเลือกหนังสือเล่มนี้ ลองฟังกันดู
ผู้ประกาศข่าว มิ้นท์ อรชพร ชลาดล กับหนังสือที่เธอแนะนำ “พระคัมภีร์ไบเบิล” เธอมีมุมมองอย่างไรต่อหนังสือเล่มนี้ และทำไมเธอถึงแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้ทุกคน ติดตามได้เลย
อลิส ทอย พิธีกรและนักแสดงสาวมากความสามารถ กับบทละครที่อยากแนะนำ Closer … เธอมีมุมมองอย่างไรต่อบทละครเรื่องนี้
ตรีดาว อภัยวงศ์ อาจารย์ด้านการแสดงและการพัฒนาบุคลิกภาพ กับหนังสือที่อยากแบ่งปัน ปรับความคิดชีวิตเปลี่ยนได้
แผ่นฟิล์ม พมลชนก นางสาวถิ่นไทยงาม 2561 กับบทละครที่เธออยากแนะนำ Rashomon
เฟื่องลดา สรานี พิธีกร บล็อกเกอร์สาว ด้านไอทีและไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ กับหนังสือที่เธออยากแนะนำ วิธีพาตัวเองออกจากกล่องใบเล็ก