โครงการอบรมภาษาสันสกฤตเรียนง่าย กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาโบราณของอินเดีย ที่มีอายุเก่าแก่ถึงประมาณ 3,500 ปี เป็นภาษาของชนชั้นสูง เช่น วรรณพราหมณ์ เป็นภาษาทางวิชาการ มีวรรณคดีจำนวนมากที่ประพันธ์เป็นภาษาสันสกฤต หลายเรื่องเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทย อาทิ รามายณะ มหาภารตะ เป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบัน จะผู้ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาพูดไม่มากในประเทศอินเดีย แต่ภาษาสันสกฤตก็ยังคงมีความสำคัญ และดำรงความเป็นนภาษาราชการภาษาหนึ่ง มีความพยายามที่จะฟื้นฟูภาษาสันสกฤตให้เป็นภาษาพูดที่ใช้ในการสื่อสาร (spoken Sanskrit) และในภาษาอินเดียปัจจุบัน มีคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตจำนวนมาก การที่จะเรียนภาษาอินเดียปัจจุบัน เช่น ภาษาฮินดี ให้มีประสิทธิภาพและลึกซึ้ง จึงควรที่จะมีความรู้ภาษาสันสกฤตในบริบทของไทย มีศัพท์มากมายที่เป็นคำยืมภาษาสันสกฤต อีกทั้งวรรณคดีไทยมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับวรรณคดีสันสกฤต การศึกษาภาษาสันสกฤตจึงมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งในการเข้าใจภาษาและวรรณคดี รวมทั้งวัฒนธรรมไทย ที่มีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมอินเดียมาแต่โบราณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ทางการศึกษาในการบริการวิชาการแก่สังคม โดยจัดอบรมวิชาการต่างๆ ให้แก่บุคลากรภายใน และบุคคลภายนอกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าวสาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการด้านภาษาสันสกฤตเรียนง่ายให้แก่บุคคลทั่วไปขึ้น เพื่อให้บุคคลที่สนใจภาษาและวัฒนธรรมอินเดียมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาสันสกฤตสำหรับศึกษาต่อในระดับสูง
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนและอ่านอักษรเทวนครี และเรียนรู้ไวยากรณ์สันสกฤตเบื้องต้น
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านประโยค และย่อหน้าที่เป็นภาษาสันสกฤตอย่างง่าย
3. เพื่อบริการวิชาการให้แก่บุคคลทั่วไปผู้สนใจภาษาสันสกฤต และเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
3. หัวข้อการอบรม
การอบรมครั้งนี้ เน้นศึกษาไวยากรณ์สันสกฤตเบื้องต้น และทำความเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ และนำไวยากรณ์ที่เรียนมาใช้อ่านประโยค หรือ ย่อหน้าที่เป็นภาษาสันสกฤตอย่างง่ายได้ อันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาขั้นสูงขึ้นต่อไป
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายโดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน สื่อเสียงและภาพ
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาสันสกฤต ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
พื้นฐาน 2 เรียนจบพื้นฐาน 1 หรือได้รับอนุญาตจากผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาสันสกฤตสำหรับศึกษาต่อในระดับสูง
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสาร กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาเยอรมันแก่ผู้ที่ไม่มีและมีพื้นฐานความรู้มาก่อน เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจและผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้ได้มี ทบทวนหรือเพิ่มเติมความรู้รวมทั้งทักษะการสื่อสารภาษาเยอรมัน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและส่วนงานของตน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน: ทักษะการสื่อสารในระดับเบื้องต้น ได้แก่ ฟังเพื่อความเข้าใจ ออกเสียง พูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด อ่านตัวบทขนาดสั้น เขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบในชีวิตประจำวัน รวมทั้งไวยากรณ์เบื้องต้น คำศัพท์และสำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยการฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การฟังเพื่อความเข้าใจ การออกเสียงการพูดและสนทนาในสถานการณ์ที่กำหนด การอ่านตัวบท การเขียนข้อความหรือจดหมายโต้ตอบ โดยใช้ความรู้ทางไวยากรณ์ คำศัพท์และสำนวนในชีวิตประจำวันที่ได้ศึกษาในไปในระหว่างการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารดังกล่าว
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1 กลุ่ม 1 (ระดับ A1-1) ทุกวันจันทร์ ,พุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 5 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1 กลุ่ม 2 (ระดับ A1-1) ทุกวันเสาร์เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 2 (ระดับ A1-2) ทุกวันเสาร์เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 3 (ระดับ A1-3 ) ทุกวันเสาร์เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 4 (ระดับ A1-4 ) ทุกวันเสาร์เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 5 (ระดับ A2-1) ทุกวันเสาร์เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 8 (ระดับ A2-4) ทุกวันเสาร์เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
คอร์สอบรมไวยากรณ์ภาษาเยอรมันระดับสูง (ระดับ B2-C1 ตามมาตรฐานยุโรป)
ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00 – 20.00 น. ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email: aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 1: ไม่ต้องมีพื้นฐาน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 2: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ระดับ A1-1 (ซึ่งตรงกับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4) มาก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 3: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 4: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 5: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน 8: ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
– คอร์สอบรมไวยากรณ์ภาษาเยอรมันระดับสูง (ระดับ B2-C1 ตามมาตรฐานยุโรป) : ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาเยอรมัน ก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9.ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 1 คนละ 4,000 บาท (รวมหนังสือ)
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ภาษาเยอรมันพื้นฐาน 2-8 คนละ 3,000 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
ค่าธรรมเนียมคอร์สอบรมไวยากรณ์ภาษาเยอรมันระดับสูง (ระดับ B2-C1) คนละ 4,000 บาท
(รวมเอกสารการอบรม)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาเยอรมันที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ใน
การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. อาจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาบาลีสู่มหาวิทยาลัย (หลักสูตรออนไลน์)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาษาบาลีได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักเรียนที่ต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเป็นวิชาหนึ่งที่สำนักงานทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กำหนดให้ผู้เข้าสอบสามารถเลือกสอบ เพื่อยื่นคะแนนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ นอกจากนี้ ภาษาบาลียังได้รับความสนใจจากนิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาอีกจำนวนไม่น้อย ที่สนใจศึกษาภาษาบาลี แต่ประสบปัญหาว่าในมหาวิทยาลัยที่สังกัดไม่มีการเรียนการสอนภาษาบาลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ทางการศึกษาในการบริการวิชาการแก่สังคม โดยจัดอบรมวิชาการต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรภายใน และบุคคลภายนอก เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จึงเห็นสมควรจัดโครงการบริการวิชาการ “ภาษาบาลีสู่มหาวิทยาลัย” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สนใจได้ศึกษาภาษาบาลีขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือเป็นพื้นฐานในการศึกษาขั้นสูงต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ไวยากรณ์บาลีที่จำเป็นต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือ การเรียนภาษาบาลีระดับมหาวิทยาลัยได้
2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านประโยค และย่อหน้าที่เป็นภาษาบาลีขั้นพื้นฐาน-ขั้นกลางได้
3. เพื่อบริการวิชาการให้แก่นักเรียนมัธยมและบุคคลทั่วไปผู้สนใจภาษาบาลี อันเป็นการเผยแพร่ความรู้สู่สังคม
3. หัวข้อการอบรม
การอบรมครั้งนี้เน้นทำความเข้าใจไวยากรณ์บาลีขั้นพื้นฐานทั้งด้านคำศัพท์และโครงสร้างภาษา ตลอดจนฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อสอบภาษาบาลีจากตัวอย่างข้อสอบภาษาบาลีของสทศ. เพื่อปูพื้นฐานความรู้สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยและการศึกษาภาษาบาลีในขั้นสูงขึ้นไป
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายออนไลน์โดยใช้ตำราหรือเอกสารประกอบการสอน
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาบาลีสู่มหาวิทยาลัย 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาบาลีสู่มหาวิทยาลัย 4 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6.เสร็จสิ้นการสมัครมีE-mailแจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
1. พื้นฐาน 1 ผู้เรียนไม่ต้องมีพื้นมาก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
2. พื้นฐาน 4 ผู้เรียนต้องเรียนพื้นฐาน 3 มาก่อนหรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้ไวยากรณ์บาลีที่ครอบคลุมเนื้อหาของข้อสอบวิชาเฉพาะภาษาบาลี และมีความพร้อมในการเตรียมตัวสอบวิชาเฉพาะภาษาบาลีเพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย หรือ มีความรู้เพียงพอในการศึกษาภาษาบาลีในระดับอุดมศึกษา
2. โครงการนี้ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว ประธานกรรมการ
2. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมพื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ ต้นปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 8 พฤษภาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ในโลกปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสำคัญในการสื่อสารระหว่างประเทศ ไม่แต่เพียงกับ ชนชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเท่านั้น หากแต่ยังกับผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสารอีกด้วย
อันเนื่องมาจากการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นหลักเช่นนี้ ทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่รวมทั้งสถาบันสอนภาษา ให้ความสนใจกับการเรียนภาษาอังกฤษเชิงสื่อสารกันมาก จนทำให้การเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษถูกละเลยไป ทั้งที่อันที่จริงแล้ว ไวยากรณ์คืออาภรณ์ของภาษา เป็นหลักภาษาพื้นฐานที่จะทำให้ผู้เรียนใช้ต่อยอดทางการศึกษาได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยคที่ซับซ้อนแยบคายขึ้น หรือในการเขียน การขาดความรู้ทางไวยากรณ์ที่ดีจะทำให้การใช้ภาษาอังกฤษเป็นไปโดยมีขีดจำกัดอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จึงจัดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคม ตามปณิธานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสำคัญของการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และมีพื้นความรู้ทางไวยากรณ์ที่ดีขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
พื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ
การอบรมไวยากรณ์ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน รูปแบบประโยคต่าง ๆ และการศึกษาคำศัพท์จากบริบท โดยเน้นการทำแบบฝึกหัดและความเข้าใจโครงสร้างภาษาอังกฤษจากเรื่องอ่านที่คัดสรรมา
4. วิธีการจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยาย และการทำแบบฝึกหัด
5. ระยะเวลาของการอบรม
พื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 มกราคม – 15 พฤษภาคม 2564 รวม 45 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม 2563
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02 218 4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. สถานที่อบรม
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. คุณสมบัติผู้รับการอบรม
พื้นฐานไวยากรณ์อังกฤษ ผู้เข้ารับการอบรมควรจะต้องมีวุฒิอย่างต่ำ ม. 3
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสารคนละ 5,600 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
ผู้เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับวุฒิบัตรจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เรียนสามารถใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานได้ดียิ่งขึ้น
2. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่รู้จักของคนในสังคมในฐานะแหล่งความรู้ทางภาษาของประเทศ
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤศ เอียมหฤท กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาญี่ปุ่นสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 – 2 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันภาษาญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้ที่สนใจเรียนเป็นจำนวนมาก นอกจากเพราะอิทธิพลทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อประเทศไทย วัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมาเป็นเวลานาน การประกาศยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศญี่ปุ่นให้แก่ชาวไทยเพื่อท่องเที่ยวและพำนักระยะสั้นที่ทำให้ชาวไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ยังมีปัจจัยใหม่ที่เกิดขึ้นได้แก่การที่ในพ.ศ.2562 ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มนโยบายรับแรงงานชาวต่างชาติโดยขยายกรอบไปจนถึงแรงงานแบบไม่มีฝีมือ (unskilled labor) ให้เข้าไปทำงานในประเทศเพื่อทดแทนแรงงานชาวญี่ปุ่นที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก เนื่องมาจากการที่ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้ปัจจุบันผู้สนใจภาษาญี่ปุ่นมีขอบเขตกว้างขึ้น โดยครอบคลุมไปถึงกลุ่มบุคคลที่สนใจเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศญี่ปุ่นด้วยด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จึงประสงค์จะจัดโครงการอบรมภาษาญี่ปุ่นเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว แต่เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้ยังไม่สามารถจัดการอบรมในห้องเรียนแบบปกติได้ จึงจะเปลี่ยนจากรูปแบบมาเป็นการอบรมผ่านระบบออนไลน์ 100% เพื่อความปลอดภัยของผู้สอนและผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคน และคงประสิทธิภาพการเรียนการสอนไว้ให้มากที่สุด
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในระดับพื้นฐานและขั้นกลาง
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับญี่ปุ่นทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาญี่ปุ่น 1 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน ประโยคและคำศัพท์พื้นฐาน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น รวมทั้งการเขียนตัวอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 1 บทที่ 1-6) |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน ประโยคและคำศัพท์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น เช่น การผันคำคุณศัพท์(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 1 บทที่ 7-12) |
ภาษาญี่ปุ่น 3 (วันเสาร์ ) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น เช่น การผันรูปกริยา ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐาน(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 2 บทที่ 13-19และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 4 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม เมื่อเรียนจบจะมีความรู้เทียบเท่ากับระดับ N5(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 2 บทที่ 20-25และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 5 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 3 บทที่ 26-31และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 6 (วันเสาร์และวันธรรมดา) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 3 บทที่ 32-38และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 7(วันเสาร์) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 4 บทที่ 39-43และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่น 8(วันเสาร์) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น ประโยคและคำศัพท์ที่ซับซ้อนหรือมีการใช้ที่คล้ายคลึงกัน เน้นความเข้าใจโครงสร้างภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้น ฝึกอ่านบทอ่านขนาดสั้น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา Minna no Nihongo เล่ม 4 บทที่ 44-50และ ตำราเรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง) |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง1 |
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 เน้นความเข้าใจและเปรียบเทียบการใช้ไวยากรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ฝึกอ่านบทอ่านขนาดกลาง และแปลประโยคเป็นภาษาญี่ปุ่น รวมทั้งฝึกเขียนตัวอักษรคันจิพื้นฐานเพิ่มเติม(ตำรา ก้าวไกลไปกับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 บทที่ 1 และ 2) |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 เน้นการใช้เทคนิค shadowing ที่ช่วยพัฒนาสำเนียงและทำนองเสียงภาษาญี่ปุ่น สามารถพูดโต้ตอบบทสนทนาง่ายๆ ได้ทันที อีกทั้งยังได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่จากเนื้อหาหัวข้อสนทนาใกล้ตัว เช่น อาหารการกิน ครอบครัว แล้วนำคำศัพท์มาฝึกแต่งประโยค |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 (วันเสาร์) |
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 เน้นการใช้เทคนิค shadowing ที่ช่วยพัฒนาทำนองเสียงให้ฟังดูเป็นภาษาญี่ปุ่นมากขึ้น สามารถหยิบยกเนื้อหาหัวข้อสนทนาใกล้ตัวขึ้นมาพูดคุย รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับคู่สนทนาในการสนทนาที่ยาวขึ้นได้ |
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมจะเป็นการบรรยายประกอบการฝึกสนทนา โดยใช้ตำรา สื่อเสียงและภาพ และเชิญวิทยากรเจ้าของภาษาตามสมควร
5. ระยะเวลาและรูปแบบการอบรม
รูปแบบการอบรม ออนไลน์ผ่านระบบซูม (Zoom) 100%
คอร์สวันเสาร์ ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง ( หยุดวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 )
ชื่อคอร์ส |
เวลา |
ราคา |
ภาษาญี่ปุ่น 1 (กลุ่มเช้า) |
9.00 – 12.00 น. |
3,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (กลุ่มเช้า) |
||
ภาษาญี่ปุ่น 3 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 4 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 5 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 6 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 7 |
||
ภาษาญี่ปุ่น 8 |
||
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 |
||
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 |
9.00 – 12.00 น. |
3,300 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 1 (กลุ่มบ่าย) |
13.00 – 16.00 น. |
3,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (กลุ่มบ่าย) |
คอร์สวันธรรมดา (จันทร์และพุธ) ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง ( หยุดวันที่ 26 พ.ค. , 26 ก.ค. และ 28 ก.ค. 2564 )
ชื่อคอร์ส |
เวลา |
ราคา |
ภาษาญี่ปุ่น 2 (กลุ่มวันธรรมดา) |
18.00 – 20.00 น. |
4,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 4 (กลุ่มวันธรรมดา) |
||
ภาษาญี่ปุ่น 5 (กลุ่มวันธรรมดา) |
คอร์สวันธรรมดา (อังคารและพฤหัสบดี) ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 29 กรกฎาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง (หยุดวันที่ 3 มิ.ย. และ 27 ก.ค. 2564 )
ชื่อคอร์ส |
เวลา |
ราคา |
ภาษาญี่ปุ่น 1 (กลุ่มวันธรรมดา) |
18.00 – 20.00 น. |
4,000 บาท |
ภาษาญี่ปุ่น 6 (กลุ่มวันธรรมดา) |
||
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 |
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. เบอร์ติดต่อ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ผ่านระบบออนไลน์
9. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาญี่ปุ่น 1 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 1 (วันธรรมดา) ไม่จำกัดวุฒิการศึกษาและไม่จำเป็นต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่น แต่ต้องอ่านตัวอักษรภาษาอังกฤษได้
ภาษาญี่ปุ่น 2 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 2 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 1 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 3 (วันเสาร์) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 2 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 4 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 4 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 3 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 5 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 5 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 4 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 6 (วันเสาร์) และ ภาษาญี่ปุ่น 6 (วันธรรมดา) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 5 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 7 (วันเสาร์) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 6 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่น 8 (วันเสาร์) ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 7 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N5 หรือ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 ผ่านการอบรมคอร์สภาษาญี่ปุ่น 8 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ – คันจิ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือสอบผ่านระดับ N4 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือมีความรู้ตำรา Minna no Nihongo ถึงบทที่ 25 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 ผ่านการอบรมคอร์สสนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 สามารถอ่านอักษรฮิระงะนะ – คะตะกะนะ รวมทั้งมีความรู้ทางไวยากรณ์พื้นฐาน หรือมีความรู้ตำรา Minna no Nihongo ถึงบทที่ 30 หรือได้รับอนุญาตจากศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 30 ชั่วโมง ราคา 3,000 บาท*
ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 40 ชั่วโมง ราคา 4,000 บาท*
ภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง 1 ราคา 3,300 บาท**
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 1 ราคา 4,000 บาท
สนทนาภาษาญี่ปุ่น 2 ราคา 3,000 บาท***
*ค่าธรรมเนียมนี้ไม่รวมค่าตำรา “Minna no Nihongo” “คัดเขียนเรียนญี่ปุ่น” และ“เรียนรู้คันจิระดับต้น-กลาง”
**ค่าธรรมเนียมนี้รวมค่าตำราและค่าจัดส่งภายในประเทศแล้ว
***ค่าธรรมเนียมนี้รวมเอกสารประกอบการสอนแล้ว (อาจารย์ผู้สอนจะส่งไฟล์ให้ผู้เรียนโดยตรงทางอีเมล)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
11. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในระดับพื้นฐานและขั้นกลาง
2. ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับญี่ปุ่นทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น
13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
สมัครโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
ธนาคาร กรุงเทพ สาขาสยามสแควร์
ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
เลขที่บัญชี 152-4-218367
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
วิธีการ
หากไม่มีการเขียนชื่อและเบอร์โทรศัพท์ลงบนหลักฐานการโอนเงิน ทางคณะอักษรศาสตร์ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับผิดชอบการโอนเงินดังกล่าว
โครงการอบรมภาษาสเปนสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาสเปนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาสเปนแก่ผู้เริ่มเรียนหรือผู้ที่มีพื้นความรู้มาแล้ว เพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการใช้ภาษานี้มีความรู้หรือทบทวนเพิ่มเติมและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับปรุงใช้ในงานส่วนตัว ของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 1 , 2,3 การจัดอบรมประกอบด้วย ภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ภาคปฏิบัติมีการฝึกออกเสียงและสนทนาโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติ ซึ่งได้แก่การฝึกฟังสำเนียงของเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเป็นทางวีดีทัศน์และอาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นชาวสเปน การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรม
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 3 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4535-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 1 ผู้สมัครไม่มีพื้นฐาน
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องสอบผ่านภาษาสเปนขั้นพื้นฐาน 1
ภาษาสเปน ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องสอบผ่านภาษาสเปนขั้นพื้นฐาน 2
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ ราคา 3,000 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาสเปนที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์นรุตม์ เจ้าสกุล กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกิจ พู่พวง กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษารัสเซียสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษารัสเซียเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษารัสเซียแก่ผู้เริ่มเรียน เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้มีความรู้ และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในงานส่วนของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษารัสเซีย 1
ฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรภาษารัสเซีย ไวยากรณ์เบื้องต้นและบทสนทนาภาษารัสเซียในชีวิตประจำวัน (เป็นวิชาพื้นฐาน สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษารัสเซียมาก่อน)
ภาษารัสเซีย 2
ศึกษาไวยากรณ์การก 1 (Nominative case), การก 4 (Accusative case), การก 6 (Prepositional case) ในรูปเอกพจน์และไวยากรณ์เรื่องอื่นๆ (เป็นวิชาพื้นฐาน ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ชม.)
ภาษารัสเซีย 3
ศึกษาไวยากรณ์การก 2 (Genitive case), การก 3 (Dative case), การก 5 (Instrumental case) ในรูปเอกพจน์ การใช้กริยาสมบูรณ์ ไม่สมบูรณ์ และไวยากรณ์เรื่องอื่นๆ (ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ชม.)
ภาษารัสเซีย 4
ศึกษาการกต่างๆ ในรูปพหูพจน์ การใช้ Direct และ Indirect Speech และไวยากรณ์ขั้นสูงเรื่องอื่นๆ (ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 ชม.)
4. วิธีจัดการอบรม
รูปแบบสอนออนไลน์
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษารัสเซีย 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 17 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
ภาษารัสเซีย 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 17 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
ภาษารัสเซีย 3 ทุกวันอาทิตย์ 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
ภาษารัสเซีย 4 ทุกวันอาทิตย์ 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 23 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม 2564 รวม 27 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184886
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
– ภาษารัสเซีย 1 เป็นวิชาพื้นฐาน สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษารัสเซียมาก่อน
– ภาษารัสเซีย 2 เป็นวิชาพื้นฐาน ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ชม.
– ภาษารัสเซีย 3 ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ชม.
– ภาษารัสเซีย 4 ผู้เรียนจะต้องผ่านการเรียนภาษารัสเซียมาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 ชม.
ทุกวิชาสอนโดยอาจารย์ชาวไทย
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม 2,700 บาทต่อคอร์ส
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการ จะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษารัสเซียที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาดา เพ็ชรรักษ์ ประธานกรรมการ
2. รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลภายนอก (ระดับพื้นฐาน 1 และพื้นฐาน 2)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น ด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการดังกล่าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้นำในเรื่องการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส จึงควรตอบสนองความต้องการของสังคมในเรื่องนี้
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสแก่ผู้เริ่มเรียน และผู้ที่มีพื้นฐานเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนของตน
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่ง ได้แก่ การฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียน โดยอาศัยสิ่งที่เรียนจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 2 ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาฝรั่งเศสระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ราคา 4,500 บาท (รวมหนังสือ) หรือราคา 4,000 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน และขั้นพื้นฐาน 4 ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับหนังสือสำคัญพร้อมวุฒิบัตรไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ ประธานกรรมการ
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3.เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาฝรั่งเศสสำหรับบุคคลภายนอก (ระดับพื้นฐาน 3 และพื้นฐาน 4)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน เช่น ด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการดังกล่าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นผู้นำในเรื่องการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส จึงควรตอบสนองความต้องการของสังคมในเรื่องนี้
2. วัตถุประสงค์
เพื่อให้ความรู้ภาษาฝรั่งเศสแก่ผู้เริ่มเรียน และผู้ที่มีพื้นฐานเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในส่วนของตน
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ไวยากรณ์ ศัพท์ สำนวน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น
4. วิธีจัดการอบรม
การอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติซึ่ง ได้แก่ การฝึกฟัง การฝึกสนทนาและฝึกเขียน โดยอาศัยสิ่งที่เรียนจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 16.00 น.
ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 24 กรกฎาคม 2564 รวม 30 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 3 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 2 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
ภาษาฝรั่งเศส ขั้นพื้นฐาน 4 ผู้สมัครต้องผ่านการอบรมภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน 3 หรือได้รับอนุญาตจากอาจารย์ผู้สอน
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรม ราคา 6,000 บาท (รวมหนังสือ) หรือราคา 5,500 บาท (ไม่รวมหนังสือ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้วไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบผ่าน ศูนย์บริการวิชาการจะออกหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน และขั้นพื้นฐาน 4 ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับหนังสือสำคัญพร้อมวุฒิบัตรไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาฝรั่งเศสที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ ประธานกรรมการ
2.ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กรรมการ
3.เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ
โครงการอบรมภาษาอิตาเลียนสำหรับบุคคลภายนอก กลางปี 2564
จัดโดย ศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564
1. หลักการและเหตุผล
คณะอักษรศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาต่างประเทศอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล เช่น ทางด้านธุรกิจ การค้า การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ ภาษาอิตาเลียนเป็นภาษาหนึ่งที่ใช้กันกว้างขวางในวงการดังกล่าว แต่เป็นภาษาที่ยังไม่มีการสอนกันอย่างแพร่หลาย จึงเห็นสมควรจัดอบรมเพื่อเป็นบริการวิชาการแก่สังคม
2. วัตถุประสงค์
เพื่ออบรมภาษาอิตาเลียนแก่ผู้เริ่มเรียน หรือผู้ที่มีพื้นความรู้มาแล้ว เพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องการรู้ภาษานี้มีความรู้หรือทบทวนเพิ่มเติม และนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับปรุงใช้ในงานส่วนของตน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. หัวข้อการอบรม
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน1 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่าน ออกเสียง การสนทนา และการเขียนระดับเบื้องต้น
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 2 ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การอ่านออกเสียง การสนทนา และการเขียนในระดับที่สูงขึ้น
4. วิธีจัดการอบรม
การจัดอบรมประกอบด้วยภาคทฤษฎี ได้แก่ ไวยากรณ์เบื้องต้น ศัพท์ สำนวน และภาคปฏิบัติ ซึ่งได้แก่การฝึกฟังสำเนียงของเจ้าของภาษาไม่ว่าจะเป็นทางวีดีทัศน์และอาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นชาวอิตาเลียน การฝึกสนทนาและฝึกเขียนโดยอาศัยสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วจากภาคทฤษฎี
5. ระยะเวลาในการอบรม
วันธรรมดา
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 1 ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 2 ทุกวันจันทร์และพุธ เวลา 18.00 – 20.00 น.
ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 2 สิงหาคม 2564 รวม 40 ชั่วโมง
6. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2564
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ตามช่องทางดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : aksornchula@Chula.ac.th
3. หมายเลขโทรศัพท์ 02-2184534-36
7. วิธีการสมัคร
สมัครออนไลน์ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ www.Aksornchula.com
1. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (กรณีสมาชิกใหม่)
2. ล๊อกอินเข้าระบบ
3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)
4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)
5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์
6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี E-mail แจ้งการสมัครเสร็จสมบูรณ์
8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 1 ไม่ต้องมีพื้นฐาน
ภาษาอิตาเลียน ขั้นพื้นฐาน 2 ต้องผ่านระดับพื้นฐาน 1 ไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่สมัคร
9. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมในการอบรมคนละ 4,000 บาท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรมที่ได้ชำระแล้ว ไม่ว่ากรณีใด นอกจากจะไม่สามารถเปิดการอบรมได้
10. การประเมินผล
แต่ละระดับมีการประเมินผลโดยการสอบเมื่อการอบรมเสร็จสิ้น ผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าสอบได้ ศูนย์บริการวิชาการจะออกวุฒิบัตรและหนังสือสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน
11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อเนื่อง
2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ภาษาอิตาเลียนที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและศึกษาขั้นสูงต่อไป
12. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการประกอบด้วย
1. ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ดร.วิลาสินีย์ แฝงยงค์ กรรมการ
3.อาจารย์ ดร.ปาจารีย์ ทาชาติ กรรมการ
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ กรรมการและเลขานุการ