หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์


หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หลักการและเหตุผล
     ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ภาควิชาฯ ได้สั่งสมทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขามากขึ้น โดยเฉพาะในสาขาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก อีกทั้งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทำให้นิสิตสามารถเข้าถึงข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาณาบริเวณอื่น ๆ นอกจากประเทศไทยได้มากขึ้น โอกาสการทำวิจัยทางประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกจึงเปิดกว้างขึ้น และมีความเป็นไปได้ในทางวิชาการที่จะสนับสนุนให้นิสิตใน หลักสูตรทำวิจัยในสาขาทั้งสอง ประการสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในประเทศไทยเอง ในระดับภูมิภาคเอเชีย และในระดับโลก ทำให้นักวิจัยประวัติศาสตร์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในประวัติสาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก มีบทบาทเป็นที่ต้องการของสังคมไทยมากขึ้น ทั้งในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ ในหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และแม้แต่ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเอกชนของไทย ที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจการค้าเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก


วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตผู้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการวิจัยทางประวัติศาสตร์ สามารถบูรณาการความรู้ด้านเนื้อหาประวัติศาสตร์ และเครื่องมือการวิจัยในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยทางประวัติศาสตร์มีนวภาพ และตอบสนองความต้องการของสังคม

2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตทางประวัติศาสตร์ที่ตระหนักถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมระหว่างไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก

3. เพื่อให้นิสิตสามารถพัฒนาหัวข้อ โครงร่างวิทยานิพนธ์ที่มีความชัดเจน และทำการวิจัยเสนอเป็นวิทยานิพนธ์ได้เสร็จภายในเวลาที่สมควร

4. เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้แก่สังคมไทยในด้านประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก


โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมของหมวดวิชาเฉพาะ สาขาวิชาประวัติศาสตร์
39 (หน่วยกิต)
วิชาบังคับร่วม
12
วิชาบังคับเฉพาะแขนง
6
วิชาเลือก
9
วิทยานิพนธ์
12




[ กลับสู่หน้าหลักสูตร ]