โครงการย่อยที่ 1

Sub-Project 1



ชื่อโครงการวิจัย

การศึกษาความผิดปกติในการพูด ในผู้ป่วยคนไทยที่เป็นโรคนอนกรน

Research Title

The Study of Linguistic Disorders in Thai Obstructive Sleep Apnea Patients


หัวหน้าโครงการย่อยที่ 1

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล, พ.บ.

Head of Sub-Project 1

Associate Professor Prakobkiat Hirunwiwatkul, M.D.


หน่วยงาน

ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์

Affiliation

Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine


ผู้ร่วมวิจัย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา หลวงพิทักษ์ชุมพล
    ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์
  • อาจารย์นันทนา ประชาฤทธิ์ภักดี
    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Co-researchers

  • Associate Professor Dr. Parinya Luangpitakchumpon
    Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine
  • Nantana Pracharitpakdee
    King Chulalongkorn Memorial Hospital

ผู้ช่วยวิจัย

  • นิวุฒิ จังชัยวีระยานนท์
  • ธนศักดิ์ ศิริคะเณรัตน์
  • เอกพล กันทอง
  • ศิวพร ทวนไธสง
  • จักรภพ เอี่ยมดะนุช
  • ชวดล เกตุแก้ว
    ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
  • แพทย์หญิงพรรษวรรณ เปรมตุ่น
    ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์

Research Assistants

  • Niwoot Changchaiweerayanon
  • Thanasak Sirikanerat
  • Ekapon Kantong
  • Siwaporn Tuanthaisong
  • Jakrabhop Iamdanush
  • Chawadon Ketkaew
    Department of Linguistics, Faculty of Arts
  • Pansawan Premtoon, M.D.
    Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine

หลักการและเหตุผล

โรคนอนกรน ทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะมีภาวะหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันในขณะนอนหลับ ทำให้ออกซิเจนในเลือดแดงจะต่ำลง ทำให้สมรรถภาพการนอนหลับเสียไป และทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจ หลอดเลือด ปอด และสมอง โรคนอนกรนพบได้ในทุกกลุ่มอายุ

การตรวจการนอนหลับ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายของโรคนอนกรนเพราะข้อมูลจากการซักประวัติและตรวจร่างกายมักไม่เพียงพอที่จะยืนยันได้อย่างถูกต้องถึงความรุนแรงของโรค

โรคนอนกรนในเด็กมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว ง่วงนอนกลางวันมากกว่าปกติ ทำให้ผลการเรียนไม่ดี ความสามารถในการจดจำและสติปัญญาลดลง การวิจัยยังพบอีกว่าการทดสอบ IQ ในเด็กกรน มีคะแนนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเด็กปกติความผิดปกติดังกล่าวนี้เชื่อว่าอาจมีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน การสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ ขณะนอนหลับ ภาวะการหายใจไม่เพียงพอจนมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ทำให้เกิดความผิดปกติที่สมองส่วนเปลือกนอก ความเสียหายต่อสมองส่วนเปลือกนอกนี้เอง มีผลทำให้ความคล่องแคล่วในการพูดบกพร่องและเกิดการเปลี่ยนแปลงในความเร็วและความสามารถในการออกเสียง เมื่อมีการทดสอบความคล่องแคล่วในการพูด ด้วยการตรวจ PET สแกน พบความผิดปกติในการทำงานของสมองส่วนเปลือกนอก นอกจากนี้ยังอาจมีผลทำให้การประมวลผลข้อมูลในสมองผิดพลาดมีแนวโน้มของการแยกตัวระหว่างพฤติกรรมภาษาและกิจกรรมต่อเนื่อง การวางแผนและการแก้ปัญหาทำได้ไม่สมบูรณ์ และความสามารถในการจัดลำดับลดลง

การศึกษานี้มีจุดประสงค์ เพื่อหาความชุกและลักษณะของความผิดปกติในการพูด ในผู้ป่วยคนไทยที่เป็นโรคนอนกรน เปรียบเทียบกับคนทั่วไป และในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน

Principles and Reasons

Obstructive Sleep Apnea (OSA) is a life threatening disease because sleep-disordered breathing causes arterial oxygen desaturation and disrupts sleep quality. It also results in multiple organ dysfunctions, such as in the cardiovascular system, the respiratory system and in brain function. OSA has been found in all age groups.

Polysomnogramphy (Sleep study) is essential for a final diagnosis of OSA because information from history taking and physical examination may not be sufficient to confirm the severity of disease.

OSA in children has an influence on neurocognitive function, such as contributing to aggressive behaviour, daytime somnolence, deteriorated learning capability, poor memory and decreased intellectual function. Some studies have revealed that OSA children have a lower IQ in comparison with the normal group. This may be due to the low level of oxygenation, frequent arousal with fragmented sleep. Inadequate respiration causes the retention of carbon dioxide levels in the blood circulation and results in dysfunction of the prefrontal cortex of the brain. Damage to the prefrontal cortex has been associated with impaired verbal fluency and retrieval, which causes changes in the speed and ease of verbal production. Impaired verbal retrieval shows up in finding problems and in defective performance in fluency tests. When fluency is tested during PET scanning, activation of the prefrontal regions has been shown. In addition, damage to the prefrontal cortex causes information processing deficit. This kind of deficit is accompanied by a tendency to a dissociation between language behaviour and ongoing activity so that people who exhibit such a deficit are less apt to use verbal cues to direct, guide or organize their ongoing behaviour with a resultant perseveration, fragmentation or premature termination of response. Thus, planning and problem solving which require intact sequencing and organizing abilities are impaired in people with damage to the prefrontal cortex.

The present study was conducted in order to examine the prevalence and characteristics of linguistic disorders in Thai OSA patients and compare them with Thai people in general and to examine the different severities of Thai OSA patients.


ผลงานวิจัย/ผลผลิต

  • การนำเสนอผลงานทางโปสเตอร์ 1 ชิ้น
  • การตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติ 1 ฉบับ

Research/Output

  • Poster Presentation (international) 1 poster
  • Manuscript for publication in international journal 1 original paper

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

คนในชาติหลายภาคส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นสังคมไทยจะได้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมอันจะนำมาซึ่งความมั่นคงทั้งที่รูปธรรมและนามธรรม โดย ผลการวิจัยของโครงการวิจัยนี้ จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติในการพูดภาษาไทยของผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนซึ่งพบได้บ่อย และมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นและอาจทำให้เสียชีวิตได้ องค์ความรู้ที่ได้จะช่วยให้การวางแผนการรักษาป้องกัน และการฝึกพูดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ในรูปแบบบทความวิจัย หนังสือ และวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก รวมทั้งผู้ร่วมโครงการทั้งอาจารย์ซึ่งเป็นนักวิจัยรุ่นกลางและรุ่นเยาว์ ตลอดจนนิสิตบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาเอก ได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการโครงการวิจัยขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการสืบทอดประสบการณ์จากนักวิจัยและนักบริหารจัดการโครงการวิจัยรุ่นอาวุโสสู่นักวิจัยรุ่นหลังด้วยวิธีการและขั้นตอนที่เป็นธรรมชาติ

เมื่อพิจารณารวมทั้งโครงการใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย โครงการวิจัยย่อย 7 โครงการ จะสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำนโยบายและแผนเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรม ประโยชน์ด้านการประมวลผลภาษาไทย ซึ่งก่อให้เกิดเครื่องมือสำหรับช่วยการเรียนการสอนภาษาไทย และการทำพจนานุกรมภาษาไทย นอกจากนี้องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยย่อยอีก 4 โครงการสามารถช่วยให้คนไทยใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้เห็นภาพพัฒนาการของภาษาไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้คนในสังคมเกิดความภาคภูมิใจในชาติตลอดจนความเจริญงอกงามของภาษาประจำชาติ ความมั่นคงของคนในชาติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนในชาติมีความรู้สึกทางบวกต่อการดำรงชีวิต และเชื่อมั่นว่าตนเองและลูกหลานของตนเองจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป

Expected Benefits

People in many different regions of Thailand, who together contribute to Thai society, will derive direct and indirect benefits to the language and human security of Thailand. The expected results may provide knowledge and understanding related to linguistic problems in Thai obstructive sleep apnea patients which are common and have a tendency to come worse and life-threatening. The information from this study will provide and suggest a plan to prevent, treat and rehabilitate linguistic function.

A good quality paper will be produced and published in Thai and at the international level via original manuscript, book or Ph.D. thesis. The research team consisting of senior and junior staff including Master's and Ph.D. students, will have the opportunity to learn and conduct a high-standard research project and transfer their experience and knowledge management from senior researchers through sound methods and natural steps.

Considering the whole project, consisting of 7 sub-projects, it will be a good template for policy making and development planning for Eco-tourism, nature and cultural benefit. Thai language processing will create tools to help in learning Thai and producing a Thai dictionary. In addition, knowledge derived from the research projects in 4 sub-projects may help Thai people in using Thai to communicate effectively, as well as seeing the development of Thai from the past to the present. This will encourage people in society to have national pride in and enthusiasm for the national language. The security of the people in the nation will only happen when people in the nation feel positive effects on their lives. We believe that we and our descendants will enjoy better quality of life.