โครงการย่อยที่ 3

Sub-Project 3



ชื่อโครงการวิจัย

เทคนิคทางภูมิศาสตร์เพื่อการศึกษาพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการพัฒนาการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาพื้นที่ต่อเนื่อง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี และ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

Research Title

Geographical Techniques for the Study of Cultural Diversity and Tourism Development: The Case of Amphoe Dan Chang, Suphan Buri and Amphoe Ban Rai, Uthai Thani


หัวหน้าโครงการย่อยที่ 3

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์

Head of Sub-Project 3

Assistant Professor Sirivilai Teerarojanarat, Ph.D.


หน่วยงาน

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

Affiliation

Department of Geography, Faculty of Arts


ผู้ร่วมวิจัย

  • อาจารย์ ดร. พันธุมดี เกตะวันดี
    ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
  • อาจารย์ชนิตา ดวงยิหวา
    ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
  • อาจารย์อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์
    ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

Co-researchers

  • Punthumadee Katawandee, Ph.D.
    Department of Commerce, Faculty of Commerce and Accountancy
  • Chanita Duangyiwa
    Department of Geography, Faculty of Arts
  • Areerut Patnukao
    Department of Geography, Faculty of Arts

ผู้ช่วยวิจัย

  • ศิริรัตน์ ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์
    ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
  • สุทธิลักษณ์ พึ่งผลพฤกษ์
    ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

Research Assistants

  • Sirirat Choophan Atthaphonphiphat
    Department of Linguistics, Faculty of Arts
  • Suthiluck Pungpolpruek
    Department of Geography, Faculty of Arts

หลักการและเหตุผล

แต่ละแห่งแหล่งที่ล้วนมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัว ตามสภาพภูมิศาสตร์ อ. ด่านช้าง จ. สุพรรณบุรี และ อ. บ้านไร่ จ. อุทัยธานี มีสภาพภูมิประเทศที่มีความต่อเนื่องกัน คือ เป็นแนวทิวเขายาวในแนวเหนือใต้ และมีความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศวิทยา พื้นที่ในด้านตะวันตกของ อ. บ้านไร่ จัดเป็นส่วนหนึ่งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ" และในพื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติพุเตย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ และป่าเขาห้วยพลู ในเขต อ. ด่านช้าง จ. สุพรรณบุรี และวนอุทยานถ้ำเขาวง ในเขต อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี ทำให้พื้นที่นี้มีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น เขาถ้ำตะพาบ ถ้ำเขาวง เขาพุหวาย น้ำตกตะเพินคี่ น้ำตกพุกระทิง เป็นต้น ในเขตอุทยานแห่งชาติพุเตย ยังมีการพบป่าสนสองใบ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีความสำคัญ เนื่องจากโดยปกติแล้วป่าสนสองใบจะเจริญเติบโตในพื้นที่ภูเขาสูงชันที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป แต่ป่าสนนี้เจริญเติบโตบนพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 763 เมตรเท่านั้น ป่าสนสองใบแห่งนี้จึงเป็นป่าสนสองใบตามธรรมชาติแห่งเดียวของภาคกลาง จึงมีความน่าสนใจอย่างยิ่งทั้งในเชิงการท่องเที่ยวและการจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติในเขตพื้นที่ภาคกลาง

นอกจากนี้ ในอดีตพื้นที่นี้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน มีรายงานการพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ย้อนไปได้ถึงยุคหินใหม่ที่ อ. ด่านช้าง และพบเมืองโบราณบ้านการุ้งซึ่งเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี ที่ อ.บ้านไร่ อีกทั้งในพื้นที่นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนหลากหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ กะเหรี่ยง ขมุ ละว้า นอกเหนือจากคนไทยพื้นราบ ก่อให้เกิดความหลากหลายทางภาษา วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่น ซึ่งควรคู่แก่การศึกษา รวบรวมหลักฐาน และอนุรักษ์ไว้

อย่างไรก็ดี ความสะดวกในการคมนาคมและการติดต่อสื่อสารในปัจจุบัน มีแนวโน้มทำให้การเข้าถึงพื้นที่ทำได้ง่ายขึ้น และอาจส่งผลให้ความเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ทั้งทางด้านกายภาพ ภาษา วิถีชีวิต สังคม ประเพณีและวัฒนธรรม เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเพื่อให้สอดรับกับความเจริญที่จะมาถึงในเรื่องการท่องเที่ยว จึงทำให้เกิดความคิดจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลในมิติต่างๆทางพื้นที่ ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพและนิเวศวิทยาในพื้นที่ ภาษาและความใกล้ชิดชุมชน ความหลากหลายของวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงร่องรอยประวัติศาสตร์ในอดีต อันเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนในพื้นที่ตระหนัก รู้สึกหวงแหน และร่วมอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนไว้ และ (2) เพื่อใช้ข้อมูลที่ได้ศึกษามาในมิติต่าง ๆ ข้างต้น มาวิเคราะห์กำหนดคุณค่าของพื้นที่และแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างสมดุล คือ เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร ควบคู่ไปกับการนำเอาแนวคิดด้านการตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้ สร้างรายได้ให้กับชุมชนให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดีให้กับนักท่องเที่ยว และช่วยลดผลกระทบในด้านลบที่จะพึงเกิดแก่แหล่งท่องเที่ยว

การดำเนินโครงการมีจุดเด่นสองข้อหลักคือ (1) การศึกษาพหุลักษณ์ทางภาษา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว จะใช้การบูรณาการความรู้จากคนต่างศาสตร์ หรือต่างแขนงในศาสตร์เดียวกัน ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (เนื้อหาและเทคนิค) พาณิชยศาสตร์ (นักวิชาการด้านท่องเที่ยว/การตลาด) เพื่อมาทำงานและประสานงานร่วมกันบนพื้นที่อย่างแท้จริง (2) เน้นการนำเอาเทคนิคทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Position System หรือ GPS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System หรือ GIS) มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและวิเคราะห์งานและประสานการบูรณาการข้อมูลจากต่างศาสตร์เข้าด้วยกันบนแผนที่ โดย GPS จะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงพื้นที่ การเก็บจุดการสำรวจข้อมูลในการออกภาคสนาม และใช้ประกอบการสร้างแผนที่ ในขณะที่ GIS จะถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บฐานข้อมูล วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงการผลิตแผนที่ผลลัพธ์

Principles and Reasons

Each geographical area has its own unique distinctiveness. The geography of Amphoe Dan Chang, Suphan Buri and Amphoe Ban Rai, Uthai Thani is marked by a long mountain range from north to south with fertile forest and is considered to be an area of biological diversity and ecosystems. The west of Amphoe Ban Rai is a part of the Thungyai Naresuan Wildlife Sanctuary with the adjoining Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary. It has been declared "a World Heritage Site" by the United Nations. In addition, it is also the area where Phu Toei National Park is located. Inside the park's boundaries are the Ong Phra Forest, the Khao Phu Rakam Forest, and the Khao Huai Phlu Forest of Amphoe Dan Chang, Suphan Buri Province as well as the Tham Khao Wong Forest Park of Amphoe Ban Rai, Uthai Thani. Well-known natural tourist attractions are, for example, the Khao Tham Taphap cave, the Khao Wong cave, the Khao Phu Wai, the Taphoen Khi waterfall and the Phu Krathing waterfall. The Pinus Merkusii, the tropical mountain pine, is also found in this area at an altitude of 763 metres above sea level, although the species normally grows in mountainous areas with a height of more than 1,000 metres above sea level. It is the only natural pine forest in the central part of Thailand and is considered as very interesting both from the aspect of tourism and natural resources for learning.

According to archaeological evidence, the area of Amphoe Dan Chang can be traced back as far as the Neolithic Age. The ancient local community called the Ban Ka Rung is also found in Amphoe Ban Rai with a history of more than 1,000 years. It is a place where a variety of racial groups, namely, the Karen, the Khmu, and the Lawa as well as the Thais have resided. This has caused a diversity of distinctive languages, ways of life and cultures, which are worth studying, gathering evidence about and preserving.

Efficient communication and transportation have currently made access to the area easier. As a result, the unique identities of the area such as its physical features, languages, ways of life, society, traditions and culture may be changed. Responding to the dynamic growth in tourism, this project has been initiated with the following aims:

  1. to study, gather and analyze data in spatial dimensions which are: physical features, ecology, community relationships, the cultural diversity of racial groups including historical sources. These are considered to be ways of assisting to inculcate the spirit of their unique identity as well as to establish their pride and the preservation of racial exclusivity; and
  2. to analyze the information acquired from the study in order to define spatial values and determine the ways of achieving the development of balanced tourism. That is, to focus on resource preservation together with the application of marketing strategies. The benefits will be, for example, a higher income for the people in the community who consequently will have the dignity of self-reliance. The tourists will also be given an impressive experience and finally, any negative impact which may occur on tourist resources will decrease.

The 2 significant keys of the project are mainly:

  1. to study pluralism in language, culture and history. In analyzing the way to develop tourism, integration of the knowledge acquired from different fields of study such as linguistics, geography (content and technique) and commerce (tourism/marketing) is highlighted.
  2. to emphasize the use of geographical techniques, particularly, the Global Position System (GPS) and the Global Information System (GIS). The GPS is implemented for enhancing the efficiency of access to the area, field sampling, and mapping. The GIS, on the other hand, is implemented for increasing the efficiency of integrating knowledge of different areas of study, storing databases, analyzing and displaying results of area survey including the creation of outcome mapping.

ผลงานวิจัย/ผลผลิต

  1. บทความวิจัย 4 เรื่อง
  2. ฐานข้อมูลGIS ทางด้านกายภาพ วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่ศึกษา
  3. ฐานข้อมูลGIS เส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา
  4. แผนที่ข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ศึกษา
  5. แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา

Research/Outputs

  1. Four research papers will be produced as follows:
  2. A GIS database on physical and cultural features including ethnic groups in A the study area.
  3. A GIS database on tourist attractions and resources in the study area.
  4. A base map of physical and cultural features including ethnic groups in the study area.
  5. A map of tourist attractions and resources in the study area

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สร้างกลุ่มวิจัยให้มีความร่วมมือแบบสหสาขาวิชา
  2. ได้แลกเปลี่ยนความรู้และพันธมิตรทางวิชาการต่างศาสตร์
  3. สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์มาใช้ในบูรณาการกับศาสตร์อื่น ได้แก่ ภาษาศาสตร์ และการท่องเที่ยว/การตลาด
  4. ได้มีบทบาทกระตุ้นให้ชุมชนในพื้นที่เข้าใจและเกิดสำนึกในการสงวนรักษาวัฒนธรรม
  5. ภูมิปัญญา และสภาพธรรมชาติในพื้นที่
  6. ใช้เป็นกรณีตัวอย่างในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างองค์รวมและสมดุล คือเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากร ควบคู่ไปกับการนำเอาแนวคิดด้านการตลาดเข้ามาประยุกต์ใช้ สร้างรายได้ให้กับชุมชนให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ดีให้กับนักท่องเที่ยว และช่วยลดผลกระทบในด้านลบที่จะพึงเกิดแก่แหล่งท่องเที่ยว
  7. ได้มีบทบาทในการกระตุ้นการพัฒนาการท่องเที่ยวของ จ.สุพรรณบุรี และ จ.อุทัยธานี

Expected Benefits

  1. to build a research group on the basis of interdisciplinary cooperation;
  2. to exchange knowledge and technical assistance with those in different fields of study;
  3. to promote the use of geographical technology in knowledge integration across different areas of study , namely, linguistics, tourism and marketing;
  4. to encourage the community of the area to understand and realize the awareness of cultural conservation;
  5. to maintain local wisdom and the natural condition of the area;
  6. to serve as a case study for totally balanced development of tourism. The emphasis is on the conservation of resources and the application of marketing strategies in order to create more income for the people of the community, to encourage them to have the dignity of self-reliance and to reduce any negative impact that might occur on tourist resources.
  7. to stimulate the development of tourism in Suphan Buri and Uthai Thani