โครงการย่อยที่ 5

Sub-Project 5



ชื่อโครงการวิจัย

อุดมการณ์ที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมแบบเรียนของไทย

Research Title

Ideologies as represented by linguistic devices in the discourse of Thai textbooks


หัวหน้าโครงการย่อยที่ 5

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร พานโพธิ์ทอง

Head of Sub-Project 5

Assistant Professor Natthaporn Panpothong, Ph.D.


หน่วยงาน

ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์

Affiliation

Department of Thai, Faculty of Arts


ผู้ช่วยวิจัย

  • วิสันต์ สุขวิสิทธิ์
    ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์

Research Assistant

  • Wison Sukwisith
    Department of Thai, Faculty of Arts

หลักการและเหตุผล

โครงการวิจัยนี้เป็นการบูรณาการแนวคิดและวิธีการวิจัยจากสาขาภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัจนปฏิบัติศาสตร์เข้ากับแนวคิดเกี่ยวกับวาทกรรมและอุดมการณ์จากสาขาสังคมศาสตร์ เพื่อศึกษาอุดมการณ์ที่สื่อผ่านภาษาในวาทกรรมแบบเรียนไทยซึ่งอุดมการณ์เหล่านี้ย่อมมีผลต่อเยาวชนของชาติซึ่งเป็นนักเรียนผู้ใช้แบบเรียนไม่มากก็น้อย

เยาวชนเป็นกลุ่มคนที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปในอนาคต ประเทศชาติจะมั่นคงเพียงใดในวันหน้าส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพของเยาวชนในวันนี้ สิ่งที่มีส่วนสำคัญในการหล่อหลอมความคิดความเชื่อของเยาวชนก็คือระบบการศึกษาซึ่งมี "แบบเรียน" เป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทใน การถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนค่านิยม ความคิด ความเชื่อต่างๆ สู่เยาวชน จึงไม่น่าแปลกใจว่าแบบเรียนจัดเป็นกลุ่มข้อมูลกลุ่มแรกๆ ที่นักวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เลือกนำมาศึกษานอกเหนือไปจากวาทกรรมสื่อมวลชน (van Dijk 2003: 361)

โดยทั่วไปเรามักคิดถึงแบบเรียนในฐานะเอกสารที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการหรือเนื้อหารายวิชาต่างๆ แต่นักวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ที่ศึกษาแบบเรียนชี้ให้เห็นว่าที่จริงแล้วแบบเรียนยังเป็น "วาทกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการสื่อความคิด ความเชื่อ ค่านิยมไปสู่ผู้เรียนหรือเยาวชน" นอกจากนี้ แอปเปิ้ลและคริสเตียน-สมิธ (Apple and Christian-Smith 1991) ยังได้กล่าวถึงแบบเรียนว่า "เป็นรูปแบบของสารทางอุดมการณ์ที่มุ่งถ่ายทอดค่านิยมและความเชื่อต่างๆ ของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าไปสู่ผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าในสังคม" การที่แบบเรียนกลายเป็นวาทกรรมที่สื่ออุดมการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวเพราะมีลักษณะ 3 ประการ

  1. แบบเรียนเป็นวาทกรรมที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือเพราะผลิตขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับการรับรองหรืออนุญาตให้ตีพิมพ์เผยแพร่โดยภาครัฐ
  2. แบบเรียนเข้าถึงกลุ่มผู้รับสารได้เป็นจำนวนมากและกว้างขวาง กล่าวคือ เยาวชนที่เข้าสู่ระบบการศึกษาทั่วประเทศ ย่อมต้องใช้แบบเรียนเป็นสื่อในการเรียนรู้
  3. สารที่ปรากฏในแบบเรียนได้รับการตีความว่าถูกต้อง เหมาะสม ดังนั้น ชุดความคิดต่าง ๆ หรืออุดมการณ์ที่แฝงอยู่ในแบบเรียนก็ได้รับการตีความให้มีสถานภาพเช่นนั้นด้วย

นอกจากแบบเรียนจะเป็นสารที่สื่ออุดมการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวแล้ว นักวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ยังกล่าวว่า อุดมการณ์ที่สื่อโดย "ภาษา" ในแบบเรียนนั้น มักแนบเนียนเสียจนผู้เรียนไม่ทันรู้ตัวหรือสังเกตว่ามีชุดความคิดนั้นๆ แฝงอยู่ และอาจมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้เรียนไม่มากก็น้อย จึงเป็นหน้าที่ของนักภาษาศาสตร์ที่จะวิเคราะห์ภาษาเพื่อชี้ให้เห็นอุดมการณ์เหล่านั้น

แนวคิดที่เหมาะสมในการนำมาวิเคราะห์แบบเรียนในฐานะสารทางอุดมการณ์ ได้แก่ วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) หรือ CDA ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการชี้ให้เห็นอุดมการณ์ที่แฝงอยู่ในวาทกรรม ที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ศึกษาแบบเรียนของชาติต่างๆ เช่น เปรู จีน ชิลี สเปน เกาหลีเหนือ ได้แก่ Oteiza 2003, Liu 2005, Oteiza and Pinto 2008, De Los Heros 2009 เป็นต้น ส่วนแบบเรียนไทยนั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่มุ่งศึกษาอุดมการณ์ที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษามาก่อน

โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาอุดมการณ์ที่สื่อผ่านกลวิธีทางภาษาในวาทกรรมแบบเรียนของไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์แบบภาษาศาสตร์ (Linguistically oriented CDA) โดยใช้แนวคิดต่าง ๆ ได้แก่ วัจนปฏิบัติศาสตร์ ปริจเฉทวิเคราะห์ ฯลฯ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยหวังว่าผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นอุดมการณ์ที่ถ่ายทอดสู่เยาวชนของชาติ และอาจมีอิทธิพลต่อกลุ่มเยาวชนไม่มากก็น้อย ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าภาษามีบทบาทสำคัญในการกำหนดความคิดซึ่งอาจจะมีผลต่อแบบแผนพฤติกรรมของคนในสังคม การรู้เท่าทันวาทกรรมดังกล่าวจึงมีความสำคัญต่อการเข้าใจสังคมและการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ในชาติด้วยเช่นกัน

Principles and Reasons

This research project is a cross-disciplinary study that integrates the concepts of discourse and ideology from social theories into the linguistically oriented analysis of discourse. The aim is to examine the ideologies linguistically represented in the Thai textbooks of the elementary school curriculum, using the framework of Critical Discourse Analysis or CDA. These hidden ideologies are assumed to have an influence upon the minds of the children using the texts.

As stated in previous works, textbooks play a central role in transmitting not only knowledge but also ideologies, sets of beliefs, attitudes, as well as values to the young generation. These children will become a critical part of national security. Due to their significant ideological work, textbooks have become a topic of considerable importance in the field of CDA. (van Dijk 2003: 361)

Apple and Christian-Smith (1991) point out that the goals, content and process of schooling are dominated by powerful groups or organizations in society. Textbooks as ideological messages are also exploited to control others. There are three reasons why textbooks are viewed as authoritative texts in terms of manipulation.

  1. Textbooks are widely accepted since they are written, produced, selected, and legitimised by powerful elites – scholars, teacher committees and government agencies.
  2. Textbooks are used extensively by many people during their formal education. That is, textbooks are powerful in terms of the 'passive access of consumers'.
  3. Messages in textbooks are considered as legitimate. Thus, the ideological contents constructed and represented in textbooks are viewed as good for children.

Critical Discourse Analysis or CDA appears to be the most appropriate framework for studying ideologies in textbooks. To date, there have been several works that have focused their critique on textbooks in many countries such as Peru, China, Spain, North Korea, etc. (Oteiza 2003, Liu 2005, Oteiza and Pinto 2008, De Los Heros 2009) but little attention has been paid to Thai textbooks from the perspective of CDA.

It is hoped that the present study will uncover biased, stereotypical and/or racist views hidden in Thai textbooks as well as increase awareness of how significant textbooks are in shaping the minds of children during their formal education.


ผลงานวิจัย/ผลผลิต

  • บทความวิจัยภาษาไทย จำนวน 2 เรื่อง
  • วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต จำนวน 1 เรื่อง

Research/Outputs

Two research papers and a dissertation


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ทำให้ทราบอุดมการณ์ที่แฝงอยู่และเข้าใจบทบาทของวาทกรรมแบบเรียนไทยในด้านการสื่ออุดมการณ์สู่สมาชิกในสังคม
  2. เป็นแนวทางในการศึกษาวาทกรรมประเภทอื่นตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
  3. เป็นแนวทางในการผลิตแบบเรียนในหลักสูตรต่างๆ ต่อไป
  4. ทำให้เข้าปัญหาทางสังคมของไทยบางประการอันอาจมีผลจากอุดมการณ์ที่หล่อหลอมสังคมไทยผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลภาษาซึ่งอาจนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาเหล่านั้นเพื่อความมั่นคงของสังคมไทย

Expected Benefits

  1. It is hoped that the present study will unmask the ideologies hidden in Thai textbooks and increase awareness of the crucial role of textbooks in doing ideological work.
  2. The study may also serve as a sample analysis for those interested in conducting research on other educational discourses and other genres.
  3. The findings here may enhance the critical consciousness of discourse and manipulation which is directly related to human security.